เคล็ดลับการวิจารณ์ที่ประสบความสำเร็จ


บอกกับเขาว่า...........................

 

เคล็ดลับการวิจารณ์ที่ประสบความสำเร็จ

 

                       1. บอกกับเขาถึง เหตุการณ์พฤติกรรมหรือการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับตัวคุณ  "เมื่อเช้านี้ตอนที่ประชุมคณะทำงาน เมื่อเจ้านายถามผมเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของพวกเรา คุณก็พูดสอดขึ้นมาในขณะที่ผมกำลังจะตอบคำถามเจ้านาย"

                    2. บอกกับเขาว่า เหตุการณ์และพฤติกรรม หรือการปฏิบัติงาน ทำให้เกิดปัญหาอย่างไร 
ผมสามารถบอกกับคุณได้ว่าใบหน้าของเจ้านายดูแปลกประหลาดใจที่ผมทำไมจึงยอมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตอบคำถามแทน นอกเหนือจากนั้นผมไม่ต้องการให้คุณใช้รูปแบบของการรายงานแบบนั้น

                    3. บอกว่าท่านรู้สึกอย่างไรกับสถานการณ์นั้น  ผมรู้สึกละอายใจต่อนายของผมและรู้สึกผิดหวังในตัวคุณด้วย เราไม่ได้ประสานกันเลย ไม่ได้ป้องกันสิ่งที่เกิดขึ้น

                    4. ถามบุคคลที่เสนอข้อมูล ให้เขาชี้แจงบางสิ่งที่ท่านรู้มาไม่ตรงกัน แทนที่ผมควรจะต้องพูด "ทำไมคุณพูดอย่างนั้น คุณควรพูดแทนที่จะเป็นผมพูด" ฟังคำตอบจากเขา

                    5. เสนอแนะการกระทำที่ถูกต้อง  เริ่มแรกให้เราตกลงร่วมกันว่า การรายงานการปฏิบัติงานที่จะจัดขึ้นเมื่อพวกเราได้วางแผนไว้สำหรับการประชุมให้เรานั่งตรงข้ามโต๊ะกันในการประชุม เราจะได้ส่งสัญญากันได้ในสถานการณ์ต่าง ๆ

                    6. ถ้าเป็นไปได้ ควรให้ผู้ร่วมงานมีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ปัญหา "ท่านมีความคิดอื่นอีกไหม หรืออย่างน้อยเราสามารถแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างไร"

                    7. มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานในอนาคต     "ท่านเห็นด้วยว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการปรึกษาหารือในที่ประชุมผู้ร่วมงานไหม ? ท่านทราบปัญหาในการดำเนินการไหม ?

                    8. บอกถึงประโยชน์ที่ท่านได้รับ "คุณได้มาร่วมประชุมกับผมปีครึ่งแล้ว และครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ผมมีความรู้สึกบางอย่าง แต่ก็ประทับใจคุณมากที่คุณให้ข้อมูล    ผมมั่นใจว่าคุณจะให้ประโยชน์กับเราอีกในอนาคต"

                    9. ปล่อยให้คำพูดของท่านฝังแน่นในความทรงจำ อย่าพูดอะไรอีก ปล่อยในความทรงจำ อย่าพูดอะไรอีก ปล่อยให้เขาอยู่คนเดียว ให้เสียงของท่านก้องอยู่ในหูและความทรงจำ ถ้าท่านไม่มีความคำถามอย่างอื่นหรือข้อเสนอแนะอื่นใดท่านควรกลับไปทำงานต่อ

                    10. ติดตามพฤติกรรม  ติดตามว่าสิ่งที่เขาให้คำมั่นไว้นั้นได้นำไปสู่การปฏิบัติ หาโอกาสชมเชยเขาที่เขาเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่

                        จากบทความข้าพเจ้ามีความเห็นว่า ไม่ว่าเราจะพูดสิ่งใด เพื่อวิจารณ์ใครสักคน เราควรพูดด้วยความจริงใจ พูดเพื่อให้เกิดข้อคิด เพื่อนำไปปรับปรุงในโอกาสต่อไป คนเราสามารถผิดพลาดกันได้ และควรจะได้รับโอกาสในการแก้ไขและปรับปรุงตัวเอง การเป็นผู้ให้  สุขใจกว่าได้รับ

           

 

หมายเลขบันทึก: 276901เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2009 01:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 23:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

เรียน ท่านอาจารย์ วิจารณ์เชิงบวก สะดวก สร้างสรรค์ ครับ

เป็นเกียรติอย่างยิ่งค่ะที่อาจารย์แวะเข้ามาให้ข้อคิดในบทความ ขอบพระคุณมากค่ะ

เรื่องแบบนี้ต้องใช้หลักการพูดเชิงสร้างสรรค์ค่ะ พระท่านว่า "คำจริง เป็นวาจาไม่ตาย" คำจริงน่ะไม่ตาย แต่คนพูดไม่แน่นะ ต้องใช้วาทศิลป์ให้มากหน่อย จริงใจอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีศิลปะในการพูดด้วยจึงจะประสบความสำเร็จ

แวะมาอ่านค่ะน้องโอ๋ ขอเป็นกำลังใจให้หายป่วยเร็ว ๆ นะค่ะวันเสาร์เจอกันนะค่ะคิดถึงค่ะ 

                                 (เอากาแฟมาฝากค่ะ)

                                 

                     

สวัสดีค่ะพี่เทือง ขอบพระคุณมากค่ะสำหรับคำแนะนำจะจำและนำไปปฏบัติค่ะ จริงใจอย่างเดียวไม่พอต้อง อาศัยหลักการพูดด้วยวาทศิลป์

ขอบพระคุณท่านอาจาย์ ดร.ดิศกุล ที่แวะเข้ามาเยี่ยมชม และสวัสดีค่ะพี่เหงี่ยมที่เป็นห่วงไว้เจอกันนะค่ะ ขอบคุณมากค่ะสำหรับกาแฟแก้ง่วงคิดถึงเช่นกันค่ะอยากเจอพี่ๆแล้วค่ะ   สวัสดีค่ะคุณคนพัดถิ่นขอบพระคุณที่แวะเข้ามาอ่านบทความนะค่ะหวังว่าคงเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย

ดีดีมากครับ การแนะนำชี้ทางสว่างไสว ดีครับ  ขอบพระคุณ

เป็นปลื้มกับคำชมมากค่ะ ดีใจที่อาจารย์แวะมาชมผลงานค่ะ

เยี่ยมมาก ๆ เลย ขอบคุณที่ให้โอกาสได้เรียนรู้

ความจริงใจ...และความปรารถนาดีช่วยได้ ขอรับกระผม

ขอบพระคุณพี่เอกและพี่แอ๊วมากคะที่แวะมาเยี่ยมกันเสมอ กำลังใจดีๆ จากพี่เป็นแรงเสริมที่ดีสำหรับน้องคนนี้มากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท