Learning to QE: เพียงความสนใจของคุณพอไหมที่จะเลือกหัวข้อวิจัย?


มันจะต้องบอกให้ได้ว่าประเทศนี้ หรือโลกนี้จะได้ประโยชน์จากความรู้นี้อย่างไร จำเป็นเพียงใดด้วย

 

     ได้เรียนกับ รศ.ดร.มานพ คณะโต หลายครั้งแล้ว ทุกครั้งชอบใจมากที่ได้มานั่งเรียนด้วย นอกจากได้เรียนเนื้อหาสาระที่ท่านนำมาสอนแล้ว ท่วงทีหรือสไตล์การสอนกำลังถูกศิษย์คนนี้มองอยู่ทุกครั้ง ท่านสอนพร้อมยกตัวอย่างประการณ์ที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัยของท่านที่ผ่านมา เพราะภารกิจนอกจากมาเรียนเนื้อหาความรู้แล้ว มาเรียนกระบวนการจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาจากคณาจารย์ของภาควิชาฯ ด้วย 

     ครั้งแรกที่เรียนมีประเด็นหนึ่งที่พูดถึงการเลือกหัวข้อวิจัยว่า คงไม่เพียงพอหากจะบอกว่า "กระผม/ดิฉัน มีความสนใจทำวิจัยเรื่องนี้เท่านั้น (แม้จะสนใจอย่างยิ่งยวด...อันนี้ผมเติมเข้าไปเอง) มันจะต้องบอกให้ได้ว่าประเทศนี้ หรือโลกนี้จะได้ประโยชน์จากความรู้นี้อย่างไร จำเป็นเพียงใดด้วย มาพิจารณาดูกันต่อไปว่าแล้วจะพิจารณาอย่างไรบ้าง อย่างแรกดูความสำคัญของปัญหาว่ามีขนาดของปัญหาเป็นอย่างไร ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากน้อยแค่ไหน และปัญหามีความรุนแรงเพียงใด จากนั้นมาดูกันต่อที่ความทันสมัยและน่าสนใจด้วย

     ลองยกตัวอย่าง (ผมลองยกมาทบทวนเอง) ปัญหาการควบคุมโรคชิคุนกุนยา ที่เกิดในภาคใต้นี่ก็ได้ โดยไปเปรียบเทียบกับปัญหาเด็กยังแรกเกิด - 1 ปี ได้รับวัคซีนไม่ครอบคลุม (เอาตามจริง ไม่เอาตามรายงาน) ลองตัดสินดูเล่น ๆ ว่าจะเลือกอย่างไหนมาทำก่อน ดีไม่ดี เราอาจจะพบได้ความจริงตอนลองพิจารณาเปรียบเทียบว่าพลังทางการเมืองกำหนดความกระตือรือล้นในการแก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดี เป็นสัจธรรม (มาถึงตอนนี้ออกนอกเรื่องหน่อย ไม่ทราบจะทราบกันไหมนะว่าข้อมูลที่ได้รับรายงานว่าเด็กได้รับวัคซีนครอบคลุมในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ กับข้อมูลข้อเท็จจริงที่ผมเคยให้ นศ.นำมาเสนอนั้นแตกต่างกันเยอะมาก)

      มาต่อที่การเลือกหัวข้อวิจัยอีกนิด แล้วกรณีที่มีงานวิจัยที่คนอื่นเคยทำไว้แล้วในพื้นที่เดียวกัน และ/หรือประเด็นเดียวกันนั้น เราจะทำได้อีกไหม จริง ๆ หากผมตอบนะผมจะตอบว่าแล้วมีความรู้พอไหมที่จะจัดการกับปัญหา หรือตอบใหม่ว่าแล้วยังขาดความรู้อะไรอีกที่จะนำมาใช้จัดการกับปัญหา หากต้องการก็ลงมือทำ แต่อาจารย์ท่านตอบอย่างนี้ครับ ท่านตอบว่าต้องพิจารณา หากคนละพื้นที่ และต่างวัฒนธรรม ความรู้นั้นไม่น่าจะปรับมาใช้กันได้ ก็ทำได้อยู่ หรือว่าที่เขาทำมานั้นสถานการณ์มันเปลี่ยนไปเยอะแล้ว ก็ทำได้ หรืออีกกรณีคือที่เขาทำมานั้นพบว่ามีระบียบวิธีที่ไม่ถูกต้อง มีความคลาดเคลื่อนในประเด็นสำคัญ อันนี้สำคัญมากที่เราจะต้องให้ความสนใจ และวิพากษ์ออกมาให้แจ๋มชัดให้ได้

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 276900เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2009 01:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เรียน ท่านอาจารย์ชายขอบ งานนี้ เรียกว่าเสริม ทั้ง explicit + tacit K เลยนะท่าน

สวัสดีครับท่านอาจารย์หมอ JJ

  • ใช่เลยครับ ผมมองว่าผมชอบที่จะฟังบรรยายแบบนี้ เลยตีขลุมไปว่า หากเมื่อผมกลับไปทำหน้าที่ ก็คงต้องปรับใช้บ้างนะครับในวิชาที่เป็นบรรยายครับ

สวัสดีคะ พี่ชายขอบ

ทำให้นึกประเด็นในการให้ความสำคัญ ของการวิจัย และ การศึกษาคะ และ คิดว่าตัวเองยังขาดเรื่องของการเชื่อมต่อ และ การหาช่องว่าง ของความรู้ นะคะ

สวัสดีครับคุณก้ามปู

  • สู้ ๆ เอาให้ผ่านไปให้ได้นะครับ
  • รับรองว่าหากประเด็นที่กำลังทำอยู่ผ่านไปได้ เจ่งทีเดียวแหละครับ

ใช่เลย!

ทำให้รู้สึกกลัวงานวิจัยที่กำลังจะทำขึ้นมาในทันที

โอ๊ย..แล้วจะรอไหมเนี่ย

>>โดยว่วนตัวยอมรับจริง ๆ ค่ะว่าท่านอาจารย์ มานพ เป็นอาจารย์ที่ถ่ายถอดออกมาแล้วได้คิด

(ในที่นี้คือคิดแบบที่เราไม่เคยได้มองเห็นมาก่อน!..และล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ปรากฎ แต่เราเอง ต่างหากที่ไม่เคยมอง)

  • สวัสดีค่ะ
  • ที่ทำงานป้าแดง คนทำงาน สนใจเรื่องวิจัยในงานกันพอสมควร แต่โอกาสไม่อำนวย ไม่ว่าจะเรื่องการสนับสนุนของผู้บริหารของเพื่อนร่วมงานก็ทำให้ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขอ่ะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ บันทึกนี้ให้ประโยชน์มากเลย
  • ตามป้าแดงมาค่ะ
  • หัวข้อวิจัย
  • ตอนแรกตั้งอย่าง
  • ทำไปทำมา
  • เปลี่ยนเป็นอีกอย่างก็มี  อิอิ

สวัสดีครับคุณวิไลวรรณ

  • ดีนะครับที่มีโอกาสและมีบุญได้มาเป็นศิษย์ของท่าน

สวัสดีครับคุณ pa_daeng

  • ด้วยความยินดีนะครับที่ได้แลกเปลี่ยนกัน
  • ปัญหานี้ง่ายที่จะแก้ แต่จะคิดลงมือแก้นะมันยากครับ

สวัสดีครับคุณมนัญญา
  • หัวข้อวิจัยมันปรับไปได้บ้างนะครับ
  • แต่คำถามวิจัยสำคัญครับ กว่าจะได้มาคงต้องนิ่ง ๆ กับมันจริง ๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท