ความผิดพลาด ที่มักจะเกิดกับ หัวหน้างานใหม่


ความสำเร็จในการทำงาน บางครั้งหัวหน้างานกลับเป็นผู้สร้างปัญหาเสียเอง

ความผิดพลาด ที่มักจะเกิดกับ หัวหน้างานใหม่

ปลายปีที่ผ่านมาอาจจะมีผู้อ่านหลายท่าน ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง ให้เป็นหัวหน้างาน ซึ่งมีความรับผิดชอบมากขึ้นท้าทายมากขึ้น แต่ก็เป็นหลุมพรางที่หัวหน้างานใหม่หลายคน เผลอตกลงไป แล้วไม่สามารถปีนกลับขึ้นมาได้ บทความนี้ขอนำเสนอข้อผิดพลาดต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับหัวหน้างานมือใหม่ เพื่อใช้เตือนใจและป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดขึ้น

1.
ความคิดและวิธีการใหม่อาจถูกต่อต้าน หัวหน้างานจะต้องมีความอดทน และมีเทคนิคในการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกน้อง

2.
หลงอำนาจ ปฏิบัติการเฉียบขาด อันนี้ต้องระวังให้ดี เพราะหากใช้อำนาจมากเกินไป จะก่อให้เกิดแรงต่อต้านจากลูกน้องมากยิ่งขึ้น

3.
การชอบลูกน้องบางคนเป็นพิเศษ อย่าเลือกที่รักมักที่ชัง ทำงานควรมีเป้าหมายในการประเมินความสามารถที่ชัดเจน อย่าใช้เพียงความรู้สึกในการตัดสินคน

4.
การให้คำมั่นสัญญา อย่าให้คำมั่นสัญญาที่อาจจะทำจริงได้ เพราะจะทำให้ความน่าเชื่อถือหมดไป และจะส่งผลกับการปกครองในระยะยาว

5.
ขาดความระมัดระวัง โดยเฉพาะคำพูด ต้องศึกษาเรื่องวาทศิลป์ในการพูด จะพูดอะไรแบบตอนเป็นลูกน้องเหมือนเดิมไม่ได้แล้ว

6.
การมอบอำนาจ หัวหน้ามักทำทุกอย่าง ปัญหานี้เป็นปัญหาที่พบมากที่สุด เพราะหัวหน้าใหม่อยากแสดงความสามารถและไม่เชื่อใจลูกน้อง แต่การที่หัวหน้าจะประสบความสำเร็จต้องเริ่มจากความเชื่อมั่นในตัวทีมงานรวมถึงลูกน้อง

7.
ปัดความรับผิดชอบ อันนี้ต้องกล้าที่จะรับผิด มิใช่รับแต่ความชอบอย่างเดียว

8.
ไม่ควบคุมอารมณ์ ต้องอดทนมากขึ้น เพราะมีเรื่องที่มีปัญหารอเขาแก้ไขอยู่อีกมาก หากเราไม่สามารถจัดการอารมณ์ของเราได้แล้ว จะเป็นปัญหากับเราต่อไปในอนาคต

9.
พูดไม่เป็น ต้องฝึกฝนการพูด อย่ามองว่าเป็นเรื่องไม่สำคัญ การสื่อสารภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ เป็นส่วนสำคัญในการประสบความสำเร็จขององค์กร

10.
ขาดความอดทน ปัญหามีไว้ให้เราแก้ เขาจ้างเรามาเพื่อแก้ปัญหา ปัญหาจะทำให้เรามีความสามารถมากขึ้น ขอให้ท่องคำนี้เอาไว้ให้ขึ้นใจ จะทำให้เราอดทนมากขึ้น

SHINE

มี.ค. 6, 2008

 

 

แนวคิดจากบทความข้างต้น  ทำให้มีความคิดเห็นว่า ความสำเร็จในการทำงาน บางครั้งหัวหน้างานกลับเป็นผู้สร้างปัญหาเสียเอง  การยอมรับของพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ในองค์กร  ต่อหลักการบริหารของหัวหน้างาน  ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ  การบริหารงานจึงควรเป็นแบบการมีส่วนร่วม อย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน  จะเป็นวิธีการที่ทำให้องค์การมีบรรยากาศในการทำงานที่ดี   ก่อให้เกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน หากหัวหน้างานนำ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ  มาบังคับใช้ในการทำงาน   ในระยะแรกอาจจะดี เพราะบุคลากรจะเกิดความเกรงกลัว ผลผลิตจากการทำงานอาจจะสูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน การกระทำดังกล่าว เสมือนเป็นการล้อมกรอบ ในที่สุดก็จะเกิดความเบื่อหน่าย  ดังนั้น ทางออกที่ดีวิธีหนึ่งในการแก้ไขข้อผิดพลาดของหัวหน้างาน   ก็คือการนำแบบปฏิบัติ  10 ประการ ของหัวหน้างานใหม่ข้างต้น    มาประยุกต์ใช้ นับว่าเป็นบันไดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่น่าสนใจทีเดียว !

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 276373เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2009 11:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 13:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ

เมื่ออยู่ในฐานะหัวหน้าแล้ว ถือว่าเป็นโอกาสที่ดี ที่จะทำอะไรเพื่อสังคมและประเทศชาติ การเป็นหัวหน้าที่ดี สามารถทำได้ ทุกคนที่ทำงาน ย่อมมีความผิดพลาดได้ การแก้ไข ฝึกฝน อดทน ตั้งใจ ใฝ่รู้ ช่วยเหลือได้ ขอให้พยายาม ครับ

คนทำงานย่อมมีโอกาสผิดพลาดได้เสมอเป็นธรรมดาค่ะ เขียนกลอนมาฝากไว้ให้เป็นกำลังใจค่ะ สู้ สู้

ทุกก้าวย่างย่อมผ่านการเริ่มต้น

เกิดเป็นคนธรรมดาอย่าไหวหวั่น

ผิดเป็นครูรู้แก้ไขให้เท่าทัน

สิ่งสำคัญต้องยอมรับปรับเปลี่ยนตน

.....ประเทือง.....

การเข้าสู่ตำแหน่งหัวหน้า หรือผู้บริหารอาจไม่อยากเท่าไรนัก แต่จะบริหารอย่างไรให้ประสบผลสำเร็จสิคะเป็นเรื่องยากมากคะ บางครั้งถูกต้อง แต่ไม่ถูกใจ บางครั้งถูกใจ แต่ไม่ถูกต้อง

ทำทุกอย่างให้ตรงตามที่ถูกต้องคับ ไม่ใช่ทำให้ถูกใจครับ เพราะการทำให้ถูกใจมักจะมีปํญหาให้มาแก้ตามหลังเสมอครับ ถูกว่าตามถูกครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท