นโยบายด้านการกีฬาของรัฐบาล


นโยบายการกีฬาและนันทนาการ "เป็นไปได้ หรือ เป็นหลักการ"

“คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี โดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเป็นผู้แถลงต่อรัฐสภา วันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม 2551”

3.6 นโยบายการกีฬาและนันทนาการ "เป็นไปได้ หรือ เป็นหลักการ"

2.6.1 เสริมสร้างโอกาสให้ประชาชนทุกกลุ่มออกกำลังกายและเล่นกีฬา โดยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจเอกชน ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนากีฬา จัดหาสถานที่ จัดกิจกรรมการออกกำลังกายและเล่นกีฬาอย่างทั่วถึง รวมทั้งส่งเสริมให้เยาวชนมีความสนใจในการกีฬา และใช้เวลาว่างที่เป็นประโยชน์

3.6.2 พัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศ โดยจัดตั้งศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ พร้อมทั้งนำวิทยาศาสตร์การกีฬามาใช้ จัดให้มีการควบคุมมาตรฐานการฝึกสอนด้านการกีฬาให้มีคุณภาพ และสนับสนุนการจัดการแข่งขันกีฬาในระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง

3.6.3 ส่งเสริมกีฬาไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และได้รับการการยอมรับจากสากลยิ่งขึ้น

3.6.4 ปรับปรุงระบบบริหารจัดการด้านการกีฬา โดยส่งเสริมให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีบทบาท และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการด้านการกีฬา การจัดกิจกรรมและสถานกีฬา รวมทั้งจัดสร้างลานกีฬาในทุกหมู่บ้านและชุมชน

3.6.5 ปรับปรุงกฎหมายการกีฬาและที่เกี่ยวข้อง โดยจัดให้มีกฎหมายกีฬาอาชีพ กฎหมายเกี่ยวกับสวัสดิการนักกีฬาและกฎหมายอื่นๆ เพื่อเป็นเครื่องมือการบริหารจัดการด้านกีฬาให้มีประสิทธิภาพ

ครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่รัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรี มีนโยบายด้านกีฬาโดยเฉพาะรวมอยู่กับนโยบายต่างๆ จากเดิมที่เคยมีนโยบายกล่าวถึง พูดถึง เน้นถึงเรื่องของ "กีฬา" เพียงไม่กี่ประโยค หรือเพียงบางย่อหน้าเท่านั้นเอง นี่คือ นโยบายรัฐบาลอย่างเป็นทางการ ที่มีนโยบายกีฬาเป็นเอกเทศ เป็นประเด็นหลักอย่างชัดเจน เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์!!

ประเด็นน่าสนใจคือ การเน้นให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อปท. มีบทบาทด้านกีฬามากขึ้น ด้วยการระบุภารกิจไว้ รวม 2 ข้อด้วยกัน

ข้อแรก.....ข้อ 3.6.1 ให้ อปท.มีส่วนร่วมในการพัฒนากีฬา จัดหาสถานที่ จัดกิจกรรมการออกกำลังกาย และเล่นกีฬาอย่างทั่วถึง รวมทั้งส่งเสริมให้เยาวชนสนใจในกีฬา และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

ข้อสอง.....ข้อ 3.6.4 ให้ อปท.มีบทบาท และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ด้านการกีฬา การจัดกิจกรรมและสถานกีฬา รวมทั้ง จัดสร้างลานกีฬาในทุกหมู่บ้าน และชุมชน

มีประเด็นน่าสนใจ คือ

การเน้น กีฬาเพื่อความ เป็นเลิศ ในข้อ 3.6.2 ที่ว่า.....จัดตั้งศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ แล้วนำวิทยาศาสตร์การกีฬามาใช้, ควบคุมมาตรฐานการฝึกสอนกีฬาให้มีคุณภาพ และสนับสนุนการจัดกีฬาระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง

และข้อ 3.6.3 ที่ว่า...ส่งเสริม กีฬาไทย ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และได้รับการยอมรับจากสากลยิ่งขึ้น

และ มีประเด็นที่น่าสนใจมากที่สุด คือ ข้อ 3.6.5 ที่ว่า (จะ) ใช้ กฎหมาย ในด้านกีฬาให้มากขึ้น เช่น ปรับปรุงกฎหมายกีฬาและที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายกีฬาอาชีพ, กฎหมายสวัสดิการนักกีฬา ฯลฯ

นี่คือ สาระหลัก ประเด็นหลัก ของนโยบายกีฬาฯ ที่น่าสนใจ น่าติดตามกันต่อไปว่า คณะรัฐมนตรีของรัฐบาลชุดปัจจุบัน โดยเฉพาะ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะกระทรวงรับผิดชอบโดยตรงนั้น จะทำให้นโยบายดังกล่าว เป็นความจริงขึ้นมาได้มากน้อยแค่ไหน? อย่างไร? หรือไม่?

โดยเฉพาะการเน้นหวังให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อปท. มีบทบาทด้านกีฬามากขึ้นอย่างที่กำหนดไว้ ระบุไว้ เพราะ อปท.นั้น อยู่ในสังกัดของ กระทรวงมหาดไทย อันเป็นคนละกระทรวงกัน ที่สำคัญ คือ อปท. และผู้บริหาร อปท.นั้น มีแนวทาง มีข้อจำกัดของตัวเอง แตกต่างกันไป แตกต่างมากจริงๆ กับแนวทางของ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และหน่วยงานในสังกัด

โดยเฉพาะการเน้นพัฒนา กีฬาเพื่อความเป็นเลิศ ที่ระบุว่า (จะ) นำวิทยาศาสตร์การกีฬา มาใช้เพราะเครือข่ายของ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่รับผิดชอบโดยตรงนั้น ให้ความสำคัญเรื่องวิทยาศาสตร์การกีฬา เพียงแค่การจัดซื้อ จัดจ้าง ในส่วนของ "วัสดุ+อุปกรณ์ " เท่านั้นเอง มิได้ ให้ความสำคัญอันถูกต้อง แท้จริงในด้าน บุคลากร ที่เป็นแกนแท้ ของการนำวิทยาศาสตร์การกีฬามาใช้แต่อย่างใดเลย

โดยเฉพาะ การนำ กฎหมาย มาใช้ในด้านกีฬาให้มากขึ้น เพราะมีการใช้ กฎหมายกีฬา เพื่อเอื้อประโยชน์ให้คนบางกลุ่ม บางพวก มากกว่าจะเป็นการใช้บังคับเพื่อส่วนรวม ส่วนใหญ่อย่างแท้จริง

ดังนั้น จึงน่าสนใจมากไม่ใช่หรือว่า นโยบายกีฬาฯ ดังกล่าว จะใช้ได้จริงๆ กับวงการกีฬาไทย สังคมไทยหรือไม่?

หมายเลขบันทึก: 276270เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2009 00:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 06:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

โดยภาพรวมมีความเป็นไปได้

ในการเขียนนโยบายเป็นการบอกกับประชาชนว่ามีนโยบายจะทำอะไรบ้าง

นโยบายที่แถลงไม่จำเป็นต้องทำเดี๋ยวนี้หรือทำเสร็จในวันนี้วันโน้น

บางเรื่องสั่งดำเนินการได้เลย บางเรื่องก็แค่วางโครงการหรือร่างโครงการ

ไม่มีใครคาดหวังว่าจะได้ทำทุกเรื่อง คนที่ทำงานเขารู้ว่าเป็นไปไม่ได้

อย่างน้อยบางเรื่องก็เป็นนโยบายให้ชุดใหม่ได้สานต่อ

อย่างเรื่องสนามลานกีฬาเพื่อให้ประชาชนได้ออกกำลังกายใน กทม.

หากใครไม่ได้ติดตามเรื่อง

จะไม่ทราบเลยว่าใน กทม.มีสถานที่ดังกล่าวถึงพันกว่าแห่งที่ประชาชนได้ใช้เป็นที่ออกกำลังกายทุกวัน

ขณะนี้ในส่วนที่รับผิดชอบขององค์กรปกครองท้องถิ่นก็มีลานกีฬาหรือสถานออกกำลังกายมากมายทั่วประเทศ

รัฐสามารถให้การส่งเสริมโดยการส่งเจ้าหน้าที่หรือให้งบประมาณแก่องค์กรปกครองท้องถิ่นตามที่ขอมาได้

การส่งเสริมการกีฬาส่งเสริมให้ประชาชนได้ออกกำลังกายเป็นการเสริมสร้างและป้องกันสุขภาพ

เป็นนโยบายที่รัฐบาลถือเป็นนโยบายแห่งชาติแล้วคะ

คุณอย่าไปกังวลแทนรัฐบาลเลยคะ

เขาทำได้ค๊ะ

การคิดว่านโยบายจะเอาใจคนบางกลุ่มก็มีสิทธิคิดได้โดยเสรีภาพทางความคิด

ประชาธิปไตยก็เป็นเช่นนี้

แต่คุณ  ทิพย์ อินทรวงศ์ ได้แสดงความเห็นที่เป็นกลางได้อย่างเหมาะสมที่น่ารับฟังอย่างยิ่งที่สุดแล้ว

ขอบคุณเจ้าของกระทู้ และขอบคุณคุณทิพย์ มากๆคะที่สนใจ และส่งเสริมกีฬาไทย

เห็นด้วยที่รัฐบาลชุดนี้ให้ความสนใจกีฬา แตกต่างจากชุดอื่นๆๆที่ผ่านมากว่าทศวรรต

แต่ก็จะรอดูผลงานต่อไป อย่างใกล้ชิด และต่อเนื่องคะ คนกีฬา

คิดนโยบายดีมากๆครับเวหลังผมขอนโยบายเพิ่มได้ไหมครับมีอะไรติดต่อเบอร์191นะครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท