การศึกษาจะเป็นอย่างไร ถ้าไม่เปลี่ยน


จากแนวคิดของการประชุม เรื่องการศึกษาจะป็นอย่างไรถ้าไม่เปลี่ยน

ใครจะเป็นคนเปลี่ยน    แล้ว เปลี่ยนไปอย่างไร    คิดอีกนานนะครับ  คำตอบอาจไม่ยาก แต่ระยะเวลาที่จะเดินไปถึง ไม่สั้นแน่ๆ 

อยากให้ท่านทั้งหลายที่อ่านพบ  ลองไปศึกษาประวัติศาสตร์การศึกษาไทย ตั้งแต่ที่พอจะมีบันทึก สมัยสุโขทัย อยุธยา ต้นรัตนโกสินทร์  เราคงพอจะรู้พื้นฐานการศึกกษาไทบ แต่มาถึงตอนกลางรัตนโกสินทร์ เริ่มมีอิธิพลของการศึกษาแนวคิดตะวันตก และก็มีอิธิพลมาเรื่อยจนปัจจุบัน  ประเทศไทยดีหน่อยที่ลูกศิษย์ยังไม่ลากปืน เอ็ม ๑๖ มายิงครูกับเพื่อนในห้องให้ตาย เหมือนประเทศผู้นำแนวคิดทางการศึกษาทั้งหลาย 

ไม่รู้ว่าเขาจะปฏิรูปการศึกษาไปในแนวไหน  ที่เห็นๆ เด็กก็มีแต่ปัญหา  มหาลัย ก็โทษ มัธยม  มัธยมก็โทษประถม  ประถมโทษอนุบาล  อนุบาลก็โทษพ่อแม่  แล้วใครจะแก้ 

 ในสายตาอันยาวไกลและแหลมคมของท่านทั้งหลายที่อ่าน ก็รู้ทันที่   คือ ระบบการศึกษา    ระบบการศึกษาที่พัฒนาแต่ความคิดเชิงแข่งขัน ชิงดีชิงเด่น  เอาตัวรอดหรือต้องเหนือผู้อืน  ใช้เงินหรือสิ่งตอบแทนเป็นตัวตั้ง   ปลุกเร้าความคิดเด็ก ไปในเชิงวัตถุนิยม    แล้วก็ทำกันเป็นระบบ เพื่อหาผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรของคน ทั้งประเทศ  ทั้งโลก      คนร้อยละ  99.999         ถุกครอบงำตั้งแต่เกิด  ว่าดีเลิศประเสริษฐศรีเหลือเกินการศึกษาเนี่ย   เหมือนที่ท่านผู้ปกครองและคุณครูทั้งหลายเคยหาแนวทางแก้กัน

 การศึกษานะดีครับ  แต่รูปแบบคงต้องปรับปรุงให้เหมาะกับวัฒนธรรมไทย แนวทางบรรพบุรุษก็หาให้แล้ว พุทธศาสตร์น่ะเอามาใช้บ้างหรือเปล่า  ครูบาอาจารย์ ท่านก็บอก  แต่นักการศึกษา  หัวนอก  ฟังไม่รู้เรื่อง ตีความไม่เป็น ไม่เห็นทางแก้  ( แต่ก็แก้ยากอยู่)   

 นี่แค่พูดถึงแต่ปัญหาเด็กจากยุคการปฏิรูป  ยังไม่ได้พูดถึงครูเลย   จะเออรี่กันทั้งประเทศแล้ว คนมีอำนาจยังมองไม่ออกอีก

 

น่าสงสารเด็กไทย และครูไทย

หมายเลขบันทึก: 276248เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2009 22:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีครับคุณวรเชษ
  • เขามีการประชุม เรื่องการศึกษาจะเป็นอย่างไรถ้าไม่เปลี่ยน กันที่ไหนหรือครับ  ไม่ทราบข่าวเลย
  • ปัญหาการศึกษาที่คุณวรเชษพูดถึงน่ะจะกล่าวโทษกันไปก็คงไม่เป็นประโยชน์อะไร จะหวังรัฐบาลมาแก้ปัญหาก็คงยากสสสส์
  • แม้จะมีรัฐบาลที่เก่งสุด ๆ และตั้งใจสุด ๆก็ตามที่
  • ในความเห็นผมเห็นว่าตัวจักรสำคัญไม่ได้อยู่ที่รัฐบาล แต่อยู่ที่คนมหาวิทยาลัย คนมัธยม  คนประถม  คนอนุบาล  และพ่อแม่ บรรดาคนเหล่านี้ถ้าไม่หันมาคุยกันว่าจะเอาอย่างไรกับการศึกษาของลูกหลานเขา ก็มองไม่เห็นทางว่าจะเริ่มต้นและสำเร็จลงได้ตรงไหนอย่างไร 
  • ไม่ว่าใครจะคิดหาหนทางที่วิเศษปานใดได้ แต่ถ้าคนมหาวิทยาลัย คนมัธยม  คนประถม  คนอนุบาล  และพ่อแม่ไม่เอา แม้ใครผู้นั้นมีอำนาจล้นฟ้าก็ไม่อาจไปบันดาลอะไรได้
  • เมื่อใดที่คนมหาวิทยาลัย คนมัธยม  คนประถม  คนอนุบาล  และพ่อแม่ รู้ที่จะลุกขึ้นมาหาทางของตน และลากเอารัฐเข้ามาสนับสนุนนั่นแหละ จึงพอจะมีวี่แววของความหวังว่าการศึกษาจะเปลี่ยนไปในทางที่เป็นคุณขึ้นมาได้

paaoobtong
14/07/52
00:30

ต้นเรื่อง ผมนำมาจาก บล็อกนี้แหละครับ

ครูวิมลศรี ศุษิลวรณ์

โรงเรียนเพลินพัฒนา

โรงเรียนเพลินพัฒนา ร่วมกับเครือข่ายโรงเรียนไทยไท อันประกอบไปด้วย โรงเรียนรุ่งอรุณ โรงเรียนทอสี โรงเรียนดรุณสิกขาลัย โรงเรียนสยามสามไตร โรงเรียนวรรณสว่างจิต โรงเรียนจิตตเมตต์(ปฐมวัย) โรงเรียนอนุบาลบ้านรัก โรงเรียนสัตยาไส โรงเรียนนานาชาติเมธา โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก และ โรงเรียนสัมมาสิกขาสันติอโศก

ร่วมกันจัดการเสวนาในงาน เวทีเพลินพัฒนาวิชาการ ครั้งที่ ๓ ในหัวข้อ “ชาติจะเป็นอย่างไร...ถ้าการศึกษาไทยไม่เปลี่ยน” เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. ณ ห้อง Meeting Room ๔ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (ภายในบริเวณงานเทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน)

วิทยากร :

ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ประธานคณะอนุกรรมการสภาการศึกษาเฉพาะกิจ

ปฏิรูปการศึกษาไทยในทศวรรษที่ ๒

รศ.ประภาภัทร นิยม ผู้แทนเครือข่ายโรงเรียนไทยไท / ผู้ก่อตั้งโรงเรียนรุ่ง

อรุณ

คุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ

ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คุณสุภาวดี หาญเมธี ประธานกรรมการบริหาร รักลูกกรุ๊ป / ผู้ร่วมก่อตั้งโรงเรียน

เพลินพัฒนา

อ.กรองทอง บุญประคอง ผู้อำนวยการโรงเรียนเพลินพัฒนา และผู้รับใบอนุญาต

โรงเรียนจิตตเมตต์(ปฐมวัย)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท