ประสบการณ์จากเวทีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ


สิ่งนี้แหละที่เป็นบทสรุปว่างบประมาณ และเวลาที่กรมอนามัยลงทุนไปนั้น มันออกดอกออกผลตามมาภายหลังอย่างไร

        เมื่อ 3 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสเข้าร่วมเวทีวางแผนยุทธศาสตร์พัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ จัดโดยสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย ที่หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา แม่ทัพใหญ่ด้านความคิด ต้องยกนิ้วโป้งให้คุณหมอนันทา อ่วมกุล ที่สามารถดึงความคิดจากผู้เข้าประชุมประมาณ 30 คน ออกมาและร่วมกำหนดเป็นยุทธศาสตร์การทำงานได้ภายในเวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมง และทำให้คนเขียนศรัทธาในพลังความคิดของบุคคลแต่ละคน ที่มาร่วมกันเติมแต่ง และเจียรนัยจนกลายเป็นเพชรเม็ดงามยิ่งขึ้น

         คุณหมอนันทาเริ่มโดยการนำเสนอสถานการณ์แวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตามกรอบ PEST Analysis ซึ่งทำให้ผู้ร่วมวงเห็นภาพใกล้เคียงกัน ต่อจากนั้น ได้แบ่งกลุ่มผู้เข้าประชุมออกเป็น 6 กลุ่ม จุดนี้แหละที่ท้าทายกระบวนการประชุม โดยคุณหมอนำกรอบการพิจารณาตามแนวทางของเครื่องมือ PMQA มาใช้ โดยให้แต่ละกลุ่มพิจารณาในแต่ละหมวด กลุ่มที่ 1 พิจารณาในเรื่องการนำองค์กร (หมวด 1) กลุ่มที่ 2 พิจารณาเรื่องผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (หมวด 3) กลุ่มที่ 3 พิจารณาเรื่องการวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ (หมวด 4) กลุ่มที่ 4 พิจารณาเรื่องทรัพยากรบุคคล และกลุ่มที่ 5 พิจารณาในเรื่องการจัดกระบวนการ (หมวดที่ 6) และกลุ่มที่ 6 พิจารณาเรื่องการกำหนดเป้าหมายการทำงาน ใน 4 มิติ คือ ประสิทธิผล ประสิทธิภาพ คุณภาพ และการพัฒนาองค์กร

           ไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อว่าผลการประชุมกลุ่มออกมาเป็นข้อเสนอให้สำนักส่งเสริมสุขภาพนำไปกำหนดเป็นกลยุทธ์การทำงานได้อย่างชัดเจน ผู้เขียนแอบนั่งวิเคราะห์อยู่ในใจว่าคนกรมอนามัยเราไม่ใช่ย่อยเลยกับเครื่องมือทางการบริหารสมัยใหม่ คุณหมอนันทาไม่จำเป็นต้องอธิบายเรื่อง PMQA ให้แก่ผู้เข้าประชุม การประชุมก็สามารถดำเนินต่อไปได้ด้วยดี สิ่งนี้แหละที่เป็นบทสรุปว่างบประมาณ และเวลาที่กรมอนามัยลงทุนไปนั้น มันออกดอกออกผลตามมาภายหลังอย่างไร และที่ทำให้ผู้เขียนซึ่งในระยะอันใกล้นี้ได้รับให้เป็นผู้มีบทบาทในการนำเอาระบบ PMQA เข้ามาใช้ในกรมอนามัยคนหนึ่ง เริ่มศรัทธากับเครื่องมือชิ้นนี้ยิ่งขึ้น

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 27623เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2006 08:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2012 17:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
สิ่งที่ท้าทายยิ่งกว่า ก็คงด้วยฝีมือ และ back up จากคุณโตโต้ (ผอ.กองแผน) และทีมงาน ด้วยนะคะ ที่จะเป็นผู้สร้าง สานต่อ และก่อให้กิจกรรม ของ PMQA ซึ่งตอนนี้ก็ชัดเจนมากขึ้นแล้วใช่ไหมคะ ว่ากรมอนามัยจะนำตัวชี้วัดที่ 18 ก็ว่าด้วยเรื่อง PMQA มาใช้กับกระบวนการดำเนินงานของกรมอนามัยกันแล้ว ชาวกรมอนามัยที่สนใจรายละเอียดการดำเนินงานนี้ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ เวปของสำนักที่ปรึกษานะคะ ที่ http://advisor.anamai.moph.go.th/ (ขอโค-สะ-นา หน่อยนะคะ ผอ.)
PMQA ปี50นี้ การใช้ADLIตอบคำถาม น่าจะเป็นการช่วยสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพราะมีเวทีทั้งระดับเล็ก ระดับใหญ่ ให้บุคลากรได้มาร่วมกันวิเคราะห์องค์กร/ร่างกาย ของตัวเอง ซึ่งกระบวนการ(การชื่นชมดอกไม้ระหว่างทาง)เหล่านี้น่าจะได้รับประโยชน์มากกว่าการตอบคำถามส่ง กพร.
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท