ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (๒)


การพัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชนเชิงอนุรักษ์

Tacit Knowledge จากหลวงพ่อ

 พระครูสุเจริญ ธัมมรโต จากวัดโพธิ์ชัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กำลังเตรียมตัวเล่า "ประสบการณ์ ในการทำกระเบื้องมุงหลังคา ที่ท่านได้ดำเนินการ จนประสบผลสำเร็จมาแล้วที่วัดของท่าน"

หลวงพ่อเล่าประสบการณ์หลายอย่างนับตั้งแต่ "ราคา หากซื้อกระเบื้องตกแผ่นละเกือบ สิบบาท ถ้าทำเองเพียงแผ่นละ ๒ บาท ประหยัดไปหลายสตางค์"

ภาพที่ ๒ หลวงพ่อ นำ VCD ภาพการซ่อมหลังคา จากประสบการณ์ที่ท่านได้ดำเนินการเอง และ ถ่ายออกมาเป็นภาพให้ "ชาวบ้านได้เข้าใจ เห็นภาพจริงกันเต็มตา"

ภาพที่ ๓ JJ ทำหน้าที่ถวายปัจจัย สนับสนุนทางวัด ให้กับท่านเจ้าอาวาส

ภาพที่ ๔ หลังจากรับฟัง ความรู้จากหลวงพ่อ พวกเราก็เก็บภาพรวมกัน ก่อนลงไปดูสาธิตการทำ "กระเบื้องมุงหลังคา แบบ Hand Made ครับ"

ภาพที่ ๕ วิทยากร หรือ ชาวบ้าน กำลังสาธิตการทำกระเบื้องมุงหลังคาอย่างง่าย มีความรู้ฝังลึกที่ท่านถ่ายทอด คือ การใช้ถุงพลาสติกวางจองข้างใต้ปูนที่ใส่ลงไป เพื่อที่ไม่ให้กระเบื้อง "ติดกับแบบพิมพ์"

ภาพที่ ๖ การสาดสีฝุ่น สีแดง หรือ เหลืองจะทำให้สีของหลังคาสดใส และ หากตะไคร่น้ำมาจับจะไม่ทำให้ดูสกปรก

ภาพที่ ๗ วิทยากรอีกท่าน คือ คุณวิมล มะลิลา กำลังสาธิตการวางกระเบื้องโดยมีส่วนบนของกระเบื้องจะเกี่ยวกับคานไม้ แต่ท่าน "เสริมเทคนิค คือ การเจาะรูกระเบื้อง และ นำลวดมาร้อย จะทำให้กระเบื้องแน่นหนาขึ้น เมื่อโดนลมพายุแรงๆ ก็ไม่หลุดออกจากหลังคา"

ภาพที่ ๗ ระหว่างการสาธิตทำกระเบื้องด้านหลัง วงดนตรีพื้นบ้านของทางวัด กลับมาจากออกงาน มาช่วยบรรเลง ประกอบ มันส์กันสุดๆครับ

 JJ สรุปว่างาน "การทำกระเบื้องครั้งนี้ เป็นการสร้างวัฒนาธรรม ขององค์กรแห่งการเรียนรู้ที่น่าเป็นแบบอย่าง เป็นการผสมผสาน ความรู้ฝังลึก จากท่านเจ้าอาวาส ชาวบ้านที่ทำจริง และ ยังมีคณาจารย์จาก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มาร่วมเป็นการ ทำงาน และ บูรณาการที่น่าเป็นแบบอย่างครับ"

 หรือ พวกเรามีความเห็นเช่นไร ครับ

JJ

หมายเลขบันทึก: 27601เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2006 23:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • ขอขอบคุณท่านอาจารย์ JJ...
  • บทความของอาจารย์ให้ความรุ้ และข้อคิดหลายอย่างครับ... เพิ่งรู้เป็นครั้งแรกว่า
    1). กระเบื้องวัดร้อยลวดให้กันลมกันพายุได้
    2). สาดสีฝุ่น - แดง/เหลือง - ทำให้ดูดีกว่าแม้มีตะไคร่น้ำมาเกาะ
    3). ราคาจ้างทำแผ่นละ 10.- บาท ทำเองถูกกว่าเยอะ
  • คนอีสานนี้ร่ำรวย(ศิลปวัฒนธรรม ความขยันหมั่นเพียร และน้ำใจ)จริง...
ผมชื่นชมบันทึกนี้มากครับ เป็นการนำเอาความรู้ฝังลึกที่ยอดเยี่ยมมากมา share วิจารณ์ พานิช

เข้าใจครบถ้วน  และเห็นภาพค่ะอาจารย์

ขอบพระคุณที่นำมาเผยแพร่ค่ะ

ออต-เล้าข้าวศึกษา

ผมชอบเดินทางไปเที่ยวด้านวัฒนธรรมอยู่บ่อย ๆ ด้วยสนใจในงานวัฒนธรรม กระเบื้องอย่างที่อาจารย์เล่ามานับว่ามีคุณค่ามากโดยเฉพาะการอนุรักษ์เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนา น่ายินดีที่ชุมชนโดยเฉพาะพระสงฆ์ท่านเห็นความสำคัญของเรื่องนี้

เท่าที่ผมเคยเห็นมาที่หนองคายก็เคยมีการทำหลังคาหรือ กระเบื้องดินขอแบบนี้ เมื่อครั้งที่ผมไปศึกาและสำรวจเตาเผาโบราณในแถบหนองคายพบกระเบื้องเหล่านี้มาก สอบถามดูเห็นว่าตอนนี้ไม่ทำแล้วเพราะไม่มีคนสั่งจึงหาคนทำได้น้อยรายหรือเรียกว่าหาช่างยาก

ช่างหนองคายตอนนี้ปั้นและเผาครกเป็นส่วนใหญ่แม้แต่ ไห หรือ โอ่ง ก็ลดการปั้นลงผมซื้อโอ่งดินเผาแบบโบราณมาเก็บไว้หลายใบเพราะกลัวจะหาช่างทำยาก

ภูมิปัญญาการปั้นหลังคาดินขอนี้ผมเห็นว่าดีมาก หากมีการฟื้นฟูขึ้นคงจะดี หน่วยงานที่สนใจน่าจะลองไปทำกันนะครับ

อาจารย์ JJ นำเสนออีกหน่อยซิครับว่าท่านมีวิธีอย่างไรบ้าง โดยกระบวนการแบบไหนอย่างไร น่าสนใจมากครับ

  

ขอบพระคุณครับ ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ อาจารย์หมอวัลลภ และ ท่านออต 

ทีมงานศูนย์ฯ จะออกไป "เรียนรู้ร่วมกับชาวบ้าน อีกครั้งครับ หลังโครงการนี้สำเร็จครับ" 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท