ปัญหาคุณภาพการศึกษา


เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

ปัญหาคุณภาพการศึกษา

                                                                                      

                                                                                                ฐิติพันธ์  สอนพูด

 

                   คุณภาพการศึกษาเป็นหัวใจของความสำเร็จของนโยบายการศึกษา  หัวใจของคุณภาพการศึกษาอยู่ที่โรงเรียน การแก้ไขคุณภาพการศึกษาได้รับความสนใจและดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้คำว่าปฏิรูปการศึกษา  ปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน  พัฒนาครู   พัฒนาการมีส่วนร่วม  กระจายอำนาจ   ชุมชน  คณะกรรมการสถานศึกษา  ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง  ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  ให้ทุกฝ่ายตระหนักในความสำคัญของการจัดการศึกษา  แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเลย  ดังจะเห็นได้จากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทุกระดับชั้นยังไม่ถึงระดับที่น่าพอใจสักที  ส่วนด้านคุณธรรม จริยธรรม ไม่ต้องพูดถึง ยิ่งเร่งส่งเสริมเท่าใด ทั้งด้านนโยบาย และความหลากหลายด้านการปฏิบัติ   นักเรียนยิ่งมีปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ มากแบบหลายวิธียิ่งขึ้นตามๆ กัน    ดังนั้น การพัฒนาคุณภาพนักเรียนจะไม่เกิดขึ้น ถ้าไม่สามารถเปลี่ยนแปลงให้โรงเรียนเป็นที่สร้างการศึกษาที่มีคุณภาพได้    เมื่อโรงเรียนไม่มีคุณภาพนักเรียนก็จะไม่มีคุณภาพ และเมื่อนักเรียนไม่มีคุณภาพ การศึกษาจะมีคุณภาพได้อย่างไร

                   

            โรงเรียนประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน ครูและนักเรียน เป็นหลัก  อาคารสถานที่ และ อุปกรณ์การศึกษาเป็นเพียงเครื่องมือของการจัดการศึกษาเท่านั้น  ถ้าคนโดยเฉพาะผู้บริหารโรงเรียนไม่มีวิสัยทัศน์  ไม่ตระหนักในวิสัยทัศน์  ทั้งยังไม่หาทางไปสู่เป้าหมายทางด้านวิชาการแล้ว  การพัฒนาคุณภาพการศึกษาจะเกิดขึ้นได้น้อยมาก   แม้ว่าจริงๆ แล้วคุณภาพของนักเรียนจะอยู่ที่มือครู   

ก็ตาม   แต่ผู้บริหารโรงเรียนเป็นบุคคลสำคัญที่สุดที่จะต้องดูแล  นิเทศ กำกับ ติดตาม ให้ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของครู  มิใช่เพียงแต่พูดว่าให้ครูมีจิตสำนึกในการเป็นครูเท่านั้น  ข้าพเจ้าจึงมองว่าคุณภาพการศึกษาไทย มีปัญหาจากสาเหตุหลายประการ  ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ  สังคม การเมือง  นโยบายของรัฐบาล  งบประมาณ  หลักสูตร  ผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา  ชุมชน ผู้ปกครอง  นักเรียน แต่สำคัญที่สุดคือผู้บริหารโรงเรียน  นั่นเอง 

              

            จึงขอเสนอแนะปัญหาและแนวทางแก้ไข  ดังตาราง

  

 ปัญหา

แนวทางแก้ไข

1. ไม่ให้ความสำคัญในงานวิชาการของโรงเรียน

 

 

 

2. อยู่ปฏิบัติหน้าที่ ที่โรงเรียนน้อย  มักจะไปเป็นคณะกรรมการต่างๆ ในระดับกลุ่มโรงเรียน  ระดับเขตพื้นที่  ไปประชุมบ่อย

 

 

3.  ไม่เป็นแบบอย่างที่ดีต่อครูและนักเรียน

ทั้งด้านคุณธรรม  จริยธรรม ความซื่อสัตย์  สุจริต ความโปร่งใสในการทำงาน

4.  ไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมการเข้าแถวเคารพธงชาติในแต่ละวัน  ซึ่งมีความสำคัญยิ่งในการเริ่มต้นการทำงานในแต่ละวันทั้งครูและนักเรียน

5.  ขาดการเสริมแรงแก่ครูที่มีผลงานดี  ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  มักให้ความสำคัญกับครูที่ดูแลเรื่องส่วนตัวมากกว่า

 

1.  มุ่งเน้น ให้ความสำคัญ ในการพัฒนาหลักสูตร  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู   การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา  การนิเทศภายในสถานศึกษา  ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

2.  ให้ตระหนักในหน้าที่หลักของตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่

 -  การคัดคนมาเป็นผู้บริหารโรงเรียน ต้องเป็นคนที่ประสงค์จะมาพัฒนาคุณภาพการศึกษาจริงๆ

3.  ให้ครูและคณะกรรมการสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการด้านงบประมาณให้มากยิ่งขึ้น

4.  ก่อนไปประชุมใดๆ ภาคเช้าควรดูแลโรงเรียน ครูและนักเรียนก่อน  เพื่อให้เป็นการปลุกเร้าให้ครูและนักเรียนตื่นตัวในการทำงาน 

 

5.  ควรเข้มแข็ง มีความเป็นตัวของตัวเอง ดูแลช่วยเหลือตนเองได้  อย่าทำตัวเป็นเจ้านาย

 

                 ข้าพเจ้าเป็นครูมาแล้วกว่า  29  ปี มักพบเห็นอยู่เสมอว่าหากผู้บริหารไม่อยู่โรงเรียนแล้ว  ครูส่วนใหญ่ มักจะไม่สอน  บางคนไปทำธุระส่วนตัว หรือจับกลุ่มคุยกัน  ก็แมวไม่อยู่หนูร่าเริงไง  หากผู้บริหารอยู่โรงเรียนดี  ทำเป็นคอยเดินสำรวจ ตรวจตราบริเวณโรงเรียน  อาคารเรียน  ห้องเรียน  ครูก็จะกระตือรือร้น  ปฏิบัติหน้าที่สอนอย่างเข้มแข็ง  ครูเป็นกลไกสำคัญที่สุดในการจัดการเรียนรู้ก็จริงอยู่  แต่ผู้บริหารโรงเรียนจะเป็นกลไกสำคัญยิ่งในการขับเคลื่อนการจัดการ   ควบคุม  กำกับ ติดตามการทำงานสอนของครู  และคุณภาพของนักเรียนก็จะเกิดขึ้น                    

               โรงเรียน คืออะไร

               ผู้บริหารโรงเรียนมีหน้าที่อย่างไรบ้าง

               ที่มา  :   ดร .กนก วงษ์ตระหง่าน

หมายเลขบันทึก: 276000เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2009 05:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

แวมาเรียนรู้ และทักทายค่ะ

มีสิ่งดีๆเสมอๆนะคะ

ขอบคุณค่ะ

เป็นครูเหมือนกันค่ะ ก็ขอเป็นกำลังใจ ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด

  • สวัสดีค่ะ
  • สุขสันต์วันวาเลนไทน์ และมีความสุขกับทุก ๆ วันนะค่ะ

  • มีทั้งส่วนที่เห็นด้วย และที่เห็นต่าง เห็นด้วยในการให้ความสำคัญกับการพัฒนาสถานศึกษา แต่เห็นต่างในส่วนของมุมมองการทำงานของผู้บริหาร ถ้าคุณครูมีประสิทธิภาพจริง ผู้บริหารไม่อยู่ครูก็ควรทำงานได้ตามบทบาทและหน้าที่ของแต่ละคน การไปประชุมเพื่อการรับทราบนโยบายต่างๆ ก็เป็นเรื่องที่จำเป็นของผู้บริหาร การพูดคุยสัมมนากับผู้บริหา่รโรงเรียนอื่นก็เป็นการสร้างเครือข่ายเป็นต้น ซึ่งเป็นบทบาทและภาระหน้าที่ของผู้บริหารเช่นเดียวกัน การบริหารงานในโรงเรียนก็เหมือนกันคุณครูทุกท่้านในโรงเรียนก็ต้องร่วมด้วยช่วยกัน หวังพึ่งแต่ผู้บริหารก็ไม่ได้ ต้องหันกลับมาดูหน้าที่และบทบาท ถ้าทุกคนรู้หน้าที่และบทบาทของตนเองดี ก็จะช่วยกันบริหารโรงเรียนได้ โดยไม่ต้องมานั่งตั้งคำถามว่าทำไมคนนี้ไม่ทำงาน คนโน้นไม่ทำงาน แต่ให้กลับมาถามตัวเองว่าทำงานในหน้าที่ตัวเองดีแล้วหรือยัง

    ได้อ่านแล้วเสริมความรู้และแนวความคิดในการทำงานมากขึ้นมาก ขอบคุณมาก

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท