ภูมิปัญญาหมู่บ้านและ แหล่งเรียนรู้ในหมู่บ้านมอเจริญ , หมู่บ้านปางมะนาว


ภูมิปัญญาหมู่บ้านและ แหล่งเรียนรู้ในหมู่บ้านมอเจริญ , หมู่บ้านปางมะนาว

                 หายไปนาน...วันนี้มาพร้อมกับแผนการจัดการเรียนรู้ ที่ใช้ทำการสอนปี 2551 มา 1 ปีการศึกษา..ได้ผลงานนักเรียน(vcd งานนำเสนอ) ...ได้ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ในหมู่บ้าน...และได้ความสนุก..ได้เข้าหมู่บ้าน ชุมชน ได้พบกับชาวบ้าน...ได้ศึกษาหาความรู้..จากแหล่งเรียนรู้+ภูมิปัญญาหมู่บ้าน(ครู+นักเรียน)

                 ปีการศึกษา 2552 คิดว่าจะต้องมีการต่อยอด....ก็มีความคิดบางส่วน...แต่ก็ต้องการการเสนอแนะ...ชี้แนะ....ให้ความหลากหลายกับงาน......

                                  

                                           แผนการจัดการเรียนรู้

 

สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม                                       สาระที่   4      ประวัติศาสตร์

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3                                          

ชื่อหน่วย   ศึกษา แหล่งเรียนรู้และ ภูมิปัญญาหมู่บ้าน                           เวลา     8     ชั่วโมง

เรื่อง      ภูมิปัญญาหมู่บ้านและ แหล่งเรียนรู้ในหมู่บ้านมอเจริญ , หมู่บ้านปางมะนาว

มาตรฐาน ส ๔.               เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม  ภูมิปัญญาไทย   มีความรัก  ความภูมิใจและธำรงความเป็นไทย                            

ครูผู้สอน   นางสาวกฤษณา    สุวรรณเจริญ

 

1. หน่วยการเรียนรู้                 ศึกษา แหล่งเรียนรู้และ ภูมิปัญญาหมู่บ้าน

 

2. สาระสำคัญ                       ภูมิปัญญาหมู่บ้านและ แหล่งเรียนรู้ในหมู่บ้านมอเจริญ , หมู่บ้านปางมะนาว

 

3. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและตัวชี้วัด

                                                1.   บอกแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาในหมู่บ้านมอเจริญ,หมู่บ้านปางมะนาว

                                                2.   นักเรียนสามารถจัดกลุ่มเนื้อหาของแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น

                                                3.   นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ของนักเรียนทำให้นักเรียนเห็นคุณค่าในการศึกษาเรียนรู้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

                                                4.  นักเรียนสามารถผลิตสื่อ ( VCD ) เพื่อนำเสนอแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในหมู่บ้านมอเจริญและหมู่บ้านปางมะนาว

 

4. วิธีการและกระบวนจัดกิจกรรมการเรียนรู้

                การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนประกอบไปด้วย 

                                1.  ขั้นนำ  เริ่มด้วย  การสนทนาซักถามผู้เรียนเกี่ยวกับพื้นฐานความรู้  ความสนใจ เกี่ยวกับภูมิปัญญาไทย  ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น 

                                2.  ขั้นกำหนดจุดประสงค์  ครูและนักเรียนร่วมกันกำหนดกิจกรรมและวัตถุประสงค์ใน การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน

                                  3.  ขั้นวางแผน  ครูและนักเรียนร่วมกันวางแผนการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นตาม    ขั้นตอน  ดังนี้ 

                          3.1     แบ่งกลุ่มศึกษาแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นตามหมู่บ้านของนักเรียน 

                          3.2     ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่จะทำการศึกษา 

                          3.3    เตรียมแบบสอบถามโดยนักเรียนเป็นผู้ตั้งคำถาม   เตรียมอุปกรณ์ ประสานผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาข้อมูล 

                          3.4     นำข้อมูลมาเสนอในชั้นเรียน 

                          3.5   ร่วมกันวิเคราะห์ถึงคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น  คุณธรรมของภูมิปัญญา ท้องถิ่นที่สามารถนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตของนักเรียน 

                          3.6     สรุปผลจะจัดทำ  video cd  เพื่อนำเสนอ และสรุปเป็นรูปเล่มด้วยรายงาน

       

                                 4.  ขั้นดำเนินงาน  การปฏิบัติตามขั้นตอนที่วางไว้   ดังนี้

 

                ชั่วโมงที่ 1

                                                1.1. ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนแยกตามที่อยู่ในชั้นเรียนได้ดังนี้

                                                                1.1.1. บ้านมอเจริญ                              1              กลุ่ม

                                                                1.1.2. บ้านมอตาแสน                           1              กลุ่ม

                                                                1.1.3. บ้านมอประดู่                             1              กลุ่ม

                                                                1.1.4. บ้านปางมะนาว                          1              กลุ่ม

                                                1.2.  ครูให้นักเรียนทั้ง  4   กลุ่ม ระดมความคิดโดยครูแจกใบงานที่  1 

                                                1.3.  นักเรียนนำข้อมูลมาเสนอในชั้นเรียน

                                                1.4.  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุป   แหล่งเรียนรู้และ ภูมิปัญญาหมู่บ้าน

 

 

ใบงานที่  1 

                               

                                1.  ให้นักเรียนบอกความหมาย  แหล่งเรียนรู้และ ภูมิปัญญาหมู่บ้าน

                                2.  แหล่งเรียนรู้และ ภูมิปัญญาหมู่บ้าน ในหมู่บ้านของนักเรียนอยู่  มีอะไรบ้าง....

                                3.  ให้นักเรียนแยกประเภทของแหล่งเรียนรู้และ ภูมิปัญญาหมู่บ้าน และจัดกลุ่ม แหล่งเรียนรู้และ       ภูมิปัญญาหมู่บ้าน ตามความคิดของนักเรียน

 

             ชั่วโมงที่ 2

                                                2.1.  จากใบงานที่  1  ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดทำแบบสอบถาม , แบบสัมภาษณ์  แหล่งเรียนรู้และ ภูมิปัญญาหมู่บ้าน  ตามใบงานที่ 2   ครูได้ชี้แจงให้นักเรียนได้ทราบว่าในแต่ละ  แหล่งเรียนรู้และ ภูมิปัญญาหมู่บ้าน นักเรียนได้แยกประเภทและจัดกลุ่มไว้ ดังนั้นการตั้งคำถามเพื่อจะสอบถามและสัมภาษณ์  แหล่งเรียนรู้และ ภูมิปัญญาหมู่บ้านจึงแตกต่างกัน  และให้นักเรียนจัดทำแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ให้ครบทุกประเภท 

                                                2.2.  ครูจะให้คำแนะนำ ในการทำแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์  ด้านการใช้คำพูดที่เหมาะสมและถูกต้อง

                                                2.3.  นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดพิมพ์แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์   แหล่งเรียนรู้และ ภูมิปัญญาหมู่บ้าน

 

                                                 

   ใบงานที่ 2

               

แบบสอบถาม - แบบสัมภาษณ์  แหล่งเรียนรู้และ ภูมิปัญญาหมู่บ้าน

ด้าน ...............………..………..   ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์............................................................................................

ที่อยู่   บ้านเลขที่...............  หมู่............  ตำบล   หินดาต    อำเภอปางศิลาทอง   จังหวัดกำแพงเพชร

...........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

 

                ชั่วโมงที่ 3  - 5 

 

                                                1.  ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผน , จัดลำดับ , กำหนดวัน-เวลาและประสาน        แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาหมู่บ้าน  ขอความร่วมมือในการให้ความรู้และให้ข้อมูลนักเรียน เพื่อการ   ออกไปสอบถามและสัมภาษณ์   แหล่งเรียนรู้และ ภูมิปัญญาหมู่บ้าน  

                                                2.  ครูและนักเรียนแต่ละกลุ่ม  ไปศึกษาแหล่งเรียนรู้และ ภูมิปัญญาหมู่บ้าน    โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์  ( ใบงานที่ 2  )

                                                3.  นักเรียนเก็บรวบรวมข้อมูล  โดยการจดบันทึก , การถ่ายภาพ  เพื่อใช้ในการจัดทำรูปเล่มและ จัดทำ  VCD  ในการนำเสนอต่อไป

                                                4.  นักเรียนกล่าวขอบคุณผู้ที่ให้ความรู้เรื่อง  แหล่งเรียนรู้และ ภูมิปัญญาหมู่บ้าน

                               

                                หมายเหตุ

                                                นักเรียนจะใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาหมู่บ้าน ( ใน   1  แหล่ง ใช้เวลาประมาณ   2-3  ชั่วโมง )  ดังนั้น การเก็บข้อมูลของนักเรียน อาจจะเป็นช่วงเย็นหลังเลิกเรียน  หรือ วันเสาร์ วันอาทิตย์  ก็ได้ทั้งนี้ให้เป็นไปตาข้อตกลงของนักเรียนในกลุ่ม ( พร้อมทั้งแจ้งให้ครูทราบ )

 

                ชั่วโมงที่ 6  - 8 

 

                                                1.  ครูให้นักเรียนสรุปการเรียนหน่วยการเรียนรู้ การศึกษา แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาหมู่บ้าน   โดยให้นักเรียนเล่าประสบการณ์ตรงที่ได้รับจากแหล่งการเรียนรู้ในหมู่บ้านที่นักเรียนอยู่มีแหล่งเรียนรู้อะไร   สามารถใช้ในการดำรงชีวิตหรือทำเป็นอาชีพได้หรือไม่   และแหล่งเรียนรู้อะไรที่นักเรียนสนใจการปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน และนักเรียนมีการแก้ปัญหาอย่างไร.. ( ใบงานที่  3 ทำเป็นหมู่บ้าน )

                                                การจัดการเรียนการสอนภูมิปัญญาไทย  นักเรียนได้มี  ส่วนร่วมในการเรียนการปฏิบัติจริงด้วยกระบวนการกลุ่มหรือไม่..  นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทย  เห็นคุณค่าในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย  นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับคุณธรรมและวัฒนธรรมการปลูกฝังความเป็นไทย หรือไม่อย่างไร

                                                2.  ให้นักเรียนจัดทำรายงานเป็นรูปเล่ม  ใช้ข้อมูลจากใบงานที่  1  , ใบงานที่  2   และใบงานที่  3   และจัดทำ  video cd  เพื่อนำเสนอใช้ข้อมูลจากใบงานที่  1 ,ใบงานที่  2 ,  ใบงาน    ที่  3  ,รูปถ่าย แหล่งเรียนรู้และ ภูมิปัญญาหมู่บ้าน ต่างๆ   ตามความคิดเห็นของนักเรียนในกลุ่ม

                                                3.  นำผลงานส่งครูภายในวันที่กำหนด  นำเสนอเป็นรายกลุ่ม

 

 

ใบงานที่  3

 

                จากการ

หมายเลขบันทึก: 275835เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2009 13:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท