งานวิจัย “การประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยในการรับการดูแลภายใต้แนวคิดสุขภาพองค์รวม จากนักศึกษาทันตแพทย์ในคลินิกทันตกรรมพร้อมมูล คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์”


การให้บริการผู้ป่วยภายใต้แนวคิดสุขภาพองค์รวม, การประเมินความพึงพอใจ

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้มีการนำแนวคิดเรื่องสุขภาพองค์รวมมาใช้ในการดำเนินงานคลินิกทันตกรรมพร้อมมูล มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 มาจนถึงปัจจุบัน โดยคาดหวังว่าผู้ป่วยที่มารับบริการจะได้รับการดูแลภายใต้แนวคิดสุขภาพองค์รวม โดยใช้กรอบแนวคิด 5C 2P ประกอบด้วย

1)      Central Concern คือ การคำนึงถึงบริบทของผู้ป่วยที่หลากหลายขึ้น

2)      Cultural encounter คือ การเคารพถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรม

3)      Cure คือ การรักษาแบบบูรณาการ

4)      Promotive คือ การส่งเสริม

5)      Prevention คือ การป้องกัน

6)      Communication คือ การสื่อสารที่ส่งเสริมความเข้าใจ

7)      Care คือ การดูแลผู้ป่วยด้วยความเอาใจใส่

จากการดำเนินการโดยใช้แนวคิดดังกล่าวมานั้น ยังไม่มีการติดตามประเมินผลตามแนวคิดสุขภาพองค์รวมในภาพรวม ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจ ถึงความรู้สึก ความพึงพอใจและข้อคิดเห็นของผู้ป่วยต่อการมารับบริการในคลินิกโดยนักศึกษาทันตแพทย์พร้อมทำการเปรียบเทียบความรู้สึกความพึงพอใจและข้อคิดเห็นของผู้ป่วยที่มารับบริการจากนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 5 และ ปีที่ 6 และศึกษาความสัมพันธ์ถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคามพึงพอใจของผู้ป่วย โดยงานวิจัยนี้คาดหวังที่จะให้เกิดข้อมูลใหม่ที่จะเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนทันตแพทย์ให้ได้เรียนรู้ในการปรับปรุงการเรียนการสอนและยังเป็นแนวทางประยุกต์ใช้ในการประเมินความคิดเห็นของผู้ป่วยเพื่อปรับระบบบริการอันนำมาซึ่งความพึงพอใจและความสุขในการรับบริการจากคณะทันตแพทย์ศาสตร์  โดยงานวิจัยนี้มีระยะเวลาในการดำเนินงานระหว่าง มีนาคมพฤศจิกายน พัฒนากรอบแนวคิดในการวิจัยโยใช้กรอบ 5C2P  ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ (Mixed Methodology) ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสุ่ม ศึกษาโดยใช้แบบสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 450 คน และนำข้อมูลที่ได้มาตีความ ใช้สถิติในการบรรยายตีความและวิเคราะห์เนื้อหา จากนั้นนำเสนอข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้ป่วยและนำข้อมูลที่ได้มาหารือในการดำเนินงานคลินิกทันตกรรมพร้อมมูลเพื่อปรับระบบบริการและการจัดการเรียนการสอน รวมถึงเป็นแนวทางในการดำเนินงานให้แก่คณะทันตแพทยศาสตร์แห่งอื่นต่อไป

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 275002เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2009 12:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
แผนงานโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข

ประเด็นพิจารณา ผลการพิจารณา

1. หลักการและเหตุผลโครงการ (สอดคล้องกับกรอบประเด็นหลัก น่าสนใจ เป็นประโยชน์ เป็นไปได้ ฯลฯ)

ดีแล้ว

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ 1.1 เป็นโครงการที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง แต่ขาดรายละเอียดสำหรับ reviewer ว่า โครงการ 5C2P ที่ทำตั้งแต่ปี 2549 มีรายละเอียดอะไรบ้าง ทำให้ไม่ทราบว่าจะประเมินประเด็นใดบ้าง อย่างไรก็ตาม ขอให้หัวหน้าโครงการดูแลประเด็นการประเมินให้ชัดเจน เพื่อที่จะได้บรรลุผลตามที่ตั้งไว้

2. วัตถุประสงค์ของโครงการ (เป็นไปได้ วัดได้ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ คิดว่าวัตถุประสงค์ข้อ 3 อยู่ในข้อ 1 แล้ว และข้อ 5 น่าจะเป็น ผลที่คาดว่าจะได้รับมากกว่า

3. ตัวชี้วัดและวิธีการประเมิน (สมเหตุสมผล ตรงประเด็น เป็นไปได้)

ดีแล้ว

4. วิธีการดำเนินโครงการ (เน้น participation, empowerment)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ 4.1 การประเมินผลโครงการนี้จะประเมินด้านใดบ้างไม่ได้ให้รายละเอียดไว้ ลักษณะของคำถามที่ใช้ในการถามทางโทรศัพท์มีความสำคัญมาก เพราะ การที่ไม่เห็นหน้าผู้สัมภาษณ์อาจไม่ได้ข้อเท็จจริงทั้งหมด นอกจากนี้ ควรพิจารณาการใช้คำถามในการสัมภาษณ์ว่าเป็นแบบปลายเปิดหรือปิด ใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างคำถามหรือไม่ เนื่องจากมีผลต่อการแปลความหมายของการสัมภาษณ์

4.2 ควรเพิ่มเติมการประเมินในกลุ่มนักศึกษาด้วย อาจใช้แบบสอบถาม หรือการทำ focus group เพื่อเป็นการยืนยันว่าการเรียนการสอนรูปแบบนี้สอดคล้องกับประเด็นการเรียนรู้ที่เป็นสุขด้วยหรือไม่

4.3 การคำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตัวเลข 33% ไม่น่าจะเรียกว่า ”proportional sampling”

5.วิธีการสังเคราะห์องค์ความรู้ (ใช้วิจัย KM ประชุม ฯลฯ)

ดีแล้ว

6. งบประมาณ (ประหยัด สมเหตุสมผล มีประสิทธิภาพ ฯลฯ)

โปรดปรับปรุง

ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ 6.1 ควรปรับงบประมาณเพิ่มหากมีการประเมินในกลุ่มนักศึกษาด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท