ยูบิควิตัส : การเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา


เทคโนโลยียูบิควิตัสในการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา

เทคโนโลยียูบิควิตัสในการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา

       ยูบิควิตัส หมายถึง

ยูบิควิตัส (Ubiquitous) เป็นคำภาษาลาตินมีความหมายว่าทุกหนทุกแห่ง ส่วนเทคโนโลยียูบิควิตัสนั้นมีความหมายถึง
เทคโนโลยีอัจฉริยะ (intelligent technology) เทคโนโลยีการสื่อสารในทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งจะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมทางการสื่อสาร
ในรูปแบบใหม่ที่สามารถอำนวยประโยชน์ให้มนุษย์ทำการสื่อสารได้ไม่เพียงแต่กับมนุษย์ด้วยกันเองหากแต่ยังสามารถทำการสื่อสาร
กับสิ่งของในสภาพแวดล้อมของเรา ไม่ว่าจะเป็นฝาผนัง ห้องนอน สินค้า ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นต้นว่า ตู้เย็นฝังไมโครชิปขนาดจิ๋วที่เชื่อ
มต่อกับอินเตอร์เน็ตจะบอกกับเราว่ามีของอะไรในตู้เย็นที่ใกล้จะหมดลงและสามารถสั่งของมาเพิ่มได้ทันทีที่ของในตู้เย็นหมด ก็อก
น้ำพร้อมจะให้บริการน้ำไหลเพียงแค่นำมือไปรองไว้ใต้ก็อกน้ำ เตาไฟฟ้าสามารถจำแนกภาชนะเครื่องครัวออกจากมือมนุษย์หรือสิ่ง
ของอื่นๆโดยจะเริ่มทำงานเมื่อมีการนำหม้อหรือกะทะไปวางบนเตาและจะหยุดทำงานเมื่อเราวางมือหรือสิ่งของอื่นลงเหนือเตาฯลฯ
เริ่องราวที่กล่าวมานั้นเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งของเทคโนโลยี ICT หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(Information and Communication Technology)รวมทั้งการพัฒนาระบบการชี้เฉพาะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ RFID (Radio
Frequency Identification )ที่ปัจจุบันพัฒนาจนมีขนาดเล็กลงกว่าเมล็ดข้าวสามารถแทรกลงระหว่างชั้นของเนื้อกระดาษหรือฝัง
ในเนื้อสัตว์ได้ จึงมีการนำระบบนี้มาใช้กันในงานหลายประเภทเช่น บัตรประจำตัว ฉลากสินค้า บัตรเอทีเอ็มฯลฯ ชิวิตมนุษย์ในโลก
ยุคใหม่จะผสานกันกับเทคโนโลยีๆจะผนวกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชิวิตมนุษย์โดยที่เราอาจไม่ได้รู้สึกตัวเลย
ที่มา : http://www.stou.ac.th/study/sumrit/6-51(500)/page1-6-51(500).html

       เทคโนโลยี.......ในการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา

Ubiquitous Learning  คือ การจัดการเรียนการสอนหรือบทเรียนสำเร็จรูป (Instruction Package) ที่นำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีเครือข่ายทั้งแบบใช้สายและไร้สาย รวมไปถึงพวกอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการประมวลผลแบบไร้ขอบเขต ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่และทุกเวลา  ที่จริงแล้ว น่าจะมาจากคำว่า Ubiquitous e-learning แต่ e- ได้ถูกตัดหายไป เนื่องจากเป็นการเรียนรู้ที่เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต ซึ่งเกี่ยวพันธ์กับวิธีการเรียนหลากหลายแบบรวมกัน ทั้งแบบดังเดิมและการใช้เทคโนโลยีด้านสารสนเทศด้วย

ลักษณะที่สำคัญ และการนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่ง

นับตั้งแต่การคิดค้นอินเตอร์เน็ตและเว็บไซต์ กระบวนการเรียน (Education Process) พัฒนาการในวงการการศึกษาได้พัฒนาควบคู่ไปกับวิวัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งส่งผลให้เกิดการเรียนรู้แบบไร้ขอบเขต (Ubiquitous Learning)   ในลักษณะทุกที่ ทุกเวลา การเรียนเกิดขึ้นรอบตัวผู้เรียน เพราะข้อมูลสารสนเทศได้รวมไว้ในอุปกรณ์ต่างๆ ขอเพียงผู้เรียนพร้อมที่จะเรียน   โดยเรียกความสัมพันธ์ของมนุษย์กับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ว่า เป็นแบบ Many to one relationship (Weiser, 1993) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์แบบสามัญและเกี่ยวพันธ์กับ Ubiquitous Computing
ที่มา : http://etc4msu.multiply.com/journal/item/4

ข้อดี และข้อจำกัดของ Ubiquitous Learning

            ข้อดีของ Ubiquitous Learning

ú        Adaptive learning เป็นการเรียนรู้ที่ปรับวิธีการให้ตรงกับรูปแบบ

การเรียนรู้ของผู้เรียน การสอนที่ปรับให้เข้ากับผู้เรียนทำให้เกิดการเรียนรู้ได้รวดเร็ว ประสิทธิภาพสูงและเข้าใจได้มากกว่า เช่น การติดตามกิจกรรมการเรียนของผู้เรียน การแปรผล และใช้ข้อมูลใหม่ๆ เสริมกระบวนการเรียน (Paramythis and Loidl-Reisinger, 2004)

 

    ú        Ubiquitous Learning Environment (ULE) เป็นสถานการณ์การเรียนรู้

แบบ pervasive (omnipresent education or learning) การเรียนเกิดขึ้นรอบตัวนักเรียนโดยนักเรียนอาจไม่รู้ตัว ข้อมูลได้รวมไว้ในอุปกรณ์ต่างๆ ขอเพียงนักเรียนพร้อมที่จะเรียน ที่จริงแล้ว น่าจะมาจากคำว่า Ubiquitous e-learning แต่ e- ได้ถูกตัดหายไป เนื่องจากเป็นการเรียนรู้ที่เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต ซึ่งเกี่ยวพันธ์กับวิธีการเรียนหลากหลายแบบรวมกัน ทั้งแบบดังเดิมและการใช้เทคโนโลยีด้านสารสนเทศด้วย

ú        การเชื่อมต่อกับเครือข่ายไม่ว่าผู้ใช้งานจะเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ต่างๆ

ú        การให้บริการที่สามารถเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ทั้งสถานที่  อุปกรณ์

ปัจจัยทางกายภาพอื่นๆ

ú        การบูรณาการ U-learning นั้นทำให้เกิดประโยชน์ต่อประสบการณ์การ

เรียนแบบกลางแจ้ง (outdoor) และการเรียนในร่ม (indoor) ตัวอย่างการเรียนกลางแจ้งได้แก่ ในสวน ศูนย์กลางของเมือง ในป่า ส่วนการเรียนในร่ม ได้แก่ ในพิพิธภัณฑ์ ศูนย์การเรียนรู้ ห้องปฏิบัติการ หรือที่บ้าน

 

                 UK Equator Interdisciplinary Research Collaboration ประเทศอังกฤษ ได้ทำการศึกษา Digital Augmentation เพื่อเชื่อมกระบวนการเรียนรู้ในสถานที่จริงและการเรียนในห้องเรียน โดยเลือกวิชานิเวศวิทยาสำหรับนักเรียนระดับประถมปลาย ศึกษานิเวศวิทยาองป่า เครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ เช่น PDA กล้องส่องทางไกล การถ่ายภาพทางอากาศ คอมพิวเตอร์ เครื่องอัดเสียงและกระจายเสียง เครื่องมือติดตามนักเรียนขณะทำการทดลอง นักเรียนเก็บข้อมูลจริง โดยส่งข้อมูลที่ได้ผ่าน PDA และกลับมานำเสนอสิ่งที่ค้นพบเทียบกับข้อมูลในห้องเรียน และพบว่าการออกแบบกระบวนการเรียนสามารถทำให้ประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนกว้างขึ้น และเชื่อมการเรียนในห้องเรียนกับชิวิตจริงได้

           

ข้อจำกัดของ Ubiquitous Learning

ú        ระบบเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อให้ครอบคลุมถึงขนาด Ubiquitous  ต้อง

ใช้การลงทุนสูงมาก

ú        จำนวนผู้ใช้บริการ และผู้ที่มีความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยี

ดังกล่าว ยังน้อย ไม่คุ้มค่าการลงทุน

ที่มา : http://etc4msu.multiply.com/journal/item/4

อ้างอิง

[1] Jones, V and Jo J.H.; “Ubiquitous learning environment: An adaptive learning system learning using ubiquitous technology”, www.ascilite.org.au/conferences/perth04/procs/

[1] Roger, Y, Price, S., Randell, C, Fraser D.S., Weal, M, and Fitzpatrick G.; “Communications of the ACM”, Jan 2005, Vol.48, Issue 1, p 55-59.


หมายเลขบันทึก: 274960เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2009 11:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท