ปฏิบัติการ EMS &Refer?


ระบบการส่งต่อที่ดีเพื่อให้ห่วงโซ่ของการอยู่รอดไม่ขาดตอน

บันทึกการเรียนรู้ : Topic 5
ปฏิบัติการ EMS &Refer?
  

แบ่งบันความรู้โดย รศ.นพ.สมเดช พินิจสุนทร     มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เก็บออมความรู้โดย เกศรา แสนศิริทวีสุข            นศ. สาขาพัฒนาสุขภาพชุมชน 
    EMS ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ไม่ได้หมายถึงบริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษ  แต่หมายถึงบริการช่วยเหลือ
ผู้ป่วยฉุกเฉินและผู้ได้รับอุบัติเหตุตลอด 24 ชม.ฟรีหรือหมายเลขที่คุ้นเคยกันดี 1669...เจ็บเมื่อไหร่ก็โทรมา
   EMS (Emergency Medical Service System) คือ ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินภายนอก รพ. โดยจัดให้มีบุคลากร เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ ยานพาหนะ ระบบแจ้งเหตุ การประสานงาน และระบบลำเลียงนำส่งผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยฉุกเฉินไปยังสถานพยาบาลในเครือข่ายที่มีความพร้อมในการรักษาพยาบาล เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพและทันท่วงที    ส่วนในเรื่อง การส่งต่อ(Refer)  หมายถึง รพ.ของภาครัฐหรือเอกชนที่มีศักยภาพในการให้บริการแก่ผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วย
ฉุกเฉินจากหน่วยบริการรับไว้รักษาต่อ  โดยวัตถุประสงค์เพื่อ การวินิจฉัย การดูแลรักษาที่เหมาะสม  และบรรเทาเหตุฉุกเฉินต่างๆ ในประเด็นเรื่องการส่งต่อ ท่าน อ.สมเดช ได้ให้ข้อคิดว่า  รพ.ต้องมีไฟเขียวให้ช่องทางฉุกเฉิน มีเครือข่ายในการรายงาน มีสัมพันธภาพที่ดีในระหว่างเครือข่าย  และควรมีการวิเคราะห์ข้อมูลของพื้นที่ที่ส่งต่อว่าส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยประเภทใด มีปัญหาในด้านใด เพื่อจะช่วยกันพัฒนาและแก้ไข   นอกจากนี้ท่านอาจารย์ยังฉายภาพ วีซีดี ในการแข่งขัน EMS Rally ครั้งแรกในภาคอีสานเมื่อปี 2549  ที่มีผู้เข้าแข่งขัน 19 ทีมๆละ 10 คน ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล ทีมกู้ชีพ และพนักงานขับรถยนต์  ทำการแข่งขันที่รอบบึงแก่นนคร จ.ขอนแก่น ที่มีทั้งฐานวิชาการ  ฐานด้านบริหารจัดการทีมกู้ชีพ   และ ฐาน
สันทนาการ ซึ่ง EMS RALLY ถือเป็นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมที่สำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการพัฒนาคุณภาพของบุคลากร เนื่องจากกิจกรรมนี้จะกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวที่จะเรียนรู้ พร้อมที่จะทำงานอย่าง มีคุณภาพ และปรารถนาจะซักซ้อมการปฏิบัติงานอยู่เสมอ การช่วยเหลือผู้ป่วยวิกฤติ ณ จุดเกิดเหตุ มีปัจจัยเรื่องทีมงาน    เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ดังนั้น การพัฒนาทีมงานทุกคนให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมืออาชีพจึงเป็นสิ่งสำคัญ
            สรุปบทเรียนที่ได้รับ  ระบบการรักษาพยาบาลฉุกเฉินจะไม่เกิดผลดี หากมีความล่าช้าและการส่งต่อผู้ป่วยไม่
เหมาะสม  ระบบนี้ควรเป็นการรับผิดชอบและดำเนินการโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลท้องถิ่นนั้นๆ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆและประชาชนในพื้นที่  และเป็นระบบที่ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง ทุกคนเข้าถึงบริการได้อย่างเท่าเทียมกัน มีคุณภาพได้มาตรฐานสากลและมีระบบการส่งต่อที่ดีเพื่อให้ห่วงโซ่ของการอยู่รอดไม่ขาดตอน

หมายเลขบันทึก: 274788เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2009 18:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 20:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ท่านหัวหน้าภาค ว่า อีกหน่อย จะมี CT ตรงห้องเสียงตามสาย ครับ

อ้อ แต่ ที่ รพ.ศรีนครินทร์ นะ ครับ refer มาจาก อุบล ปุ๊บ ได้ ตรวจทันที ที่ ER เลย

ขอบคุณคะที่แวะมาเยี่ยม ทักทายและแสดงความคิดเห็น

สวัสดีค่ะ

แวะมาทักทายค่ะ

อยู่ EMS ที่ รพ.ศรีนครินทร์

ยินดีให้แลกเปลี่ยนนะคะ

 

ขอบคุณมากคะ ทำงานที่ สคร7 อยู่ที่กลุ่มระบาดวิทยาคุ้นเคยแต่โรคระบาดคะ

มีอะไรแนะนำได้คะในอนาคตอาจทำวิจัยเรื่องจนน้ำ ตกน้ำ คงมีกิจกรรม อบรมเรื่องการช่วยเหลือคนตกน้ำ ให้อาสาสมัครแล้วจะขอคำแนะนำคะ

สวัสดีค่ะ

- แวะมาให้กำลังใจในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท