K II
มังกรนิทรา- คนเก่งฟ้าประทาน

การเฝ้าระวังโรค


การเฝ้าระวังโรค

การเฝ้าระวังโรค   (disease  surveillance) หมายถึงการเก็บรวบรวม เรียบเรียงวิเคราะห์และแปลผลข้อมูลอย่างมีระบบ และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเผยแพร่ข้อมูลให้ผู้เกี่ยวข้องใช้ในการป้องกันและควบคุมโรคต่อไป  มีเป้าหมายของโรคหรือปัญหาที่ทำการเฝ้าระวังอย่างชัดเจน ในอดีตการเฝ้าระวังโรคเป็นการเฝ้าระวังผู้ที่สัมผัสเชื้อโรครุนแรง เช่น กาฬโรค (bubonic  plaque) ว่าจะเริ่มแสดงอาการเมื่อไร ต่อมาได้ขยายขอบเขตครอบคลุมทั้งโรคและปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

                   ส่วนคำว่า  monitoring  แปลว่า การเฝ้าระวังโรคเช่นกัน ในภาษาไทยหมายถึงการเฝ้าระวังการเกิดโรค  ปัญหาสุขภาพโดยทั่วไป ประสิทธิภาพการผลิต ตลอดจนลักษณะอื่นๆ ของประชากรอย่างต่อเนื่อง โดยมีพื้นฐานมาจากการเก็บข้อมูล vital  statistics  ซึ่งแตกต่างจาก  surveillance ที่มีเป้าหมายของโรคหรืออาการทางคลินิกที่ทำการเฝ้าระวังอย่างชัดเจน

วัตถุประสงค์ของการเฝ้าระวังโรค

                   โดยทั่วไปแล้ว  การเฝ้าระวังโรคมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อติดตามแนวโน้มของการเกิดโรคในประชากร  หากมีอัตราการเกิดโรคที่เพิ่มสูงกว่าปกติอาจนำไปสู่การสอบสวนโรค หรือหากมีการเกาะกลุ่มกัน (clustering)  ของผู้ป่วยหรือสงสัยว่าจะมีการระบาดของโรค   อาจใช้ข้อมูลจากการเฝ้าระวังโรคเป็นฐานสำหรับเปรียบเทียบอัตราการเกิดโรคอีกด้วย  นอกจากนี้การเก็บข้อมูลลักษณะผู้ป่วยจะเป็นประโยชน์ในการระบุกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากกว่าประชากรกลุ่มอื่น ในขณะที่ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ป่วยจะบ่งชี้ถึงวิธีการติดต่อของโรคในขณะที่ยังไม่ทราบสาเหตุของโรคอย่างชัดเจน  ส่วนข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของการเกิดโรคอาจบอกถึงผลกระทบของการเกิดโรคในประชากรกลุ่มต่าง ๆ ได้

                      นอกจากนี้ การเฝ้าระวังโรคยังสามารถชี้นำแนวทางการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขในระดับชุมชน  หากมาตรการควบคุมโรคที่ใช้เป็นมาตรการที่เน้นการควบคุมการติดต่อของโรค ข้อมูลจากการเฝ้าระวังโรคจะช่วยให้สามารถดำเนินการควบคุมโรคได้อย่างทันท่วงที เช่น หากตรวจพบผู้ป่วยที่เป็นโรคตับอักเสบ (hepatitis A)  ซึ่งติดต่อโดยการสัมผัส อาจทำการเพิ่มภูมิต้านทานของบุคคลอื่นในบ้าน โดยการให้ immunoglobulin เพื่อให้สามารถต้านทานต่อการสัมผัสเชื้อ หรือหากพบผู้ป่วยที่เป็นวัณโรค  อาจพิจารณาตรวจคัดกรองเพื่อหาผู้ป่วยเพิ่มเติมจากกลุ่มผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย เป็นต้น

 

 

ตารางที่ 1  เกณฑ์การแยกผู้ต้องสงสัยและผู้ป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรซิส ( leptospirosis )

                      ตามหลักขององค์การอนามัยโลก ( Sejvar, 2005 )

คำถาม

คะแนน

A.  ผู้ป่วยมีอาการ

 

ปวดศีรษะอย่างกะทันหัน

2

มีไข้

2

หากมีไข้ อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า  39° C

2

ตาแดง

4

Meningism

4

ปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะบริเวณน่อง

4

มีอาการอย่างน้อย 3 อย่างข้างบนพร้อมกัน

10

ดีซ่าน

1

Albuminuria

2

รวม

 

 

B.  ลักษณะทางระบาดวิทยา

 

มีการสัมผัสสัตว์ที่ที่ทำงาน บ้าน หรือเดินทาง

หรือสัมผัสแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อน

10

รวม

 

 

C.  ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

 

ในบริเวณที่พบโรคเป็นประจำ ( endemic )

ผลการตรวจเลือดครั้งเดียว ได้ผลบวก ระดับภูมิต้านทานต่ำ

 

2

ผลการตรวจเลือดครั้งเดียว ได้ผลบวก ระดับภูมิต้านทานสูง

10

ผลการตรวจเลือด 2  ครั้ง  ได้ผลบวก ระดับภูมิต้านทานเพิ่ม

25

ในบริเวณที่ไม่พบโรคเป็นประจำ ( not  endemic )

 

ผลการตรวจเลือดครั้งเดียว ได้ผลบวก ระดับภูมิต้านทานต่ำ

5

ผลการตรวจเลือดครั้งเดียว ได้ผลบวก ระดับภูมิต้านทานสูง

15

ผลการตรวจเลือด 2  ครั้ง  ได้ผลบวก ระดับภูมิต้านทานเพิ่ม

25

รวม

 

 

หากคะแนนรวม  A + B + C  มากกว่า  25  หรือ  A  มากกว่า  25  หรือ  A + B  มากกว่า 25

จัดเป็นผู้ที่น่าจะติดเชื้อ  (probable  infection )

หากคะแนนรวม  A + B + C  อยู่ระหว่าง 20-25  จัดเป็นผู้ป่วยสงสัย ( possible  infection )

ตารางที่  2  การแบ่งกลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์ตามจำนวนเม็ดเลือดขาว

จำนวน CD4+Tcell

กลุ่มผู้ป่วย

ไม่แสดงอาการ

แสดงอาการทั่วไป

แสดงอาการจำเพาะต่อโรค

³ 500 cell/ mL

A 1

B 1

C 1

200-499  cell/ mL

A 2

B 2

C 2

< 200 cell/ mL

A 3

B 3

C 3

 

 

ตารางที่  3  การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในประเทศไทย ( กรมปศุสัตว์, 2547 )

   ภาวะปกติ

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมย่อย

หน่วยงาน

การเฝ้าระวังเชิงรุก

ทางอาการ ( clinical

surveillance )

- ดำเนินการเฝ้าระวังโรคตามแผน โดยสอบถาม

  ลักษณะอาการสัตว์ปีกจากเจ้าของ ในกรณีที่เข้า

ไปในเล้าหรือสถานที่เลี้ยงสัตว์ปีกเพื่อตรวจดูอาการ ให้ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคทุกครั้ง  ทั้งก่อนและออกเพื่อป้องกันการแพร่โรค

สำนักงานปศุสัตว์

อำเภอ

 

- เมื่อพบสัตว์ปีกที่มีลักษณะอาการสงสัยว่าเป็น

 โรคไข้หวัดนกให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์

ประจำอำเภอทันที ปฏิบัติงานเฝ้าระวังโรคร่วมกับอาสาพัฒนาปศุสัตว์ทันทีที่ได้รับแจ้งว่า

มีสัตว์สงสัยเป็นโรคไข้หวัดนก

 

 

- เมื่อพบสัตว์ปีกสงสัยว่าเป็นโรคไข้หวัดนกให้

เก็บสัตว์ปีกหรือซากสัตว์ปีก จำนวน 2-5 ตัว ใส่ถุงพลาสติก 2 ชั้น แล้วมัดปากถุงให้แน่นส่งที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ประจำภาคหรือสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติเพื่อตรวจวินิจฉัยโรค

 

 

 

ตารางที่  3   ( ต่อ )

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมย่อย

หน่วยงาน

 

- ในกรณีที่ไม่มีการระบาดของโรคไข้หวัดนกใน

ประเทศไทยรายงานการเฝ้าระวังโรคด้วยอาการคลินิก ตามแบบรายงานการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกทางอาการสำหรับเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ประจำอำเภอ เดือนละ 1  ครั้ง

 

 

- จัดประชุมเจ้าของฟาร์ม สัตวแพทย์ผู้ควบคุม

ฟาร์มและผู้ประกอบการ ให้ดำเนินการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก ทางอาการเป็นประจำทุกวันและกรณีที่พบสัตว์ปีกสงสัยว่าเป็นโรคไข้หวัดนกให้แจ้งสำนักปศุสัตว์ทราบในทันที พร้อมทั้งจัดทำรายงานภาวะโรคระบาดภายในฟาร์มให้สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทราบเป็นประจำทุกเดือน ภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไป เพื่อประสานงานข้อมูลการเลี้ยงและสร้างเครือข่ายการเฝ้าระวังโรคในพื้นที่ร่วมกัน

สำนักงานปศุสัตว์

จังหวัด

 

- รายงานผลการเฝ้าระวังด้วยอาการทางคลินิก 

กรณีที่ไม่พบสัตว์ปีกสงสัยว่าเป็นโรคและไม่มีการระบาดของโรคในประเทศไทย ให้รายงานสำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยตามแบบสรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกทางอาการของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด เดือนละ

1 ครั้ง

 

 

- กรณีไม่พบสัตว์ปีกสงสัยว่าเป็นโรคไข้หวัดนก

  ในขณะที่มีการระบาดของโรคไข้หวัดนกใน

  พื้นที่อื่นๆ ในประเทศไทยให้รายงานการเฝ้า

  ระวังโรคทุกวัน

 

 

 

ตารางที่  3   ( ต่อ )

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมย่อย

หน่วยงาน

 

- กรณีที่มีสัตว์ปีกป่วยให้รายงานกรมฯ ผ่าน

  สำนักควบคุม  ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ และ

  สำเนาให้สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัย

  ทราบโดยทันที

 

 

-  ติดตามการดำเนินการเฝ้าระวังเชิงรุกทาง

   อาการของเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอ

 

 

- ดำเนินการตรวจวินิจฉัยโรค และแจ้งผลการ

  ตรวจวินิจฉัยโรคให้สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด

  และสำนักงานควบคุมป้องกันและบำบัดโรค

  สัตว์ทราบ

ศูนย์วิจัยและพัฒนา

การสัตวแพทย์/สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ

 

-  เฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกทุกชนิดที่

   นำเข้าจากต่างประเทศ

ด่านกักกันสัตว์

 

- วิเคราะห์และรายงานผลการเฝ้าระวังโรคเชิงรุก

  ทางอาการในภาพรวมของสำนักสุขศาสตร์สัตว์

  และสุขอนามัยและรายงานกรมปศุสัตว์ผ่าน

  สำนักงานควบคุมป้องกันและบำบัดสัตว์ในทุก

  เดือน

สำนักสุขศาสตร์และสุขอนามัย

 

- วิเคราะห์ สรุปและรายงานการเฝ้าระวังเชิงรุก

ทางอาการที่ได้รับจากสำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยให้กรมปศุสัตว์และสำเนาให้สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยทุกแห่งทราบทุกเดือน

สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์

 

-  ดำเนินการเก็บตัวอย่างซีรัม และเก็บตัวอย่าง

อุจจาระ (cloacal swab)  ตามแผนเฝ้าระวังเชิงรุกที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดระบุและส่งตรวจวินิจฉัยที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ประจำภาคหรือสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ โดยระบุว่าเป็นโครงการเฝ้าระวังเชิงรุกโรคไข้หวัดนก

สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ

ตารางที่  3   ( ต่อ )

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมย่อย

หน่วยงาน

 

- กลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์กำหนดแผนการ

สุ่มตัวอย่าง ภายในจังหวัดให้ได้ตามที่สำนัก       สุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยกำหนด

สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด

 

- กลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์ติดตามการดำเนินการ

สุ่มเก็บตัวอย่างของเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานปศุสัตว์อำเภอให้ได้ตามแผนที่กำหนด

 

- สรุปผลการตรวจวินิจฉัยการเฝ้าระวังเชิงรุกโรค

ไข้หวัดนกทางห้องปฏิบัติการให้สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยทราบ

ศูนย์วิจัยและพัฒนา

การสัตวแพทย์/

สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ

 

- กำหนดแผนการสุ่มตัวอย่างภายในพื้นที่สำนัก

สุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัย ตามตารางแสดงการสุ่มตัวอย่างในการเฝ้าระวังเชิงรุกของโรคไข้หวัดนกทางห้องปฏิบัติการ

สำนักสุขศาสตร์และสุขอนามัย

 

- ติดตามการเก็บตัวอย่างของแต่ละจังหวัดใน

  พื้นที่รับผิดชอบ

สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์

 

- วิเคราะห์และสรุปผลการเฝ้าระวังให้สำนัก

  ควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ และสำเนาให้สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่ที่รับผิดชอบทราบข้อมูล

 

- กำหนดแผนการสุ่มตัวอย่างเพื่อเฝ้าระวังโรคใน

  ภาพรวมระดับประเทศ

 

- ติดตามการสุ่มเก็บตัวอย่างภายในพื้นที่ของ

  สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัย

 

- รวบรวมรายงานจากสำนักสุขศาสตร์สัตว์และ

สุขอนามัยแต่ละแห่ง วิเคราะห์และสรุปให้กรมปศุสัตว์และสำเนาให้สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยทุกแห่ง

ตารางที่  3   ( ต่อ )

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมย่อย

หน่วยงาน

 

- ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเฝ้า

  ระวังโรคในพื้นที่เสี่ยง เช่น พื้นที่ที่มีนกอพยพ

 

การสอบสวนโรค

เบื้องต้น

-  ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการเฝ้าระวังทางอาการและ

สุ่มเก็บตัวอย่างในสัตว์ปีกที่อยู่ในรัศมี 5 กิโลเมตร รอบพื้นที่ที่เกิดโรคระบาดตามเป้าหมาย  หลักเกณฑ์ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดกำหนด

สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ

 

- สุ่มตัวอย่างตรวจทางห้องปฏิบัติการของกรม

  ปศุสัตว์

 

- ให้เจ้าหน้าที่กลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์กำหนด

แผนการเฝ้าระวังโรคให้ครอบคลุมพื้นที่ 5 กิโลเมตร รอบจุดเกิดโรค โดยใช้ข้อมูลที่ได้รับจากสำนักงานปุสัตว์อำเภอ ตามหลักเกณฑ์การเก็บตัวอย่างดังนี้

สำนักงานปศุสัตว์

จังหวัด

 

- ไก่เนื้อ  ไก่พันธุ์ และไก่ไข่ที่มีลักษณะการเลี้ยง

   เป็นฟาร์มให้เก็บตัวอย่างจากฟาร์ม ตามวิธีนี้

 

- สุ่มเก็บตัวอย่างอุจจาระ (cloacal  swab)

กระจายทุกโรงเรียน จำนวน 9  ตัวอย่างต่อ 1 หาร์ม (cloacal  swab 1  ตัวอย่าง หมายถึง  pooled  sample  จากไก่ 5 ตัว  ดังนั้น 9  ตัวอย่างจะมาจากไก่ 45 ตัว (ความเชื่อมั่น 99% ประมาณการความชุก 10%)

 

- ฟาร์มไก่เนื้อส่งออกและไก่พันธุ์ดำเนินงานสุ่มเก็บตัวอย่างโดยบริษัทเอกชนภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์

 

- ฟาร์มไก่ไข่และฟาร์มอิสระ  ที่ไม่อยู่ภายใต้การ

ดูแลของบริษัท ดำเนินงานสุ่มเก็บตัวอย่างโดยเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์

ตารางที่  3   ( ต่อ )

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมย่อย

หน่วยงาน

 

- ไก่พื้นเมืองและสัตว์ปีกอื่นๆ ที่อาจเป็นพาหะ

ของโรคให้เจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์ดำเนินการเก็บตัวอย่างจากทุกหมู่บ้านในพื้นที่โดย

 

 

- สุ่มเก็บตัวอย่างจากอุจจาระ (cloacal  swab)

จากสัตว์ปีกในพื้นที่จำนวน 4  ตัวอย่างต่อหมู่บ้าน  cloacal  swab 1  ตัวอย่าง หมายถึง  pooled  sample จากไก่ 5 ตัว ดังนั้น 4  ตัวอย่างจะมาจากไก่ 20 ตัว (ความเชื่อมั่น 99%  ประมาณการความชุก 25%)

 

- กลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์ติดตามการเก็บตัวอย่าง

  และเฝ้าระวังโรคของสำนักงานปศุสัตว์อำเภอ

 

- เมื่อได้รับตัวอย่างจากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด

ให้ดำเนินการตรวจวินิจฉัยโรค และแจ้งผลการตรวจวินิจฉัยโรคให้สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดและกรมปศุสัตว์ผ่านสำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ทราบ เพื่อวางแผนการควบคุมโรคและประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการควบคุมโรค

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์/สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ

 

- เฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกทุกชนิดที่

  นำเข้าจากต่างประเทศ

ด่านกักกันสัตว์

 

- ประสานงานการเฝ้าระวังโรคในพื้นที่รับผิดชอบ

 โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เสี่ยงที่ประเมินจากผลการ

 สอบสวนโรค

สำนักสุขศาสตร์

และสุขอนามัย

 

- ร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดดำเนินการเฝ้า

  ระวังโรค

 

- ติดตามและประเมินผลการเฝ้าระวังโรคภายใน

  พื้นที่สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัย

 

ตารางที่  3   ( ต่อ )

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมย่อย

หน่วยงาน

 

- ประสานงานการเฝ้าระวังโรคภายในประเทศ

- ติดตามและประเมินผลการเฝ้าระวังโรคทั่ว

  ประเทศ

- สรุปผลการเฝ้าระวังโรค ให้กรมปศุสัตว์ทราบ

  ทุกวัน

 

 

 

หมายเหตุ

                   นิยามลักษณะอาการของสัตว์ปีก ( Case  Definition)

                   1. อัตราการตายมากกว่า  10% ภายใน 1  วัน

                   2. สัตว์ป่วยแสดงอาการดังนี้

                         2.1  ตายกะทันหัน

                         2.2  อาการระบบทางเดินหายใจ เช่น หายใจลำบาก  ไซนัสบวม  น้ำตาไหล

                         2.3  อาการระบบประสาท  เช่น  ชัก  คอบิด

                         2.4  อาการท้องเสียหรือขนยุ่ง ซึม ไม่กินอาหาร ไข่ลด - ไข่ผิดปกติ  หงอนเหนียงสีคล้ำหรือหน้าแข็งมีจุด

                   กรณีในเป็ด/ห่าน/ไก่พื้นเมือง  อาจมีอาการซึม เบื่ออาหาร ขนยุ่ง หัวบวมหรือตาขุ่น

 

หมายเลขบันทึก: 274775เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2009 17:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท