พรมเพ็ชร
พรรณพัชร พรมเพ็ชร ปลายฟ้า พรมเพ็ชร

วัยรุ่นไทย หูเสื่อม ฟังเอ็มพี 3


วัยรุ่นไทย หูเสื่อม

สวัสดีคะ เพื่อนๆ ที่รักทุกคน

             ฉันมีเรื่องที่อยากจะบอกคะ เกี่ยวกับหูฟัง ที่ใช้กับโทรศัพท์และเครื่องเอ็มพี 3 ทั่ว ๆ ไป ซึ่งการใ้ช้หูฟังจริง ๆ แล้ว แม้ว่าเราฟังไม่บ่อย ฟังเพียงวันละไม่กีี่นาที  ก็มีผลเสียอย่างมาก คือสามารถทำให้แก้วหูเสื่อม  หูหนวก  สมองมีโอกาสที่จะได้รับรังสีคลื่นวิทยุด้วย  และวัยรุ่นบางคนใส่หูฟังทั้งวัน  บางคนฟังจนกระทั่งหลับไปพร้อมกับหูฟัง ซึ่งปัจจุบันเป็นยุคโลกาภิวัฒน์ ยุคของ ไอที ที่ทุกคนไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าได้รับความสะดวกสบายเป็นอย่างมาก  จากการอ่านหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 18  มิถุนายน 2552  พบว่า แพทย์ด้านการได้ยินเผยวัยรุ่นไทย 1 ใน 4 มีความผิดปกติในการรับฟังเสียง  สังเกตจากการพูดคุยเสียงดัง เหตุเพราะการฟังเอ็มพี 3  ไอพอด และการใช้หูฟังมือถือ ด้วยการเปิดระดับเสียงที่สูงเกินไป

              ที่เล่าให้ฟังนี้  เพราะว่า จากประสบการณ์ของเด็กข้างบ้านคนหนึ่ง ที่ชอบใช้หูฟังในการฟังเพลง เอ็มพี 3 และโทรศัพท์อย่างมาก จะมีหูฟังติดหูอยู่ตลอดเวลา ทั้งกินข้าว ดูทีวี หรือแม้แต่พูดกับคนอื่น บางครั้งก็ยังใช้หูฟัง ฟังเพลงก่อนนอนจนหลับถึงเช้า  ซึ่งแม่ของเขาก็เคยบ่นให้ฟังอยู่ตลอด  กระทั่งวันหนึ่ง น้องคนนี้ รู้สึกปวดหูข้างซ้ายเป็นอย่างมาก  และวันนี้ เป็นวันที่จะต้องสอบระหว่างภาค  แม่ก็บอกให้ลูกทนเอาหน่อยสอบเสร็จแล้วจะพาไปหาหมอ  หลังจากสอบเสร็จแล้ว แม่ก็พาไปหาหมอที่คลีนิคแห่งหนึ่ง แต่โชคร้ายคนไข้ในคลีนิควันนั้นเยอะมาก ทำให้ต้องรอนาน  นานจนทำให้น้องคนนี้รู้สึกปวดหูมากขึ้นจนมีอาการคลื่นไส้คล้ายจะอาเจียน  ในที่สุดก็เป็นลมล้มไปทั้งที่ัยังไม่ไ้ด้อาเจียน  โชคดีที่ถึงมือหมอแล้ว ก็เลยปลอดภัย  สาเหตุก็มาจากอาการติดเืชื้อในหูชั้นในอย่างรุนแรง  ซึ่งเกิดจากการใช้หูฟังติดต่อกันเป็นเวลานาน  และไม่ทำความสะอาด ซึ่งหากไปหาหมอช้าอีกนิดก็คงได้เป็นคนพิการหูหนวกไปแล้ว ตั้งแต่อายุยังน้อย

               จากประสบการณ์ที่เล่ามานี้ เราจะทำอย่างไรที่จะให้วัยรุ่นเหล่านี้ ที่เป็นเยาวชนของชาติเติบโตมาพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรือง  ได้รู้ถึงโทษของการใช้ ไอที  หากยังเลือกใช้มันอยู่และขาดเสียมิได้นั้น  เพราะขณะนี้ได้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันแล้ว  จากความคิดเห็นส่วนตัวแล้ว การจัดการศึกษาปัจจุบัน น่าจะบูรณาการด้านการเรียนการสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในการใช้เครื่องสื่อสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ  หรือการใช้อินเตอร์เน็ต เตือนเด็ก ๆ ได้ตระหนักถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เพราะถึงแม้ว่าจะไม่ส่งผลให้เห็นทันตา  แต่อาจส่งผลกระทบในระยะยาวได้  และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาแล้ว ก็ไม่สามารถย้อนกลับมาแก้ไขได้อีก.

 

หมายเลขบันทึก: 274437เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2009 12:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 21:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีจัง...ชวนลูกเข้ามาอ่านด้วยน้า...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท