สัจจะและเมตตาธรรมอย่างสูงสุด : มหาตมา คานธี


ในการเดินทางแห่งชีวิต ท่านยึดหลัก "สัจจะและเมตตาธรรม" อย่างสูงสุด ...ผมว่า ยิ่งเราได้อ่านหนังสือเล่มนี้เร็วเท่าไร เราจะยิ่งมั่นใจในการเดินทางแห่งชีวิตเร็วเท่านั้น !

 

Gandhi01 

 

  • เมื่อหลายเดือนก่อนผมซื้อหนังสือลดราคามาจำนวนหนึ่ง หนึ่งในนั้นคือ หนังสือ "GANDHIJI: The story of his life" ซึ่งเขียนโดยเยอร์ทรูด เมอเรย์ และแปลโดย อ.เรืองอุไร กุศลาสัย ปีนี้เทศกาลเข้าพรรษาเป็นช่วงวันหยุดยาว เป็นโอกาสดีทำให้ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ครับ โดยส่วนตัวแล้ว ผมเห็นว่า หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ดีมาก ๆ อีกเล่มหนึ่งที่จะทำให้เรามีความมั่นใจในการทำดีได้ดีครับ  จึงขอนำข้อคิดและบรรยากาศจากการอ่านมานำเสนอ ดังต่อไปนี้ครับ 
  • ก่อนอ่าน :
        ผมเริ่มสนใจหนังสือเล่มนี้มากขึ้นตอนได้อ่านข้อความในคำนำที่ว่า ...Albert Einstein ได้เขียนแสดงความในใจไว้ว่า "อาจเป็นได้ที่ยุคต่อไปจะไม่มีใครอยากเชื่อว่า บุคคลเช่นนี้ก็เคยมีชีวิตเดินเหินอยู่บนพื้นโลกนี้"  ต่อจากนั้นผมก็เริ่มเปิดอ่านคร่าว ๆ อย่างรวดเร็วว่าเป็นหนังสือเกี่ยวกับอะไร ในตอนแรกนั้นผมสรุปเอาเองว่า อ้อ! คงเป็น  "สถานการณ์สร้างวีระบุรุษ" และคิดเอาเองว่ามันเป็นเหตุการณ์ในอดีตของยุคนั้นสมัยนั้น คงนำมาใช้กับปัจจุบันได้น้อย พออ่านต่อมาอีก เริ่มเห็นความธรรมดาที่ไม่ธรรมดา ของหนังสือเล่มนี้ครับ ทำให้ได้เรียนรู้ว่า อย่าด่วนสรุปอะไรง่าย ๆ  
  • ระหว่างที่อ่าน :
        อาจจะเพราะเป็นช่วงเทศกาลเข้าพรรษาก็เป็นได้ ผมรู้สึกว่าสมาธิของผมดีเป็นพิเศษ จึงทำให้อ่านหนังสือเล่มนี้ได้อย่างลึกซึ้งและมีความสุขกว่าปกติ พบว่าหนังสือเล่มนี้ยิ่งอ่านยิ่งน่าติดตาม ยิ่งอ่าน ยิ่งทำให้ผมนับถือท่านคานธีมากยิ่งขึ้นครับ 
  • เมื่ออ่านจบแล้ว
        ผมพบว่า ผมได้แนวทางในการดำเนินชีวิตที่ดีชัดเจนยิ่งขึ้น ผมว่าท่านคานธี ท่านเป็นมนุษย์ธรรมดา ที่ค่อย ๆ เรียนรู้ที่จะทำความดี ในการเดินทางแห่งชีวิตของท่าน ท่านยึดหลัก "สัจจะและเมตตาธรรม" อย่างสูงสุด ท่านเป็นตัวอย่างของการทำดีได้ดี ผมว่า ยิ่งเราได้อ่านหนังสือเล่มนี้เร็วเท่าไร เราจะยิ่งมั่นใจในการเดินทางแห่งชีวิตเร็วเท่านั้นครับ !

 

 

 สิ่งที่ได้เรียนรู้

  • ระหว่างที่อ่านหนังสือเล่มนี้ หวนให้นึกถึงตำนานเรื่องเล่า เกี่ยวกับท่านขรัวโต เรื่อง "เข็นเบา ๆ " กล่าวคือ ตอนที่ท่านเห็นเจ้าหัวขโมยกำลังขโมยเรือของท่านอยู่นั้น ท่านก็เข้าไปเข็นช่วยเจ้าหัวขโมย และบอกว่า "เข็นเบา ๆ " เดี๋ยวถ้าพระเณรตื่นขึ้นมาแล้วเจ้าจะโดนทำร้ายเอา กับอีกเรื่องหนึ่งคือ ท่านนั่งอยู่ในกุฏิเห็นเจ้าหัวขโมยกำลังเอื้อมมือมาขโมยตะเกียงแต่เอื้อมไม่ถึง ท่านจึงยื่นตะเกียงนั้นให้เจ้าหัวขโมย ...ในตอนแรกที่อ่านนั้นผมคิดว่าเป็นเรื่องตลก แต่พอฝึกจิตฝึกใจตนเองมากขึ้นถึงได้ทราบว่า นั่นคือ "เมตตาธรรมขั้นสูง" 

 

คำสำคัญ (Tags): #มหาตมา คานธี
หมายเลขบันทึก: 274344เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2009 00:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะอาจารย์ อยากอ่านหนังสือเล่มนี้บ้างจัง

 

สวัสดีครับ คุณแอ๋ว

 

  • เป็นหนังสือที่ดีมากอีกเล่มหนึ่งที่ควรหาอ่านให้ได้
  • อยากส่งไปให้อ่าน แต่มีอยู่เล่มเดียวครับ
  • ขอบคุณที่แวะมาทักทายครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท