ผู้นำที่ฉลาดรู้ทางอารมณ์


การบริหารทางด้านการจัดการกับความรู้สึกของตนเอง

ผู้นำที่ฉลาดรู้ทางอารมณ์

(Emotionally Intelligent Leadership)

 

            นักจิตวิทยาและนักวิจัยตลอดจนผู้นำทั้งหลายในยุคปัจจุบัน ได้ให้ความสนใจและยอมรับถึงความสำคัญของความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งเป็นความสามารถที่เชื่อมโยงกับความมีประสิทธิผลของมนุษย์ มีนักวิจัยเช่น Daniel Goleman (1999) กล่าวว่าความฉลาดทางอารมณ์มีความสำคัญเป็นสองเท่าของความฉลาดทางสติปัญญา (IQ) รวมกับทักษะทางเทคนิคในการช่วยให้ทำงานได้สำเร็จ นอกจากนี้บุคคลยิ่งมีตำแหน่งสูงขึ้นในองค์การ ความสำคัญของความฉลาดทางอารมณ์ยิ่งทวีตามความสูงของตำแหน่งนั้น ทั้งนี้ เพราะการมีทักษะและความเข้าใจทางอารมณ์ จะช่วยเป็นตัวขับเคลื่อนความคิดและการตัดสินใจตลอดจนการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นของผู้นำ

            มีผลการวิจัยที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอเนีย: UCLA (กรมสุขภาพจิต,2543) ซึ่งแสดงว่า 7% ของความสำเร็จในการเป็นผู้นำมีส่วนเกี่ยวข้องกับความฉลาด ส่วนอีก 93% เป็นผลจาก    คุณสมบัติอื่นได้แก่ ความไว้วางใจ ความมีสมดุล การรับรู้ความเป็นจริง ความซื่อสัตย์ ความเป็นอยู่ และการมีอำนาจเหนือ คุณสมบัติด้านเชาวน์ปัญญาเหล่านี้เป็นที่มาของ EQ หรือความฉลาดทางอารมณ์ทั้งสิ้น

            Higgs และ Dulewicz (1999) นักวิจัยด้านความฉลาดทางอารมณ์ ได้ช่วยทำให้คำนิยามที่แจ่มชัดขึ้นของคำว่าความฉลาดทางอารมณ์หรือ Emotional intelligence และช่วยให้เราเข้าใจถึงผลกระทบต่อภาวะแวดล้อมของการทำงาน โดยเห็นว่าควรให้คำนิยามใหม่ไว้ดังนี้

            ความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง การบรรลุเป้าหมายของบุคคล โดยใช้ความสามารถบริหารจัดการกับความรู้สึกและอารมณ์ตนเอง มีความสามารถรับรู้ได้ไว และมีอิทธิพลต่อบุคคลสำคัญอื่น และสามารถในการสร้างสมดุลของภาวะจูงใจและแรงขับของตนด้วยพฤติกรรมอย่างผู้มีสติสัมปชัญญะและมีจริยธรรม

            จากบทความทำให้ข้าพเจ้าได้ทราบว่า ผู้นำต้องมีความสามารถในการควบคุมและกำกับพลังอำนาจทางอารมณ์ของตน เพื่อเป็นการเสริมสร้างความพึงพอใจขวัญกำลังใจและแรงจูงใจของพนักงาน ตลอดจนส่งเสริมความมีประสิทธิผลให้กับองค์การ โดยเฉพาะในภาวะแวดล้อมที่ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ต่อพนักงาน  หน่วยงานทั้งหลายจึงเพิ่มความสำคัญต่อการพัฒนาด้านความฉลาดทางอารมณ์ให้กับผู้นำของตนมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน

 

ขอขอบพระคุณ

รศ. สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์ 

 

หมายเลขบันทึก: 274342เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2009 00:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

มาขอเรียนรู้การครองอารมณ์  เคยปากไวพูดอะไรออกไปโดยไม่ทันได้คิด  แล้วก็เกิดปัญหาตามมามากมาย  พูดไปแล้วก็คิดขึ้นได้ว่าทำไมเราจึงพูดแบบนี้ ไม่พูดแบบนั้นฟังแล้วดีกว่าแยะเลยทั้งที่มีความหมายอย่างเดียวกัน ขอบพระคุณ โชคดีครับ

4900450068e3bd02

ผู้นำที่ดีต้องมีความสามารถในการควบคุมและกำกับพลังอำนาจทางอารมณ์ของตนเองได้ดี ข้อนี้เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งคะคุณพี่

น้องนางบ้านนา

แวะมาทักทายจ๊ะน้องโอ๋ เห็นด้วยกับบทความนี้เป็นอย่างยิ่งผู้นำที่ดีต้องรู้จักบริหารอารมณ์ของตนเองให้เป็น

ผู้นำที่ดี...ต้องมีภาวะความเป็นผู้นำ
สามารถควบคุมตัวเองได้..
และการควบคุมตัวเอง ก็ถือเป็นคุณลักษณะอันสำคัญของการบริหารองค์กรไปในตัวด้วยเช่นกัน

และสิ่งนี้ คือสิ่งที่ผมพยายามอย่างมาก  แต่ก็ล้มเหลว บ่อยเหมือนกัน

ดีมากคะ ตามมาอ่าน มีของดีดีทั้งน้านเลย

แอบเซฟไว้แล้วนะคะ

ไม่ว่ากันอยู่แล้วเดี๋ยวจะนำบทความที่มีประโยชน์มาให้อีกเยอะแยะเลยค่ะ จะแวะไปชมที่บล๊อกนะค่ะ

ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ ผอ.ประจักษ์ น้องนาง พี่หน่อย และคุณแผ่นดิน มากเลยค่ะที่แวะเข้ามาแสดงความคิดเห็นไว้

ความคิดเห็นทุกข้อความเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของบล็อกมาเลยค่ะจะนำไปเป็นข้อคิดในการทำรายงานและวิจัยในโอกาสต่อไป

ขอบพระคุณค่ะ

การเป็นผู้นำที่ดีต้องมีการระงับอารมณ์ของตนเองได้ เพราะบางทีอารรมณ์ก็อาจส่งผลต่อการตัดสินใจในการทำงานในองค์กรได้ แวะมาเยี่ยมค่ะ สู้ สู้ นะค่ะ พี่โอ๋

อารมณ์เป็นสิ่งที่ควบคุมอยาก แต่ก็ไม่เกินความสามารถของคนเรา พยายามข่มใจให้เย็นก่อนจะพูดหรือตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญออกมา ขอบใจมากจะน้องจิ๊บที่แวะมาเยี่ยม

น้องโอ๋เป็นผู้บริหารที่มีความฉลาดทางอารมณ์อยู่แล้วค่ะ

ขอบพระคุณมากค่ะยังต้องศึกษาเรียนรู้จากพี่ๆ อีกเยอะค่ะพี่เหงี่ยม ก็เล็งพี่เหงี่ยมไว้เป็นแบบอย่าง หวังว่าคงไม่สงวนสิทธิ์นะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท