7 วิธีลดแน่นท้อง-ท้องอืด-ท้องเฟ้อ-เรอเปรี้ยว(GERD)


 

...

 [ Wikipedia ]

ภาพที่ 3: ระบบทางเดินอาหาร > Thank [ Wikipedia ]

จากปากลงไปเป็นหลอดอาหาร (esophagus) > กระเพาะอาหาร (stomach) > ลำไส้เล็ก (small intestine) หลังจากนั้นจะลงสู่ลำไส้ใหญ่ ไส้ตรง และทวารหนักตามลำดับ

...

พระเอกหรือนางเอกของเราวันนี้ คือ หูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง (lower esophagus sphinctor / LES) ซึ่งอยู่ด้านล่างของหลอดอาหาร เหนือต่อกระเพาะอาหาร

หูรูดนี้ทำหน้าที่ยอมให้อาหารและน้ำไหลลงล่างได้, ยอมให้แก๊สไหลย้อนกลับได้ เวลาเรอ, ปกติจะไม่ยอมให้อาหาร น้ำ น้ำย่อย กรด และน้ำดี (ถ้ามี) ในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับได้ คนส่วนน้อยประมาณ 1 ใน 5 จะมี LES บกพร่อง ทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อนเป็นๆ หายๆ ไปตลอดชีวิต

...

 

นิตยสาร 'Health' หรือ "สุขภาพ" ออนไลน์แนะนำวิธีลดอาการแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอเปรี้ยวจากโรคกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease / GERD / เกิร์ด)

ต้นฉบับใช้คำว่า 'heartburn' เนื่องจากชาวตะวันตก หรือฝรั่งที่เป็นโรคนี้มักจะมีอาการแสบร้อนในอก หรือร้อนอก ซึ่งเป็นผลจากอาหาร น้ำ กรด น้ำย่อย และน้ำดี(ในคนบางคน) ไหลย้อนจากกระเพาะอาหารกลับไปยังหลอดอาหาร

... 

โรคกรดไหลย้อนทำให้หลอดอาหารอักเสบ เป็นแผล และถ้าไม่ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต (lifestyle) ร่วมกับการใช้ยาตามที่หมอแนะนำ อาจทำให้เยื่อบุหลอดอาหารเปลี่ยนแปลง (Barrett's esophagus) และเสี่ยงมะเร็งเพิ่มขึ้นได้ในระยะยาว (พบน้อยมาก)

เรื่องสำคัญคือ โรคนี้ทำให้แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอเปรี้ยว และ "รักษาไม่หาย" เป็นส่วนใหญ่ การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตต่อไปนี้จะช่วยให้อาการดีขึ้นได้อย่างมากมาย

...

7 วิธีลดแน่นท้อง+ท้องอืดได้แก่

(1). Small, frequent meals = มื้อเล็กๆ บ่อยๆ

  • อาหารมื้อใหญ่ หรือการดื่มน้ำคราวละมากๆ จะทำให้กระเพาะอาหารโป่งออก และหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างหย่อนลง กรดไหลย้อนได้มากขึ้น

(2). Cut the cake = ลดเค้กลงหน่อย

  • ชอคโกแล็ต โกโก้ และกาเฟอีน ซึ่งพบในกาแฟ เครื่องดื่มกระตุ้นกำลัง ชา โกโก้ ไมโล โอวัลติน ชอคโกแล็ต อาจทำให้อาการแย่ลง

...

  • อาหารไขมันสูง เครื่องเทศบางอย่าง อาหารทอด ผลไม้ตระกูล citrus (ส้ม ส้มโอ เกรฟฟรุตหรือเสาวรส), หอมดิบ มะเขือเทศ เนย น้ำมัน เปปเปอร์มินต์ (สะระแหน่ มีมากในหมากฝรั่ง) อาจทำให้อาการแย่ลง
  • ไม่จำเป็นต้องลดอาหารกลุ่มนี้ไปเสียหมด ขอเพียงจดบันทึกรายการอาหาร ทำเครื่องหมายไว้ว่า วันเวลาใดมีอาการมากประมาณ 2-3 อาทิตย์ จะเริ่มรู้ว่า อาหารใดแสลงโรคสำหรับเรา แล้วทดลองซ้ำ 2-3 ครั้ง ว่า แสลงจริง เพื่อจะได้กินครั้งละน้อยหน่อยต่อไป  

(3). Don't drink alcohol = อย่าดื่มแอลกอฮอล์

  • แอลกอฮอล์ทำให้หูรูดกระเพาะอาหารส่วนล่างคลายตัว กรดไหลย้อนได้ง่ายขึ้น
  • การศึกษาในปี 2542 พบว่า ยิ่งดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาก, อาการยิ่งแย่ลง (Am J Medicine)

(4). Another reason to shed pounds = อีกเหตุผลหนึ่งที่ (ควร) ลดน้ำหนัก

  • การศึกษากลุ่มตัวอย่างมากกว่า 10,000 คนในปี 2546 พบความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกาย (body mass index / BMI) กับโรคกรดไหลย้อน หรือ "ยิ่งอ้วนยิ่ง(ท้อง)อืด" (Int J Epidemiology)
  • คนอ้วนเป็นโรคกรดไหลย้อนเกือบ 3 เท่าของคนไม่อ้วน

...

  • กลไกที่อาจเป็นไปได้ คือ คนอ้วนมีไขมันในช่องท้องมากขึ้น แรงดันในช่องท้องมากขึ้น แรงดันนี้ไปบีบกระเพาะอาหาร
  • กลไกอื่นที่อาจเป็นไปได้ คือ ไขมันในช่องท้อง หรือภาวะอ้วนลงพุง อาจปล่อยสารเคมีไปรบกวนการทำงานของทางเดินอาหาร

(5). Don't wear tight clothing = อย่าสวมเสื้อผ้าคับ

  • เสื้อผ้าคับๆ ทำให้แรงกดต่อกระเพาะอาหารมากขึ้น กรดไหลย้อนมากขึ้น

(6). Head up, Sleep better = เอียงหัวเตียงขึ้น, หลับสบายขึ้น

  • การหลีกเลี่ยงอาหาร น้ำ หรือเครื่องดื่มมื้อใหญ่ก่อนนอน 2-3 ชั่วโมง และหาอะไรหนุนหัวเตียงให้สูงขึ้น 6-8 นิ้ว ช่วยให้กรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารไปหลอดอาหารได้น้อยลง

...

  • การหนุนหมอนหลายใบไม่ช่วยให้อาการดีขึ้น
  • การศึกษาพบว่า กลไกสำคัญ คือ หลอดอาหารที่อยู่ในแนวนิ่งมากขึ้นทำให้กรดและน้ำย่อยในหลอดอาหารไหลลงกระเพาะฯ ได้เร็วขึ้น 67%

(7). quit smoking = หยุดสูบบุหรี่

  • นิโคตินในบุหรี่ ทำให้หูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง (lower esophagus sphinctor / LES) หย่อนตัว ทำให้อาหาร น้ำ กรด น้ำย่อยไหลย้อนกลับจากกระเพาะอาหาร ขึ้นไปยังหลอดอาหารได้ง่าย

...

  • นิโคตินทำให้น้ำดีที่ช่วยย่อยไขมันในลำไส้เล็ก ไหลย้อนกลับ จากลำไส้เล็กไปกระเพาะอาหาร ซึ่งทำให้กระเพาะฯ และหลอดอาหารบาดเจ็บจากน้ำดีได้
  • นิโคตินมีฤทธิ์ทำให้การหลั่งน้ำลายลดลง น้ำลายมีสารเบสหรือด่างไบคาร์บอเนต คนรูปร่างใหญ่ (ฝรั่งขนาด 70 กิโลกรัม) กลืนน้ำลายวันละประมาณ 1.5 ลิตร ซึ่งช่วยปกป้องหลอดอาหารจากกรด เมื่อน้ำลายน้อยลง... หลอดอาหารจะบาดเจ็บได้ง่ายขึ้น

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

... 

 > Thank Health Magazine; [ Wikipedia ]; [ flickr ] & [ Marco Veringa ]

ที่มา                                                                      

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >  > 7 กรกฎาคม 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 274261เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2009 20:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท