nobita
นาย ชัยพร รัตนดิลก ณ ภูเก็ต

พระบารมีต่อผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่


สอบถามรายละเอียดและนัดหมายล่วงหน้า โทร.0-2576-6008-9 ในเวลาราชการ ตั้งแต่ 08.00-16.00 น.

 
           ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ

โอกาสคล้ายวันประสูตร
ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี  
วันที่  4  กรกฎาคม  2552  ทรงบำเพ็ญพระกุศล โปรดให้โรงพยาบาลศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เปิดให้บริการกับประชาชนในการ "ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย จำนวน 1,500 ราย เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2552-30 มิถุนายน 2553

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

  • ประชาชนที่มีอายุระหว่าง 50-65 ปี 
  • ไม่มีประวัติการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มาก่อน 
  • ไม่มีโรคประจำตัวที่ไม่เหมาะสมต่อการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เช่น โรคหัวใจ โรคปอดที่ยังควบคุมอาการไม่ได้ โรคไตวายเรื้อรัง หรือโรคอื่นๆ ตามที่แพทย์เห็นสมควรว่าอาจไม่ปลอดภัยในการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่

สอบถามรายละเอียดและนัดหมายล่วงหน้า โทร.0-2576-6008-9 ในเวลาราชการ ตั้งแต่ 08.00-16.00 น.

มะเร็งลำไส้ใหญ่ [1]

  • เป็นโรคที่ทำให้คนเสียชีวิตมากเป็นอันดับ 1 
  • พบมากใน
         คนอายุ 50 ปีขึ้นไป
         และ/หรือผู้ที่มีญาติใกล้ชิดเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • เพศชายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มากเป็นอันดับ 3 และเพศหญิง เป็นมากในอันดับ 5 
  • คนไทยเป็นโรคนี้ปีละมากกว่า 10,000 ราย
  • เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับ 3 หรือร้อยละ 18 ของโรคมะเร็งทั้งหมด
  • ผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้จะไม่ปรากฏอาการใดๆ จนโรคลุกลามไปถึงระยะสุดท้าย
  • มีหลักฐานว่า การส่องกล้องลำไส้ใหญ่เป็นทางเดียวที่จะพบอาการของโรค แต่ถ้าตรวจพบตั้งแต่ระยะต้นๆ แม้จะมีอาการแล้วก็สามารถหายได้

อัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่  [2]

  • การที่คนไทยมีวิถีชีวิตไม่เหมือนเดิม โดยเฉพาะเรื่องการกินอาหาร เมื่อก่อนเรากินผักเยอะ ตอนนี้กินเนื้อแดงเยอะมากเกินกว่าความจำเป็น
  • มีหลักฐานชัดเจนว่ากินผัก ผลไม้ ช่วยให้ไม่เกิดมะเร็ง และอีกปัจจัยคือ ความอ้วน เพราะกินไขมันเยอะ พวกของทอด เฟรนช์ฟราย นมเนย
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • การสูบบุหรี

ผู้เข้าร่วมโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก จะได้รับการดำเนินการ :-

  • การทำแบบประเมินความเสี่ยงด้วยระบบคอมพิวเตอร์ 
  • การตรวจร่างกาย
  • การตรวจหาเลือดที่ปนมาในอุจจาระ
  • การนำอุจจาระไปสกัดดีเอ็นเอ
  • การตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ปอด
  • การทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อเตรียมการส่องกล้อง
  • ได้รับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่


-----------------------
[1] ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ชัยเวช นุชประยูร
[2] ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา

แหล่งข้อมูล  :  สู้ "มะเร็งลำไส้ใหญ่" กับสถาบันฯ จุฬาภรณ์  โดย พนิดา  สงวนเสรีวานิช  คอลัมน์ ประชาชื่น  นสพ.มติชน  6  ก.ค.  52

ที่มาของภาพ : http://www.thaihistory.in

********

ในวันที่ต้องทำหน้าที่พยาบาลดูแลผู้สูงอายุ (แบบมือสมัครเล่น) มีโอกาสนั่งอ่านหนังสือพิมพ์อย่างจริง ๆ จัง ๆ แล้วคิดว่า น่าจะเก็บอะไรจากสิ่งที่อ่านไว้บ้าง ไม่ใช่อ่านแล้วผ่านเลย แล้วก็ลืม จึงได้เรื่องราวนี้มาฝากกันครับ...

 

หมายเลขบันทึก: 274214เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2009 16:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 11:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท