การไม่ออกกฎกระทรวง เป็นการละเลยต่อหน้าที่หรือเปล่า? ตอน 1


การค้นข้อกฎหมายเรื่องนี้ สืบเนื่องจากข้อกังวลของหลายคนที่รอคอย แต่กลับยังไม่เห็นวี่แววของ กฎกระทรวงที่จะต้องออกตามมาตรา 7 ทวิ วรรค 3 พรบ.สัญชาติ ฉ.4 พ.ศ.2551

คำถามนั้นก็คือว่า การไม่ออกกฎกระทรวง เป็นการละเลยต่อหน้าที่หรือไม่

ค้นๆๆ ได้ความว่า-

การละเลยต่อหน้าที่ หมายความว่า กฎหมายกำหนดหน้าที่ให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องปฏิบัติ แต่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเพิกเฉย ไม่สนใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว

ยังไม่ได้ค้นต่อว่า เคยมีคดีทำนองนี้หรือเปล่า

อย่างไรก็ดี แถมอีกประเด็นที่สำคัญก็คือว่าแต่ว่ากรณีแบบนี้ ใครกันจะเป็นผู้ฟ้องคดี เพราะผู้มีสิทธิฟ้องคดีนั้น
กม.กำหนดว่า จะต้องเป็น
ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย
ผู้อาจได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย

ซึ่งอาจมอบอำนาจให้ ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทน
หรือ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
หรือ NHRC (ตามรธน.2550)

 

คำสำคัญ (Tags): #ม.7 ทวิ วรรค 3
หมายเลขบันทึก: 274155เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2009 12:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 06:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เอ...สงสัยจะใส่ความเห็นผิดที่ค่ะ

ขอโทษที

ประเด็นที่คุยในที่ประชุม ก็คือ ประเด็นนี้ 

ในวันนั้น เรากำลังพูดถึงกรณีที่กฎกระทรวงตาม พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑ หลายฉบับที่ยังไม่ออกภายหลังเวลา ๑ ปีกว่า และมีแนวโน้มจะมีการยอมรับบทบัญญัติที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ในการปฏิรูปกฎหมาย  

แล้วคงต้องว่า ในรายละเอียดของกฎกระทรวงแต่ละฉบับมังคะ Academic Meeting แบบนี้ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อสถานการณ์นะคะ   

ทีนี้โอ๊ตขอแจมสักนิดนะครับ (แต่ก็อย่าว่ากันนะครับถ้ามันผิด) แบบว่ายังเขียนไม่เสร็จ ค้นก็ไม่ทัน แต่เอาเป็นว่าขอเขียนแบบนี้ไปก่อนนะครับ แล้วจะทำให้สมบูรณ์ครับ

 

  ความผูกพันของสิทธิเสรีภาพต่อฝ่ายบริหาร

            สิทธิเสรีภาพก่อให้เกิดความผูกพันอันเป็นหน้าที่

1. การออกกฎกระทรวงเป็นการกระทำของฝ่ายปกครองหรือไม่

            เป็นการกระทำทางปกครอง เนื่องจากว่า เป็นผลิตผลของการใช้อำนาจตามกฎหมายของฝ่ายปกครอง พิจารณาองค์ประกอบใน 2 เรื่องคือ

            1. ในเชิงองค์กร ในที่นี้ คือ รัฐมนตรี เป็นฝ่ายปกครอง

            2. ในเชิงการกระทำ มีการกระทำขององค์กร เป็นการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติสัญชาติกระทำการซึ่งอยู่ในรูปกฎกระทรวง

เพราะฉะนั้นการออกกฎกระทรวงของรัฐมนตรีจึงเป็นการกระทำทางปกครองซึ่งอาจถูกตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายได้โดยศาลปกครอง

2. เรื่องกฎหมายกำหนดว่าเป็นอำนาจดุลยพินิจหรืออำนาจผูกพัน

            ว. 2 ในกรณีที่เห็นสมควร…  ดุลยพินิจ

            ว. 3 ให้รัฐมนตรี...         ผูกพัน มีหน้าที่ต้องทำ

            ก่อให้เกิดหน้าที่  ไม่ใช่ดุลยพินิจ เมื่อไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ย่อมเท่ากับเป็นการละเลยต่อหน้าที่ เป็นคดีปกครองตามมาตรา 9 (2) ของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง

3. ในกรณีที่ฝ่ายปกครองทำมิชอบด้วยกฎหมายย่อมถูกตรวจสอบได้โดยฝ่ายปกครอง

หากฝ่ายปกครองกระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมายย่อมถูกตรวจสอบได้โดยศาลปกครอง

ฟ้องศาลปกครองได้หรือไม่

            1. ต้องมีความเสียหายเกิดขึ้นก่อน ................

4. ผู้ที่มีอำนาจฟ้อง

            ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการที่รัฐมนตรีไม่ออกกฎกระทรวง มาตรา 42 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง (จะเขียนต่อนะครับ)

 

           สำหรับประเด็นนี้นั้นเคยมีการนำคดีขึ้นสู้ศาลปกครองที่เยอรมัน แต่ที่ไทยยังไม่มีครับ แต่เทียบเคียงมาจากการกระทำของฝ่ายนิติบัญญัติ

 

           ส่วนกรณีเรื่องศาลนั้น ผมเห็นว่าอำนาจของรัฐมนตรีนั้นออกกฎหมายลำดับรอง ไม่ใช่พรบ. ดังนั้น จึงเป็นศาลปกครองไม่ใช่ศาลรัฐธรรมนูญ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท