กระแสโลกาภิวัฒน์กับนโยบายการศึกษาไทย


ผู้นำมีคุณธรรมนำนโยบายสู่ความสำเร็จ


 

นโยบายการศึกษาของไทยกับโลกปัจจุบัน

โดย     nidnaka

          นโยบายการศึกษาของไทยกับโลกปัจจุบัน ทุกวันนี้มีนักวิชาการและบุคคลต่างๆออกมาวิเคราะห์และวิจารณ์การจัดการศึกษาของไทยมากมาย ซึ่งเสียงส่วนใหญ่เป็นไปในทางลบ ทั้งระบบการจัดการศึกษา และคุณภาพของผู้เรียน ส่วนใหญ่มุ่งไปที่การเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็ว จนทำให้การศึกษาของไทยและมาตรฐานผู้เรียนของไทยก้าวไม่ทันโลก ถ้าจะมาวิเคราะห์นโยบายการศึกษาไทย นโยบายสมัยดั้งเดิมของไทยเป็นการศึกษาตามอัธยาศัย ยังไม่มีระบบโรงเรียน ในช่วงยุคสงครามโลกเน้นความเป็นชาตินิยม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เน้นการขยายตัวของการศึกษาทุกระดับ ในสมัยประชาธิปไตยเปลี่ยนชื่อโครงการศึกษามาเป็นแผนการศึกษาชาติ และมีการกำหนดนโยบายการศึกษาโดยให้มีการปฏิรูปการศึกษาขึ้น คื.อความสำคัญกับการพัฒนาคน ซึ่งหมายถึงพัฒนาการศึกษาให้ทันยุคทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ในฐานะของกระบวนการ ก็คือ เมื่อมีการกำหนดนโยบาย ก็ต้องมีการนำนโยบายไปปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติก็ต้องมีการประเมินผล และนำผลย้อนกลับมาพิจารณาทำให้เกิดการปฏิรูปการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ  โดยนโยบายการศึกษาของไทยมีความชัดเจน ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งทุกคนต้องถือปฏิบัติ และได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย ส่วนการนำนโยบายทางการศึกษาไปใช้ ในระยะเวลาที่ผ่านมาสำหรับการศึกษาของไทย มีทั้งส่วนที่ประสบผลสำเร็จและส่วนที่ยังเป็นปัญหา โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากโลกาภิวัตน์มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของไทย คงต้องใช้เวลาในการพัฒนาต่อไป โดยเร่งสร้างเร่งพัฒนาผู้นำทางการศึกษา ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปฏิรูปรูปแบบการเรียนการสอนใหม่เพื่อสร้างคุณภาพให้ผู้เรียนที่จะต้องก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก เพราะไม่มีนโยบายใดที่นำไปปฏิบัติแล้วได้ผลเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ในทันที และใช่ว่าประเทศอื่นจะไม่ประสบปัญหา เพราะประเด็นปัญหาที่หลายประเทศต้องเผชิญ เมื่อนำนโยบายด้านการศึกษาโดยเฉพาะการปฏิรูปการศึกษาไปใช้ในการกระจายอำนาจการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียน ปัญหาที่พบได้แก่ ความมีอิสระในการบริหารตนเอง กับความจำเป็นที่ต้องมีการตรวจสอบ การกระจายอำนาจการบริหารกับความเสมอภาคทางการศึกษา การเปลี่ยนแลงเทคโนโลยีและวัฒนธรรม การกระจายอำนาจการบริหารกับผลที่ได้รับ 

 

          สรุปได้ว่านโยบายได้สะท้อนให้เห็นเหตุผลและผลกระทบ ที่มีต่อสภาพสังคมและการเมือง
มีกระบวนการทำที่ซับซ้อนหลายขั้นตอนในรูปแบบที่ผสมผสานกัน ทั้งระดับปฏิบัติ ระดับนโยบายองค์กร
ระดับทิศทางกลยุทธ์ และระดับสภาพแวดล้อมสังคมและการเมือง
เพื่อให้สามารถนำสู่การปฏิบัติได้ในระดับต่างๆ
การจัดทำและการนำนโยบายการศึกษาลงสู่การปฏิบัติ ภายใต้ความจำกัดของทรัพยากรและความเสมอภาคทางการศึกษา
ที่มุ่งสร้างคุณภาพของมนุษย์เพื่อทำให้ชุมชนที่มีคุณภาพ
ซึ่งการกำหนดนโยบายหรือการปฏิบัติตามนโยบายที่ดีนั้น
ผู้นำและบุคลากรในองค์กรมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะมีคุณธรรมจริยธรรม มีความเข้าใจในจริยธรรมองค์กร
มีความสามารถในการบริหารทรัพยากรและกระบวนการ ที่อยู่บนพื้นฐานความรับผิดชอบ ความคิดริเริ่ม
ตลอดทั้งความเป็นมืออาชีพและการเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ นอกจากนั้น
ความสำเร็จในการจัดทำนโยบายขององค์กรจะต้องดำเนินการให้เกิดการประสานสัมพันธ์ในหน้าที่ทั้งการประสาน
ความรับผิดชอบ ความยืดหยุ่น โดยการปรับโครงสร้างที่ยืดหยุ่น การวางแผนกลยุทธ์
ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความร่วมมือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การยอมรับความแตกต่าง
ใช้เหตุผลมากกว่าการวิเคราะห์ การบูรณาการความคิด การมีส่วนร่วม และการประสานความร่วมมือ

หมายเลขบันทึก: 274102เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2009 00:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 13:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท