แนวคิดทฤษฎีด้านพฤติกรรมสุขภาพ


แนวคิดทฤษฎีด้านพฤติกรรมสุขภาพ

แนวคิดทฤษฎีด้านพฤติกรรมสุขภาพ

1. ความหมายของทฤษฎี แบบจำลอง และแนวคิด

ทฤษฏีที่ดีจะให้พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติ ทฤษฎีควรอธิบายได้ว่าบุคคลทำการตัดสินใจเกี่ยวกับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมอย่างไร และยังบอกถึงแนวทางหรือลักษณะที่ปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจนั้นๆช่วยให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับธรรมชาติของปัจจัยภายในระหว่างบุคคลที่เกี่ยวกับพฤติกรรมนั้นๆ

2. กลุ่มแนวคิดทฤษฎีด้านพฤติกรรมสุขภาพ

Dimatteo & Dinicola ได้แบ่งกลุ่มทฤษฎีที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลออกเป็น 8 กลุ่มด้วยกัน คือ

                1. ทฤษฎีที่เกี่ยวกับบุคลิกภาพ

2. ทฤษฎีที่เกี่ยวกับพัฒนาการ

3. ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการรับรู้

4. ทฤษฎีที่เกี่ยวกับแรงจูงใจ

5. ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเรียนรู้

6. ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ

7. ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

8. ทฤษฎีกลุ่มพลวัตร

3. รูปแบบพฤติกรรมสุขภาพ

                จากแนวคิดและสมมติฐานเรื่องสาเหตุการเกิดพฤติกรรมสุขภาพ นักพฤติกรรมศาสตร์ได้สร้างรูปแบบจำลองขึ้นมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขพฤติกรรมสุขภาพ โดยยึดแนวคิดหลายรูปแบบ ดังนี้ รูปแบบปัจจัยภายในตัวบุคคล  รูปแบบปัจจัยภายนอกตัวบุคล  รุปแบบสหปัจจัยหรือรุปแบบสุขศึกษานิเวศวิทยา

4. ทักษะชีวิต

             เป็นความสามารถในการจัดการกับปัญหารอบๆตัวในสภาพสังคมปัจจุบัน และเตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัวในอนาคต ทั้งในเรื่องของปัญหาสุขภาพ การทำงาน ชีวิตครอบครัว รวมทั้งปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคม

องค์ประกอบของทักษะชีวิต มี10 ประการและสามารถจัดเป็น5 คู่ และแบ่งตามพฤติกรรมการเรียนรู้ 3 ด้าน คือ

1.             ด้านพุทธิพิสัย เป็นคู่ที่ 1 คือ ความคิดสร้างสรรค์ และความคิดวิเคราะห์

1.             ด้านจิตพิสัย คู่ที่ 2 คือความตระหนักรู้ในตน และความเห็นใจผู้อื่น

2.       ด้านทักษะพิสัย คู่ที่ 3คือ ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ และทักษะการสื่อสาร คู่ที่ 4 ทักษะการตัดสินใจ และการแก้ปัญหา คู่ที่ 5 ทักษะการจัดการกับอารมณ์และความเครียด

5. ทฤษฎีความมั่นใจในตนเองหรืออัตสมรรถนะ

ทฤษฎีนี้ได้หลักมาจากทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม เมื่อบุคคลมีทักษะที่จะปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมและมีกำลังใจอย่างเพียงพอ  ความคาดหวังในความสามารถจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำนายหรือตัดสินว่า  บุคคลจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพและปฏิบัติตัวตามคำแนะนำอย่างต่อเนื่อง

                ข้อดีของทฤษฎีสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคได้  เพราะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้ตนเองและตระหนักในความสามารถของตนเองโดยการจัดโปรแกรมกระตุ้นการรับรู้ ทั้ง 4 ด้านคือ ความสำเร็จในการกระทำของตนเอง การได้เห็นตัวอย่างในการปฏิบัติของผู้อื่น การสื่อสารจูงใจ  และการกระตุ้นเตือน

6. การมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพ

                การมีส่วนร่วมเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาทุกๆด้าน รวมทั้งด้านสุขภาพ กิจกรรมการพัฒนาใดๆจะยั่งยืนได้  ควรให้ประชาชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ มีความเข้าใจในกระบวนการอย่างถ่องแท้  สามารถมองเห็นความคาดหวังในผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อตนเอง ครอบครัวและชุมชนจนตัดสินใจเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมและลงมือดำเนินกิจกรรมด้วยตัวเอง เพื่อให้ประชาชนมีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหา การวางแผนและการตัดสินใจแก้ปัญหาให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของชุมชน ซึ่งนำไปสู่ความยั่งยืนของกิจกรรม เป็นการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ทฤษฎีที่ใช้ คือ กระบวนการ A-I-C เป็นการบริหารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมาทำงานและเรียนรู้ร่วมกัน โดยคำนึงถึงมิติทางสังคม จิตใจ วิทยาสาสตร์ และการบริหารจัดการ

7. แนวคิดกระบวนการกลุ่ม

                เป็นกระบวนการที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในกลุ่มสมาชิก ได้ร่วมกันทำกิจกรรมในกลุ่ม โดยกิจกรรมนั้นได้พิจารณาไตร่ตรองแล้วว่าเหมาะสมกับสมาชิกกลุ่ม ก่อให้เกิดการเรียนรู้และสามารถนำสิ่งที่ได้รับมาแก้ไขและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม นอกจากนั้นการรวมกลุ่มเพื่อแก้ไขปัญหาจะส่งผลไปสู่การรู้จักตัวเองและรักการทำงานร่วมกับผู้อื่นด้วย

แนวคิดพื้นฐานของกระบวนการกลุ่ม

1.       ในทางสังคมและมานุษยวิทยา มีความเชื่อพื้นฐานในการเกิดและอยู่ร่วมกันของมนุษย์อยู่ 2 ประการ คือ

1.1   เชื่อว่ามนุษย์เกิดมาดีและสมบูรณ์อยู่แล้ว 

1.2   เชื่อว่ามนุษย์เกิดมายังไม่สมบูรณ์

2.       ความเชื่อพื้นฐานในเรื่องของกระบวนการกลุ่ม สรุปได้ ดังนี้

2.1   บุคคลแต่ละคนมีความสามารถพิเศษในตนเอง ความสามารถนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานกลุ่ม

2.2   ประสบการณ์ที่ได้รับจากกลุ่ม จะส่งเสริมให้สมาชิกได้พัฒนาความสามารถพิเศษขึ้นมา

2.3   บุคคลแต่ละคนจะมีอิทิพลต่อกลุ่ม และในขณะเดียวกันกลุ่มก็จะมีอิทธิพลต่อบุคคลเช่นกัน

2.4   กลุ่มจะช่วยส่งเสริมสมาชิกแต่ละคน ให้มีการพัฒนาทัศนคติทางด้านสังคม

ประโยชน์ของกระบวนการกลุ่ม มีสิ่งที่เกิดขึ้น 2 ประการ คือ

1.       ผลงานที่กลุ่มสร้างออกมา

2.       กระบวนการทำงานของกลุ่ม

หมายเลขบันทึก: 273971เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2009 13:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท