โรงเรียนต้นแบบหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน


"สร้างโอกาสให้เด็กไทย หยุดวงจรแห่งความยากจน"
นโยบายหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน

            โครงการพัฒนาโรงเรียนในทุกๆอำเภอทั่วประเทศ จำนวน ๗๙๕ โรงเรียนในจำนวน ๗๙๕ อำเภอ  โดยให้แต่ละอำเภอมี ๑ โรงเรียน  ซึ่งนโยบายหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝันนี้จะเน้นการปูพื้นฐานการเรียนรู้ให้กับเด็กตั้งแต่วัยปฐมวัยให้รู้จักการวิเคราะห์เป็น   และรู้จักใช้ความคิด พิจารณาในเรื่องที่เราสนใจ รวมทั้งเป็นการช่วยผู้ปกครองอีกทางด้านหนึ่งด้วย กล่าวคือ ในบางเรื่องที่ผู้ปกครองไม่มีความรู้ความสามารถก็อาจจะไม่สามารถที่จะสอนบุตรหลานได้ก็จะได้มีกิจกรรมเสริมสมรรถภาพ  ประกอบกับในปัจจุบันโรงเรียนดีมีมาตรฐาน  มักจะรวมกันอยู่ในเขตกรุงเทพฯและในเมืองใหญ่ๆ ส่วนในเขตอำเภอต่าง ๆ ในต่างจังหวัดยังขาดแคลนโรงเรียนที่มีคุณภาพอีกทั้งเด็กในชนบทมีความยากจนผู้ปกครองไม่มีความสามารถที่จะส่งให้เด็กได้เล่าเรียนในโรงเรียนที่มีชื่อเสียง ดังนั้นจึงเกิดโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝันขึ้น เพื่อขจัดปัญหาความเลื่อมล้ำทางด้านวิชาการของโรงเรียนต่าง ๆ ตลอดจนเพื่อให้เยาวชนไทยที่อยู่ห่างไกลได้เติบโตด้วยความพร้อมในทุกๆด้าน มีโอกาสเข้าถึงแหล่งข้อมูลความรู้และพร้อมที่นำพาประเทศก้าวไปสู่ความเจริญยิ่ง ๆ ต่อไป

bullet02_green.gif วิธีการดำเนินงาน 

         ๑. ทางคณะกรรมการและทุกฝ่ายของโครงการจะต้องทำความเข้าใจกับทุกส่วนของสังคมในเขตของอำเภอที่ดำเนินโครงการว่าโรงเรียนนั้นมีปัญหาด้านใดบ้าง ควรพัฒนาอย่างไร

         ๒. การคัดเลือกโรงเรียน โดยเลือกอำเภอละ ๑ โรงเรียน ในสังกัดกรมสามัญศึกษาและสปช. โดยคิดถึงประโยชน์ร่วมที่ประชาชนจะได้รับและจำนวนนักเรียนจะต้องไม่น้อยเกินไป และการคัดเลือกจะต้องให้ชุมชนร่วมคัดเลือกด้วย เพื่อที่จะพัฒนาให้ตรงกับสิ่งที่ชุมชนต้องการ

         ๓. โครงสร้างและวิธีงบประมาณ  จะออกแบบโครงสร้างแบบอิสระ (นอกกรอบราชการ)   งบประมาณและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจะเน้นที่จำนวนนักเรียน (จำนวนครู : นักเรียน)

          ๔. การพัฒนาผู้บริหาร อาจจะมีการประเมินผู้บริหารโดยการสำรวจละจัดทำลำดับความนิยม โดยทำเป็นทะเบียนรายชื่อครูต้นแบบทั้งกรมสามัญและ สปช. และจัดทำหลักเกณฑ์การพัฒนา การฝึกอบรมในช่วงปิดเทอมแรกปี ๒๕๔๖ รวมทั้งวางแผนด้านงบประมาณด้วย

          ๕. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)  เพื่อการเรียนรู้  ต้องออกแบบให้เด็กใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดและโรงเรียนในฝันจะต้องมีข้อมูลสำคัญๆ เช่น รายชื่อนักเรียน จำนวนและรายชื่อครู อุปกรณ์การเรียนการสอน และหลักสูตร โรงเรียนในฝันแต่ละโรงเรียนสามารถเชื่อมโยงถึงกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และพัฒนาร่วมกัน

          ๖. วิธีการกำกับ ติดตามและประเมินผล เป็นการประเมินผลเชิงวิจัยเพื่อพัฒนา ที่มีหลักเกณฑ์ชัดเจน

         ๗. การทำการประชาสัมพันธ์โครงการ จัดทำข้อมูลเพื่อแถลงข่าว และเอกสารเผยแพร่โครงการสู่สาธารณชนให้มีความเข้าใจและเห็นภาพโครงการชัดเจนตามข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง อย่างมีเหตุผล

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 27384เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2006 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 13:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท