ปัญหาเด็กติดเกม


ปัญหาเด็กติดเกม

ปัญหาเด็กติดเกม               

                                ปัจจุบันเด็กไม่ว่าจะระดับ เด็กเล็ก เด็กโต วัยรุ่นแม้กระทั่งผู้ใหญ่บางคนชอบเล่นเกม

ไม่มีเด็กคนไหนไม่รู้จัก เกม จึงส่งผลให้เด็กติดเกม ส่งผลกระทบต่อการเรียนของเด็ก หากเด็กเหล่านี้ไม่รู้จักการแยกแยะแบ่งเวลาไม่เป็นผลการเรียนก็ตกต่ำ ในยุคไอที เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำหรับชีวิตมากขึ้น ซึ่งก็มีทันประโยชน์และโทษสำหรับเรา และเด็กส่วนใหญ่ ก็มีปัญหาจากการติดเกม

                                เกมมีผลให้เสพติดได้ เนื่องจากเกมสามารถสร้างความสนุกได้แบบฉับพลัน อีกทั้งยังท้าทายให้เอาชนะได้ต่อไปทีละน้อยๆ จึงทำให้คนเราอยากพิสูจน์ความเก่งของตนเองและไม่ยอมแพ้ ดังนั้น หากไม่เล่นด้วยความระมัดระวัง ไม่เล่นในลักษณะว่าให้มันเป็นอุปกรณ์สร้างเพลิดเพลินผ่อนคลายความเครียด โดยการจำกัดชั่วโมงการเล่น เช่น เล่นเพียงวันละครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงแบบพอสนุก แต่กลับเล่นแบบมุ่งเอาชนะให้ได้ หรือ เกมเป็นอุปกรณ์เพียงอย่างเดียวที่มีในการสร้างความสนุกสนานหรือสร้างความ ภาคภูมิใจในตนเอง ก็จะทำให้เสพติดได้ เมื่อติดแล้วการเลิกจะทำได้ยาก เพราะจะทำให้เกิดความอยาก เกิดอารมณ์หงุดหงิด ก้าวร้าวหรือทุรนทุรายได้หากไม่ได้เล่น

                                ผู้ปกครองควรให้ความสำคัญและช่วยการดูแลแก้ไขปัญหานี้ การดูแลช่วยเหลือของพ่อแม่หรือผู้ปกครองกรณีที่เด็กมีปัญหาในใจ ได้แก่ การสังเกตว่าลูกอาจอยู่ในภาวะเครียด ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เช่นกรณีนี้ลูกขว้างเกมทิ้งจนเสียหายเพราะแพ้เกม เป็นต้น พ่อแม่อาจจะถือโอกาสพูดคุยกับเด็กมากขึ้น ไม่รีบตำหนิ วิจารณ์หรือแนะนำ แต่ให้เขาได้ระบายความคับข้องใจ ซึ่งจะทำให้เข้าใจเขามากขึ้น และถือเป็นโอกาสในการให้กำลังใจ หรือ ชี้ให้เขาเห็นด้านดีอื่นๆที่เขามี หรือ ถือโอกาสชวนเขาหาความสุขความสำเร็จจากเรื่องอื่นๆ และ หากพ่อแม่รู้สึกว่าไม่มีหนทางช่วยเหลือลูกได้ ก็ต้องขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้างหรือผู้เชี่ยวชาญ

                                การป้องกันไม่ให้ลูกติดเกมได้แก่ สร้างวินัยและความรับผิดชอบตั้งแต่ยังเล็ก อย่าให้ลูกเล่นเกมมากหรือนานโดยไม่มีขอบเขต   มีปฏิสัมพันธ์เพื่อการแก้ไขปัญหา ได้แก่ การพูดจาดีต่อกัน รู้จักการ

ชื่นชมและให้กำลังใจ และ เปิดโอกาสให้กำหนดกติการ่วมกัน ซึ่งจะทำให้เด็กยอมรับและทำตามกติกามากขึ้น   การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการแก้ไขปัญหา ได้แก่ การลดสิ่งแวดล้อมทางลบ เช่น การจำกัดการเข้าถึงคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ด้วยการจำกัดจำนวนคอมพิวเตอร์ในบ้าน การลดความสะดวกของการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต เช่น ไม่ต้องติดตั้งความเร็วอินเตอร์เน็ตสูงนัก เด็กจะไม่สามารถเล่นเกมที่ต้องใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงได้ และ การเพิ่มสิ่งแวดล้อมทางบวก เช่น การเปิดโอกาสให้ได้ทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ตามความถนัด เด็กจะได้รับความสุข ความภาคภูมิใจจากความสำเร็จในกิจกรรมนั้น เด็กจะลดเวลาการเล่นเกม หรือ หันออกจากเกมเอง ส่งผลให้เด็กหันมาสนในการเรียนมากขื้น ทำให้เด็กมี

 

หมายเลขบันทึก: 273793เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2009 19:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท