66. โอมของอินเดีย


โอม คำศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาต่างๆ ในอินเดีย

                                                                        

(www.earthpages.wordpress.com)                                

โอม (AUM)

เพื่อนชาวอินเดียคนหนึ่งทุกครั้งที่จะเริ่มคิดหรือทำในสิ่งดีๆ หากต้องมีการเขียน เขาจะเริ่มต้นด้วยการเขียนคำว่า “โอม” ที่เป็นอักษรเทวนาครีก่อนเสมอ หรือแม้แต่นักวิชาการชาวอินเดียท่านอื่นๆ ที่นำเสนอผลงานวิชาการในระดับนานาชาติดิฉันก็เคยเห็นท่านเริ่มต้นด้วยคำว่า “โอม” ที่เปล่งเต็มเสียงอย่างมีพลัง และยาวนานก่อน ทั้งนี้โดยหวังว่าขอให้งานที่คิดจะเริ่มทำต่อไปประสความสำเร็จ

 

“โอมคือเป้าหมายที่พระเวททั้งหมดประกาศไว้ เป้าหมายที่ความสมถะทั้งหมดมุ่งไปสู่  และสิ่งที่มนุษย์ต้องการเมื่อเขานำพาชีวิตไปสู่การควบคุมบังคับใจตนเอง”  พยางค์ “โอม” (AUM/OM) คือพราหมณ์อย่างแท้จริง  ใครก็ตามที่รู้จักพยางค์นี้เขาก็จะสมหวังในสิ่งที่ปรารถนา นี่เป็นสิ่งที่สนับสนุนที่ดีที่สุด ที่สูงที่สุด ใครก็ตามที่รู้เกี่ยวกับการสนับสนุนนี้ก็จะได้รับความชื่นชมในโลกของพระพรหม” (อุปนิษัท I)

 คำว่า โอม ภาษาฮินดีคือ   เป็นพยางค์ที่ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาในอินเดีย ได้แก่ฮินดู ซิกข์ เชน และพุทธการออกเสียงคือสระโอเสียงยาวขึ้นจมูกปิดท้ายด้วยเสียง “ม” คำว่า “โอม” จะปรากฎในตอนต้นของคัมภีร์ศาสนาฮินดูที่จะต้องเปล่งเสียงพยางค์นี้ทั้งตอนเริ่มต้น และตอนจบของการสวดมนต์ (ตอนท้ายบทสวดที่เราอาจเคยได้ยินคือ “โอม ชานติ ชานติ”)

 คำว่า      (โอม ) มีลักษณะดังที่เห็นในรูป สังเกตได้จากลักษณะเด่นคือ
-มีเครื่องหมายคล้ายเลข 3 นำหน้า

-มีเครื่องหมายคล้ายง.งู ต่อท้าย

-มีถ้วยและหยดน้ำ (เครื่องหมายจุดพินทุ) อยู่ด้านบน

(Siamganesh.com)


การตีความของคำว่า “โอม” มีความหลากหลายไปตามกาลเวลาที่ผ่านมา และขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม

บ้างก็ตีความว่าเป็นเสียงแรกที่เปล่งออกมา และเป็นต้นกำเนิดของเสียง ภาษา และการสื่อสารอื่นๆ

บ้างก็ตีความว่าเทพเจ้า หรือพระเจ้าคือ โอมซึ่งทำให้ผู้ที่เข้าฌานหรือพระพยายามที่จะค้นหาเพื่อฟัง

เสียงนี้อย่างแน่วแน่

บ้างก็ตีความว่า “โอม” เป็นเสียงที่ใช้ในการบูชา เพราะมีหลักฐานกล่าวว่ามีคำสันสกฤต

 “ปราวนา” (pravana) แปลว่า “ร้องออกมา  ร้องในลำคอเวลาบูชา”

นอกจากนี้ มีการตีความอื่นๆ รวมถึงการตีความของฮินดูกล่าวว่าเป็นอักษรสามตัว A-U-M ที่สร้างเป็นคำ

ขึ้นมาซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของทุกสิ่งทุกอย่างและของจักรวาล

a มาจากคำว่า a-kāra “ส่งที่มีรูป”

u มาจากคำว่า  u-kara “สิ่งที่ไม่มีรูป เช่นไฟ น้ำ”

m มาจากคำว่า ma-kara “สิ่งที่ไม่มีรูป แต่มิใช่ไร้รูปร่าง เช่น ความมืด”

เสียงที่เปล่งออกมาที่มีความสำคัญในความเป็นหนึ่งเดียวของความเป็นจริงทุกอย่างในจักรวาล

 คำจำกัดความ—มีหลากหมายความหมายเช่นกัน ได้แก่

-          หมายถึง “ความจริง” มีอักษรสนับสนุนในความเชื่อของฮินดู

-          หมายถึง “เทพเจ้า” หรือ “เทพ” รวมทั้งพระเจ้าและทุกอยาง

-          หมายถึงกระบวนการของการเกิด การมีชีวิต

      การตาย และการเกิดใหม่ หรือ ชีวิตอวตารที่

      เป็นนิรันดร์ คำว่า “โอม” เป็นสัญลักษณ์

      จักรวาลของการสร้าง

ในสัญลักษณ์ AUM มีอยู่สี่ส่วนซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนความรู้ตัว 4 ระยะ คือ ตื่น นอน ฝัน และ สภาวะที่อยู่

เหนือจักรวาล

ในฮินดู ปุราณะเป็นชื่อที่ขลังของตรีมูรติ ที่แสดงความเป็นหนึ่งเดียวของเทพสามองค์ คือ

A สำหรับพระพรหม---การสร้าง

U สำหรับพระวิษณุ---การรักษา

M สำหรับมหาเทพหรือพระศิวะ---การทำลาย

 ทั้งสามเสียงเป็นสัญลักษณ์แทนพระเวททั้งสามคือ ฤคเวท (สรรเสริญ) ยชุรเวท (สังเวย) และสามเวท (ทำนองขับ)

AUM หมายถึงทุกอย่างรวมเป็นหนึ่ง

ตัวอย่างของสามสิ่งรวมเป็นหนึ่ง

·         การสร้าง (พระพรหม) การรักษา (พระวิษณุ) และการทำลาย พระ(พระศิวะ) รวมเป็นหนึ่งเดียวคือ อัตมัน

·         การเดิน-การฝัน-นอนโดยไม่ฝัน รวมเป็นหนึ่งคือภาวะของการรู้ตัว

·         รชะ (Rajas) หมายถึงการเคลื่อนไหว หรือพฤติกรรม กลายเป็น พระพรหมในฐานะผู้สร้าง ตมะ (Tamas)หมายถึงความมืด กลายเป็นพระศิวะ ผู้ทำลายสากลโลกที่ได้สร้างขึ้นมาแล้ว สัตตวะ  (Sattva)  หมายถึงความดี ความสว่าง กลายเป็นพระวิษณุในฐานะผู้แทรกซึมอยู่ทั่วไป ผู้ดำรงไว้ ผู้ถนอมรักษาสากลโลกที่ได้สร้างแล้ว รวมกันเป็นพราหมณ์ (ที่มีเป้าหมายสูงสุดคือโมกษะ-การบรรลุความดีขั้นสูง)

·         ร่างกาย คำพูด และจิตใจรวมกันเป็นหนึ่ง

 

อ้างอิงจาก

(http://www.aumsymbol.com/meaning_of_aum/)

(http://en.wikipedia.org/wiki/Aum)

(http://www.lotussculpture.com/my_articles_om.htm)

 อรุณศักดิ์ กิ่งมณี  2551 ตรีมูรติ อภิมหาเทพของฮินดู  กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ

 ---------------

                             บอกกล่าว ข่าวเชิญ

 

1) วันอังคารที่ 4 สิงหาคม 2552 เวลา 9.30-12.00 น. ขอเชิญฟังบรรยายพิเศษ เรื่อง "The Tais in Northeast India and their cultural linkage with Southeast Asia" โดย Prof. Girin Phukon จากมหาวิทยาลัย Dibrugarh, Assam, India ณ ห้องประชุมณัฐ ภมรประวัติ ชั้น 1 สถาบันวิจัยภาษาและวันธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนพุทธมณฑล 4 ศาลายา นครปฐม

ฟรี โปรดสำรองที่นั่งที่คุณวาสนา ส้วยเกร็ด โทร. 02-800-2308-14 ต่อ 3209

2) ปริญญาโท หลักสูตรวัฒนธรรมและการพัฒนา เอกอินเดียศึกษาจะเปิดรับสมัครรอบแรก ในเดือนตุลาคม 2552 นี้ ขอเชิญท่านที่สนใจที่จะศึกษาเรื่องราวของอินเดียให้ลึกซึ้ง โปรดเตรียมตัวสมัครได้ สอบข้อเขียนในเดือนธันวาคม โปรดเข้าชมรายละเอียดใน www.lc.mahidol.ac.th หรือโทร. 02-800-2308-14 ต่อ 3101 หรือโทร. 02-800-2323

3) ท่านที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ที่สนใจจะสอนและทำวิจัยเกี่ยวกับอินเดีย ขอเชิญสมัครเป็นอาจารย์ได้ที่คุณบุญครอง มงคล สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 02-800-2308-14 ต่อ 3206

หมายเลขบันทึก: 273725เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2009 15:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะอาจารย์

เมื่อวานไปที่มหิดลศาลายา

หลานไปซ้อมรับปริญญ์

ผ่านที่ทำงานของอาจารย์ด้วย

แต่คิดว่าเป็นวันหยุด อาจารย์คงไม่อยู่

โอกาสหน้าคงจะได้พบกันนะคะ

เรียนคุณตันติราพันธ์

    ดิฉันอยู่ค่ะ ดิฉันไปทำงานทั้งเสาร์และอาทิตย์ค่ะ ท่านใดผ่านไปมาเชิญแวะทักทายได้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท