Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

ข้อเสนอของชาวสาธารณสุขเกี่ยวกับการจดทะเบียนการเกิด


อยากเรียนชาวสาธารณสุขว่า การจดทะเบียนการเกิดนั้น หมายถึง ๓ ขั้นตอนตามกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งผูกพันประเทศไทย กล่าวคือ (๑) การรับรองการคลอดโดยผู้ทำคลอด (๒) การรับรองคนเกิดในทะเบียนราษฎรโดยนายทะเบียนราษฎร และ (๓) การรับรองคนเกิดในทะเบียนคนอยู่โดยนายทะเบียนราษฎร

ซึ่งผลของการไม่ได้รับการจดทะเบียนการเกิดครบขั้นตอน ก็คือ การตกเป็นคนไร้รัฐ หรือการบันทึกผิดในทะเบียนราษฎร ก็อาจนำไปสู่การเพิ่มถอนชื่อออกจากทะเบียนราษฎรหรือการเปลี่ยนสถานะทางกฎหมายในอนาคต การบันทึกคนต่างด้าวเป็นคนสัญชาติไทย หรือการบันทึกคนสัญชาติไทยเป็นคนต่างด้าวเกิดขึ้นได้ทั้งสองทิศทาง และในหลายกรณีมาจากความผิดพลาดในการทำหนังสือรับรองการคลอด ซึ่งมาตรา ๒๓ แห่ง พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.๒๕๓๔ เรียกว่า "หนังสือรับรองการเกิด" หรือระเบียบตามกฎหมายทะเบียนราษฎร "ท.ร.๑/๑" อันนี้เป็นประเด็นของกฎหมายทะเบียนราษฎรที่เกี่ยวข้องกับชาวสาธารณสุขน่าจะสนใจ ประการแรก

แต่ในแง่ความไม่ผิดพลาด แต่ส่งผลดีงามกับมนุษย์ ก็มี อาทิ การรับรองการคลอด (เกิด) ของโรงพยาบาลทำให้เด็กและอดีตเด็กจำนวนไม่น้อยมีหลักฐานการเกิดในประเทศไทย และเป็นจุดเริ่มต้นของการรักษาโรคไร้รัฐ อาทิ กรณีของน้องบิ๊ก ซึ่งได้รับการรับรองการคลอดโดยโรงพยาบาลระนอง และมารดาซึ่งเป็นแรงงานจากพม่าก็ไม่รู้ความสำคัญของเอกสารนี้จึงไม่ได้รักษาเอาไว้อย่างดี ๑๐ ปีต่อมา นุชเอนจีโอที่รักเด็กตามไปเอกสารและนำมาใช้ในเพิ่มชื่อน้องบิ๊กใน ท.ร.๓๘ ก. นุชหรือปิ่นแก้วช่วยเอาเรื่องของบิ๊กมาแจกกันอ่านหน่อยค่ะ อันนี้ เป็น success story ที่เราควรมาเผยแพร่ ร่วมกัน โรงพยาบาลระนองยังสร้างสุขอีกหลายเรื่องแก่เด็กที่อาจประสบความไร้รัฐอีกหลายกรณี หากไปดูบันทึกของคุณจันทร์กระดาษ หรือ ชาติชาย

กล่าวในวันนี้ก็คือ การรับรองการคลอดโดยโรงพยายาล ซึ่งจะส่งผลให้เด็กได้รับการรับรองจุดเกาะเกี่ยวระหว่างรัฐและเอกชน อันนำไปสู่หน้าที่ตามกฎหมายแก่รัฐเจ้าของตัวบุคคล (Personal State) ของเด็ก ที่จะเพิ่มชื่อเด็กซึ่งเป็นมนุษย์ตัวเล็กในทะเบียนราษฎร หนังสือรับรองการคลอดนี้แหละค่ะที่จะเป็น "วัคซีนป้องกันความไร้รัฐให้แก่เด็ก" อันนี้ รัฐไทยอาจไม่มีหน้าที่เพิ่มเด็กในทะเบียนราษฎรประเภทคนอยู่เพราะเด็กไม่มีสิทธิอาศัย  แต่รัฐที่ต้องทำสูติบัตรให้เด็กอาจจะเป็นรัฐไทยหากเด็กเกิดในไทย ซึ่งไม่หมายความว่า เด็กจะได้สัญชาติไทยหรือสิทธิอาศัยในประเทศไทย

การจดทะเบียนการเกิดสองขั้นตอนหลังนี้ ก็ไม่เกี่ยวข้องกับกระทรวงสาธารณะให้ต้องทำอะไร แต่อาจจะต้องยอมรับผลหากเด็กมามีสถานะผู้ใช้บริการด้านสาธารณสุขในสถานพยาบาลที่ดูแลโดยกระทรวงสาธารณสุข หรือปัญหาหลักประกันสุขภาพที่วันนี้ดูแลโดย สปสช.

อันนี้ ไม่มีความเข้าใจผิดระหว่างนักกฎหมายและผู้เชี่ยวชาญใน สบท. กรุณาอย่าเข้าใจผิด ยิ่งภายหลังการปฏิรูปกฎหมายใน พ.ศ.๒๕๕๑ เรื่องนี้ไม่มีอะไรต้องตีความอีกแล้ว อย่าเข้าใจผิด ที่ยังมีปัญหาในพื้นที่ ก็คือ (๑) ความไม่รู้ (๒) อคติ และ (๓) ความอยากจะทุจริต

เพื่อสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อ.แหววเที่ยวส่งอีเมลล์ถึงคนที่สนใจคุยเรื่องการจดทะเบียนการเกิดมาอีกเพียบค่ะ

หมายเลขบันทึก: 273627เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2009 01:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะอาจารย์แหวว..ขอบพระคุณที่เขียนเรื่องดีดี มีประโยชน์นะคะ หนูเป็นคนไม่ค่อยทราบเรื่องกฏหมาย พอได้มาอ่านบล๊อกอาจารย์แล้วเข้าใจในหลายเรื่อง และได้คิดทบทวนเกี่ยวกับประสบการณ์ในเรื่องการจดทะเบียนการเกิดขึ้นมา..และเรียนถามอาจารย์ในกรณีศึกษาหนึ่งที่จะเล่านี้นะคะ

คนที่รู้จักคนหนึงของหนูแต่งงานมานานไม่มีบุตร และเขาก็ไม่อยากเสียเงินไปทำกิฟหรือทำหัตถการใดๆให้ตนเองได้ตั้งครรภ์แม้ว่าตนเองจะฐานะดีในสังคม แต่ทั้งคู่ก็อยากมีลูกมากๆ จึงบอกหญิงสาวคนหนึ่งที่รู้มาว่าเขาตั้งครรภ์และไม่พร้อมที่จะมีบุตรว่า หากเด็กเกิดมา เขาจะขอไปเลี้ยง ซึ่งเหญิงสาวคนนั้นก็ยินยันและได้รับเงินก้อนหนึ่งในการดูแลตัวเองเพื่อให้ตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ และสัญญาว่าเมื่อคลอดลูกแล้ว จะไม่มายุ่งเกี่ยวกับเด็กและครอบครัวนี้ตลอดไป..ดังนั้นเมื่อเด็กคลอด เขาก็มีวิธีการที่ใส่ชื่อสามีภรรยาคู่นี้เป็นพ่อแม่ของเด็ก เด็กเติบโตขึ้นจนอายุ 10 ปี ก็ได้รู้ความจริงโดยบังเอิญว่าตนไม่ใช่ลูกที่แท้จริงของสามีภรรยาคู่นี้ และพยายามเก็บความรู้สึกและพยายามหาวิธีการตามหาพ่อแม่ที่แท้จริงของตน จนตอนนี้เด็กอายุ 15 ปี และได้รู้ว่าใครคือพ่อแม่ที่แท้จริงของตนเองแล้ว..และเขียนจดหมายไปหาแม่ที่ให้กำเนิด เล่าถึงความรู้สึกที่เขาเก็บไว้ตลอด 5 ปีที่รู้ว่าแม่ที่เลี้ยงดูไม่ใช่แม่ที่แท้จริง และความคิดถึงที่เขามีต่อแม่จริงๆ

ตอนนี้แม่ที่ให้กำเนิดจริงมีฐานะดี อยู่ต่างประเทศ แต่งงานกับฝรั่ง ไม่มีบุตร และคิดถึงลูกตนเองที่ยกให้คนอื่นตลอดเวลา ส่วนพ่อแม่ที่เลี้ยงดู ติดการพนัน มีหนี้สินมากมาย อย่างนี้หากแม่ที่ให้กำเนิดจะรับเด็กมาอยู่ด้วย และเลี้ยงดูจะได้หรือเปล่าคะ

ขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท