พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537(และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2542)


พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537(และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2542)

พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537(และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2542) ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.ให้ไว้ ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 เป็นปีที่ 49 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารของตำบลจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและ ยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537"
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้น ไป
มาตรา 3 ให้ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 326 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515 บรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัติ นี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
"หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น" หมายความว่า เทศบาล สุขาภิบาล และ ราชการส่วนท้องถิ่น อื่นที่มี กฎหมายจัดตั้งขึ้น แต่ไม่รวมถึงองค์การบริหารส่วนจังหวัด
"นายอำเภอ" หมายความรวมถึงปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอด้วย
"ตำบล" หมายความว่า ตำบลตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ที่อยู่ นอกเขตหน่วยการบริหารราช การส่วนท้องถิ่น และในกรณีที่ตำบลใดมีพื้นที่อยู่ทั้งในและนอกเขต หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ให้หมายความ ถึงเฉพาะพื้นที่ที่อยู่นอกเขตหน่วยการบริหาร ราชการส่วนท้องถิ่น
"คณะกรรมการบริหาร" หมายความว่า คณะกรรมการบริหารองค์การบริหาร ส่วนตำบล
"กรรมการบริหาร" หมายความว่า กรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล
มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระ ทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และแต่งตั้งเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการ ตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศที่มีผลเป็นการทั่วไป เมื่อได้ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

หมวด 1 สภาตำบล
มาตรา 6 ในตำบลหนึ่งให้มีสภาตำบลสภาหนึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามพระราช บัญญัตินี้ ให้สภาตำบลมีฐาน เป็น นิติบุคคล

ส่วนที่ 1 สมาชิกสภาตำบล
มาตรา 7 สภาตำบลประกอบด้วยสมาชิกโดยตำแหน่งได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านของทุกหมู่บ้านในตำบล และ แพทย์ประจำตำบล และสมาชิกซึ่งได้รับเลือกตั้งจากราษฎรในแต่ละ หมู่บ้านในตำบลนั้นเป็นสมาชิกสภาตำบล หมู่บ้านละหนึ่งคน
มาตรา 8 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติ ตาม (1) และ (2) และไม่มี ลักษณะต้องห้ามตาม (3) และ (4) ดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทยและมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่ มีการเลือกตั้ง
(2) มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นประจำและมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมาย ว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ในหมู่ บ้านในตำบลนั้นเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสามเดือนจนถึงวัน เลือกตั้ง
(3) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
(4) เป็นคนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
มาตรา 9 ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งต้องเป็น ผู้มีคุณสมบัติตาม (1) และ (2) และไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม (3) ถึง (11) ดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทยและมีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทย ซึ่งบิดาเป็นคน ต่างด้าว ต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกด้วย
(2) มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นประจำและมีชื่อในทะเบียนบ้านตามกฎหมาย ว่าด้วยการทะเบียนราษฎรในหมู่ บ้านในตำบลนั้นเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหกเดือนจนถึงวัน สมัครรับเลือกตั้ง
(3) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
(4) เป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพ วิกลจริต จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ติดยา เสพติดให้โทษ หรือเป็นโรคตาม ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประกาศกำหนดไว้สำหรับ คุณสมบัติของผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะ ปกครองท้องที่
(5) เป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือ พนักงานองค์การของรัฐ
(6) เป็นผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หรือสารวัตรกำนัน
(7) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือ รัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่าทุจริตต่อหน้าที่
(8) เคยถูกผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้ออกจากตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือแพทย์ ประจำตำบลตามพระราช บัญญัตินี้
(9) เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกโดยพ้นโทษมาแล้วไม่ถึง สามปีในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(10) เป็นผู้มีพฤติกรรมในทางทุจริตหรือเสื่อมเสียทางศีลธรรม
(11) เคยถูกผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งหรือสภาตำบลมีมติให้พ้นจากตำแหน่งสมาชิก ซึ่งได้รับเลือกตั้ง เว้นแต่จะพ้น ห้าปีนับแต่วันพ้นจากตำแหน่งจนถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง (ความเดิมในมาตรา 9(1) ถูกยกเลิกและใช้ความใหม่แทนแล้วโดยมาตรา 4 ของ พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การ บริหาร ส่วนตำบล (ฉบับที่ 2 )พ.ศ.2538)
มาตรา 10 ให้นายอำเภอจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กำหนดในระเบียบของกระทรวงมหาดไทย
มาตรา 11 สมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี ีนับแต่วันเลือกตั้ง
ในกรณีที่ สมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งดำรงตำแหน่งครบวาระแล้วแต่ยังมิได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา ตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งขึ้นใหม่ ให้สมาชิกสภาตำบลโดยตำแหน่งปฏิบัติ หน้าที่ได้ต่อไป
มาตรา 12 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ สมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับ เลือกตั้งพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุ ใดเหตุหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) ตาย
(2) ลาออกโดยยื่นหนังสือลาออกต่อนายอำเภอ ในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่าพ้นจาก ตำแหน่งนับแต่วันลาออก
(3) มีการยุบสภาตำบล
(4) เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญากับสภาตำบลที่ตนดำรง ตำแหน่งหรือในกิจการที่กระ ทำให้แก่สภาตำบลนั้น
(5) สภาตำบลมีมติให้พ้นจากตำแหน่งโดยเห็นว่ามีความประพฤติในทางที่จะนำมา ซึ่งความเสื่อมเสียประโยชน์ ของตำบล มติดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของ จำนวนสมาชิกสภาตำบลทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
(6) นายอำเภอสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง เมื่อได้สอบสวนแล้วปรากฏว่าเป็นผู้ขาด คุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม อย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 9 หรือมิได้อยู่ประจำในหมู่บ้านที่ได้ รับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันเกินหกเดือน หรือขาด การประชุมสภาตำบลติดต่อกันสามครั้งโดยไม่มี เหตุผลอันสมควร
(7) ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง เมื่อได้สอบสวนแล้วปรากฏว่า บกพร่องในทางความประพฤติ
(ความเดิมในมาตรา 12(4) ถูกยกเลิกและใช้ความใหม่แทนแล้วโดยมาตรา 3 ของ พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การ บริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542 และความเดิมในวรรณสองของมาตรา 12 ถูกยกเลิกโดยมาตรา 4 ของ พ.ร.บ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542)
มาตรา 13 เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งว่างลงเพราะครบวาระ การดำรงตำแหน่งหรือ มีการยุบสภาตำบล ให้มีการเลือกตั้งภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ครบวาระ หรือวันที่ยุบสภาตำบล แล้วแต่กรณี
มาตรา 14 เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งว่างลงเพราะเหตุอื่นใด นอกจากครบวาระหรือมีการ ยุบสภาตำบล ให้มีการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่างลง เว้นแต่วาระการดำรง ตำแหน่งที่เหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะ ไม่ดำเนินการเลือกตั้งขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างก็ได้
ให้สมาชิกสภาตำบล ผู้ซึ่งได้รับเลือกตั้งแทนนั้นอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าวาระที่ เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
มาตรา 15 เมื่อมีการยุบและรวมเขตหมู่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครอง ท้องที่ให้สมาชิกสภาตำบล ซึ่งได้รับเลือกตั้งของหมู่บ้านเดิมที่ถูกยุบหรือถูกรวมยังคงเป็นสมาชิก สภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งอยู่ต่อ ไปจนกว่าสมาชิก ภาพจะสิ้นสุดลงตามมาตรา 12
เมื่อมีการแยกพื้นที่บางส่วนของหมู่บ้านใดขึ้นเป็นหมู่บ้านใหม่ ให้สมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งของ หมู่บ้านเดิมยังคงเป็นสมาชิกสภาตำบล ซึ่งได้รับเลือกตั้งอยู่ต่อไปจนกว่า สมาชิกภาพจะสิ้นสุดลงตามมาตรา 12 และให้นายอำเภอ จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาตำบล ซึ่งได้รับเลือกตั้งสำหรับหมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อเป็นสมาชิก สภาตำบลที่หมู่บ้าน นั้นอยู่ในเขต ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศตั้งหมู่บ้านใหม่ และให้ผู้ได้รับเลือกตั้งอยู่ ในตำแหน่งเท่ากับ ระยะเวลา ที่เหลืออยู่ของสมาชิกอื่นในตำบลนั้น เว้นแต่วาระการดำรงตำแหน่งที่เหลืออยู่ไม่ถึง หนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่ดำเนินการ เลือกตั้งก็ได้
มาตรา 16 สภาตำบลมีกำนันเป็นประธานสภาตำบล และมีรองประธานสภา ตำบลคนหนึ่งซึ่งนายอำเภอแต่งตั้ง จากสมาชิกสภาตำบลตามมติของสภาตำบล
รองประธานสภาตำบลมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี
รองประธานสภาตำบลพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระการดำรงตำแหน่งตาม วรรคสอง เมื่อ
(1) ลาออกโดยยื่นหนังสือลาออกต่อนายอำเภอ ในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่าพ้นจาก ตำแหน่งนับแต่วันลาออก
(2) พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาตำบลตามมาตรา 12
มาตรา 17 ประธานสภาตำบลเป็นผู้เรียกประชุมสภาตำบล และมีหน้าที ดำเนินการประชุมให้เป็นไปตามข้อ บังคับการประชุมที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
รองประธานสภาตำบลมีหน้าที่กระทำกิจการแทนประธานสภาตำบลเมื่อประธาน สภาตำบลไม่อยู่ในที่ประชุมหรือ ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือตามที่ประธานสภาตำบลมอบหมาย
เมื่อประธานสภาตำบลและรองประธานสภาตำบลไม่อยู่ในที่ประชุม ให้สมาชิก สภาตำบลที่มาประชุมเลือกกันเอง เป็นประธานในการประชุมคราวนั้น
มาตรา 18 ให้มีการประชุมสภาตำบลไม่น้อยกว่าเดือนละหนึ่งครั้ง การประชุมต้องมีสมาชิกสภาตำบลมาประ ชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาตำบลทั้งหมดเท่าที่ มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม
การลงมติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นใน พระราชบัญญัตินี้
สมาชิกสภาตำบลคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมมีสิทธิ ออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา 19 สภาตำบลมีเลขานุการสภาตำบลคนหนึ่งซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการที่ ปฏิบัติงานในตำบลนั้นหรือ จากบุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 8
ให้นายอำเภอเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนเลขานุการสภาตำบลตามมติของสภาตำบล
มาตรา 20 เลขานุการสภาตำบลมีหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการและการจัดการประชุมและงานอื่นใดตามที่สภา ตำบลมอบหมาย
มาตรา 21 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้สมาชิกสภาตำบลและ เลขานุการสภาตำบลเป็นเจ้า พนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

ส่วนที่ 2 อำนาจหน้าที่ของสภาตำบล
มาตรา 22 สภาตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลตามแผนงานโครงการ และงบประมาณของสภาตำบล เสนอแนะส่วนราชการในการบริหารราชการและพัฒนาตำบล ปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตำบลตามกฎหมายว่า ด้วยลักษณะปกครองท้องที่ และหน้าที่อื่น ตามที่กฎหมายกำหนด
มาตรา 23 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย สภาตำบลอาจดำเนินกิจการภายในตำบล ดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
(2) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
(3) จัดให้มีและรักษาทางระบายน้ำ และรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งการ กำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(4) คุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(5) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
(6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และ ผู้พิการ
มาตรา 24 กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และแพทย์ประจำตำบลซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตาม พระราชบัญญัตินี้ ต้องไม่เป็นผู้มี ส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญากับสภาตำบล ที่ตนดำรงตำแหน่งหรือในกิจการที่กระทำให้แก่ สภาตำบลนั้น
ในกรณีที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือแพทย์ประจำตำบลกระทำการฝ่าฝืนตามที่บัญญัติ ในวรรคหนึ่ง ให้ผู้ว่าราช การจังหวัดสั่งให้บุคคลดังกล่าวออกจากตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือ แพทย์ประจำตำบล แล้วแต่กรณี โดยให้ถือว่า เป็นการให้ออกจากตำแหน่งเพราะบกพร่องในทาง ความประพฤติหรือความสามารถไม่เหมาะสมกับตำแหน่งตาม กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครอง ท้องที่
(ความเดิมในมาตรา 24 วรรณหนึ่ง ถูกยกเลิกและใช้ความใหม่แทนแล้วโดยมาตรา 5 ของ พ.ร.บ.สภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542)
มาตรา 25 ในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วย ลักษณะปกครองท้องที่ในส่วน ที่เกี่ยวกับกิจการใดที่กำหนดไว้แล้วในแผนพัฒนาตำบล ให้กำนัน และผู้ใหญ่บ้านดำเนินการให้สอดคล้องกับแผน พัฒนาตำบล
มาตรา 26 ในการจัดทำโครงการหรือแผนงานของส่วนราชการหรือหน่วยงานใด ในพื้นที่ตำบลใด ให้ส่วน ราชการหรือหน่วยงานนั้นคำนึงถึงแผนพัฒนาตำบลนั้นด้วย
มาตรา 27 ในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาตำบล ให้ประธานสภาตำบลเป็น ผู้รับผิดชอบดำเนินกิจการตามมติของ สภาตำบล แต่สภาตำบลอาจมอบหมายให้สมาชิกสภาตำบล ผู้อื่นดำเนินกิจการแทนเฉพาะกรณีได้ ในการทำนิติกรรม ของสภาตำบล ให้ประธานสภาตำบล เลขานุการสภาตำบล และสมาชิกสภาตำบลอีกหนึ่งคนร่วมกันมีอำนาจกระทำการ แทนสภาตำบล ทั้งนี้ ให้เป็นไปตาม ระเบียบของกระทรวงมหาดไทย
มาตรา 28 เมื่อได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัด สภาตำบลอาจทำ กิจการนอกเขตสภาตำบล หรือ ร่วมกับสภาตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วน จังหวัด หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น อื่นเพื่อทำกิจการร่วมกันได้เมื่อได้รับความ ยินยอมจากสภาตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือหน่วยการบริหาร ราชการส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง และกิจการนั้นเป็นกิจการที่จำเป็นต้องทำและเป็นการเกี่ยว เนื่องกับ กิจการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตน

ส่วนที่ 3 รายได้และรายจ่ายของสภาตำบล
มาตรา 29 สภาตำบลมีรายได้ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดสรรให้ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงมหาดไทย กำหนด ดังต่อไปนี้
(1) ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย อากรการฆ่าสัตว์และ ผลประโยชน์อื่นอันเกิดจากการฆ่า สัตว์ที่จัดเก็บได้ในตำบลนั้น
(2) ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับ ตามที่จะมีกฎหมายกำหนดไว้ที่ จัดเก็บได้ในตำบลนั้น
(3) ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตการพนันตามกฎหมายว่าด้วยการพนันที่เก็บเพิ่มขึ้น ตามข้อบัญญัติจังหวัดในเขต ตำบลนั้น
(4) ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดได้รับ จัดสรร
(5) ภาษีสุรา และภาษีสรรพสามิต ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดได้รับจัดสรร
(6) ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อน ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดได้รับจัดสรร
มาตรา 30 ทุกปีงบประมาณให้รัฐบาลจัดสรรเงินให้แก่สภาตำบลเป็นเงินอุดหนุน
มาตรา 31 สภาตำบลอาจมีรายได้ ดังต่อไปนี้
(1) รายได้จากทรัพย์สินของสภาตำบล
(2) รายได้จากสาธารณูปโภคของสภาตำบล
(3) เงินและทรัพย์สินอื่นที่มีผู้อุทิศให้
(4) เงินอุดหนุนและรายได้อื่นตามที่รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐจัดสรรให้
(5) รายได้อื่นตามที่จะมีกฎหมายกำหนดให้เป็นของสภาตำบล
มาตรา 32 รายได้ของสภาตำบล ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามประมวล รัษฎากร และไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
มาตรา 33 สภาตำบลอาจมีรายจ่าย ดังต่อไปนี้
(1) เงินเดือน
(2) ค่าจ้าง
(3) เงินค่าตอบแทนอื่น ๆ
(4) ค่าใช้สอย
(5) ค่าวัสดุ
(6) ค่าครุภัณฑ์
(7) ค่าที่ดิน สิ่งก่อสร้าง และทรัพย์สินอื่น ๆ
(8) ค่าสาธารณูปโภค
(9) เงินอุดหนุนหน่วยงานอื่น
(10) รายจ่ายอื่นใดตามข้อผูกพัน หรือตามที่มีกฎหมายหรือระเบียบของกระทรวง มหาดไทยกำหนดไว้
มาตรา 34 เงินค่าตอบแทนประธานสภาตำบล รองประธานสภาตำบล สมาชิกสภาตำบลและเลขานุการ สภาตำบล ให้เป็นไปตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทย
มาตรา 35 งบประมาณรายจ่ายประจำปีและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมของสภาตำบลให้จัดทำเป็นข้อบังคับ ตามระเบียบและวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
ถ้าในระหว่างปีงบประมาณใด รายจ่ายซึ่งกำหนดไว้ในงบประมาณไม่พอใช้จ่ายประจำปีนั้น หรือมีความจำเป็น ต้องตั้งรายจ่ายขึ้นใหม่ระหว่างปีงบประมาณให้จัดทำข้อบังคับ งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม เมื่อสภาตำบลจัดทำร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม เสร็จแล้ว ให้เสนอนายอำเภอเพื่ออนุมัติ
ถ้าข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำปีออกไม่ทันปีใหม่ ให้ใช้ข้อบังคับ งบประมาณรายจ่ายประจำปีก่อนนั้นไป พลางก่อน
มาตรา 36 ให้กระทรวงมหาดไทยออกระเบียบว่าด้วยการคลัง การงบประมาณ การรักษาทรัพย์สิน การจัดหา ผลประโยชน์จากทรัพย์สิน การจัดหาพัสดุและการจ้างเหมา
กระทรวงมหาดไทยจะออกระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินงานอื่น ๆ ของสภาตำบล ให้สภาตำบลต้องปฏิบัติด้วย ก็ได้ ในการออกระเบียบตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้คำนึงถึงลักษณะของพื้นที่ จำนวนประชากร รายได้ ความคล่องตัว และความมีประสิทธิภาพในการบริหารงานของสภาตำบล ด้วย
มาตรา 37 ให้กระทรวงมหาดไทยจัดให้มีการตรวจสอบการคลัง การบัญชี หรือ การเงินอื่น ๆ ของสภาตำบล

ส่วนที่ 4 การกำกับดูแลสภาตำบล
มาตรา 38 นายอำเภอมีอำนาจกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของสภาตำบลให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการ
ในกรณีที่ปรากฏว่าการดำเนินการของสภาตำบลเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายก่อหรืออาจก่อให้เกิดความ เสียหายแก่ทางราชการ หรือไม่เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของทางราชการ นายอำเภอมีอำนาจยับยั้งการดำเนิน การดังกล่าวไว้เป็นการชั่วคราวได้และรายงานไปยัง ผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อวินิจฉัย
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่าการดำเนินการของสภาตำบลไม่ชอบด้วยกฎหมายก่อหรืออาจก่อให้เกิด ความเสียหายแก่ทางราชการ หรือไม่เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของทางราชการ ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งการ ให้สภาตำบลระงับการดำเนินการดังกล่าว
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่าการดำเนินการของสภาตำบลเป็นไปโดยชอบแล้ว ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด สั่งเพิกถอนการยับยั้งของนายอำเภอ แต่ถ้านายอำเภอไม่รายงานผู้ว่า ราชการจังหวัดภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ยับยั้ง หรือผู้ว่าราชการจังหวัดไม่วินิจฉัยภายในสามสิบ วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง ให้การยับยั้งของนายอำเภอและอำนาจ สั่งการของผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น อันสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ครบกำหนดเวลาดังกล่าว
มาตรา 39 หากปรากฏว่าสภาตำบลกระทำการฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือ สวัสดิภาพของประชาชน หรือ ละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจสั่งยุบสภาตำบลได้ตามคำเสนอ แนะของนายอำเภอ และเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัด สั่งยุบสภาตำบลแล้วให้สภาตำบลยังคงประกอบด้วยสมาชิกสภาตำบล โดยตำแหน่งทั้งหมดจนกว่า จะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งใหม่
ในกรณีที่การยุบสภาตำบลตามวรรคหนึ่งเป็นผลจากการกระทำของกำนัน ผู้ใหญ่ บ้าน หรือแพทย์ประจำตำบล ซึ่งเป็นสมาชิกสภาตำบลโดยตำแหน่ง หรือบุคคลดังกล่าวได้ร่วมกระทำการด้วย ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้บุคคลดัง กล่าวออกจากตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือ แพทย์ประจำตำบล แล้วแต่กรณีโดยให้ถือว่าเป็นการให้ออกจาก ตำแหน่งเพราะบกพร่องในทาง ความประพฤติหรือความสามารถไม่เหมาะสมกับตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะ ปกครอง ท้องที่ และถ้าสมาชิกสภาตำบลโดยตำแหน่งเหลืออยู่ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของสมาชิกสภาตำบลโดย ตำแหน่งทั้งหมด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งบุคคลตามจำนวนที่เห็นสมควรเข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่ กับสมาชิกสภาตำบลโดยตำแหน่งที่ เหลืออยู่จนกว่าจะมีการเลือกตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือแพทย์ ประจำตำบลและสมาชิกสภาตำบลซึ่งได้รับเลือกตั้งใหม่

หมวด 2 องค์การบริหารส่วนตำบล
มาตรา 40 สภาตำบลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมา ติดต่อกันสามปีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ปีละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทหรือตามเกณฑ์รายได้เฉลี่ยในวรรคสอง อาจจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ โดยทำเป็น ประกาศของกระทรวงมหาดไทยและให้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในประกาศนั้นให้ระบุชื่อและเขตของ องค์การบริหารส่วนตำบลไว้ด้วย
การเปลี่ยนแปลงเกณฑ์รายได้เฉลี่ยของสภาตำบลตามวรรคหนึ่ง ให้ทำเป็นประกาศของกระทรวงมหาดไทย และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 41 สภาตำบลที่ได้จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตามมาตรา 40 ให้พ้นจากสภาพแห่งสภาตำบลนับ แต่วันที่ได้ประกาศจัดตั้งขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้นไป บรรดางบประมาณ ทรัพย์สิน สิทธิ สิทธิเรียกร้อง หนี้ และเจ้าหน้าที่ของสภา ตำบลตามวรรคหนึ่ง ให้โอนไปเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบล
มาตรา 41 ทวิ สภาตำบลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลอาจรวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีเขตติดต่อกัน ภายในเขตอำเภอเดียวกันได้ตามเจตนารมณ์ของประชาชนในเขต ตำบลนั้น โดยให้นำมาตรา 40 และมาตรา 41 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 41 ตรี สภาตำบลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลอาจรวมกับหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่มี เขตติดต่อกันภายในเขตอำเภอเดียวกันได้ตามเจตนารมณ์ของ ประชาชนในเขตตำบลนั้น โดยตราเป็น พระราชกฤษฎีกาและให้กำหนดเขตใหม่ของหน่วย การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นไว้ในพระราชกฤษฎีกาด้วย
ให้นำมาตรา 41 และมาตรา 42 วรรคสองและวรรคสามมาใช้บังคับกับการ รวมตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม
มาตรา 41 จัตวา องค์การบริหารส่วนตำบลใดมีจำนวนประชากรทั้งหมดไม่ถึง สองพันคน ทั้งเป็นเหตุทำให้ ไม่สามารถที่จะดำเนินการบริหารงานพื้นที่นั้นให้มีประสิทธิภาพใน ลักษณะขององค์การบริหารส่วนตำบลได้ให้ กระทรวงมหาดไทยประกาศยุบองค์การบริหารส่วน ตำบลดังกล่าว โดยให้รวมพื้นที่เข้ากับองค์การบริหารส่วนตำบล อื่นที่มีเขตติดต่อกันภายในเขต อำเภอเดียวกัน หรือให้ตราพระราชกฤษฎีกายุบองค์การบริหารส่วนตำบลดังกล่าว โดยให้รวม พื้นที่เข้ากับหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่มีเขตติดต่อกันภายในเขตอำเภอเดียวกันตาม เจตนารมณ์ของประชาชนในเขตตำบลนั้น ทั้งนี้ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุดังกล่าว
ให้นำมาตรา 41 และมาตรา 42 วรรคสองและวรรคสามมาใช้บังคับกับการยุบและ รวมองค์การบริหารส่วน ตำบล หรือการยุบและรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับหน่วยการบริหาร ราชการส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม
(มาตรา 41 ทวิ มาตรา 41 ตรี และมาตรา 41 จัตวา เพิ่มเติมโดยมาตรา 6 ของ พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การ บริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542)
มาตรา 42 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการเทศบาล อาจจัดตั้งองค์การ บริหารส่วนตำบลขึ้นเป็นเทศบาล ได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
องค์การบริหารส่วนตำบลที่ได้จัดตั้งเป็นเทศบาลตามวรรคหนึ่ง ให้พ้นจากสภาพแห่งองค์การบริหารส่วนตำบล นับแต่วันที่ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้นเป็นเทศบาล เป็นต้นไป
บรรดางบประมาณ ทรัพย์สิน สิทธิ สิทธิเรียกร้อง หนี้ พนักงานส่วนตำบล และ ลูกจ้างขององค์การบริหารส่วน ตำบลตามวรรคหนึ่ง ให้โอนไปเป็นของเทศบาลที่จัดตั้งขึ้นนั้น
บรรดาข้อบังคับตำบลที่ได้ใช้บังคับในเรื่องใดอยู่ก่อนแล้ว ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อ ไปเป็นการชั่วคราวจนกว่า จะได้มีการตราเทศบัญญัติในเรื่องนั้นขึ้นใหม่
มาตรา 43 องค์การบริหารส่วนตำบลมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหาร ส่วนท้องถิ่น
มาตรา 44 องค์การบริหารส่วนตำบลประกอบด้วยสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และคณะกรรมการบริหาร องค์การบริหารส่วนตำบล

ส่วนที่ 1 สภาองค์การบริหารส่วนตำบล
มาตรา 45 สภาองค์การบริหารส่วนตำบลประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การ บริหารส่วนตำบล จำนวนหมู่บ้านละสองคน ซึ่งเลือกตั้งขึ้นโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละ หมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น
ในการที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลใดมีเพียงหนึ่งหมู่บ้านให้สภาองค์การ บริหารส่วนตำบลนั้นประกอบด้วย สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวนหกคน และในกรณีที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลใดมีเพียงสองหมู่บ้าน ให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นประกอบ ด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวนหมู่บ้านละสามคน
หลักเกณฑ์และวิธีการสมัครรับเลือกตั้งและการเลือกตั้งให้เป็นไปตามกฎหมาย ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภา ท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
อายุของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีกำหนดคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง
(ความเดิมในมาตรา 45 ถูกยกเลิกและใช้ความใหม่แทนแล้วโดยมาตรา 7 ของพ.ร.บ.สถาตำบลและองค์การบริหาร ส่วนตำบล(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542)
มาตรา 46 สภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาตำบลเพื่อเป็นแนวทางในการบริหารกิจการของ องค์การบริหารส่วนตำบล
(2) พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างข้อบังคับตำบล ร่างข้อบังคับงบประมาณ รายจ่ายประจำปี และร่างข้อบังคับงบ ประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
(3) ควบคุมการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหารให้เป็นไปตามนโยบายและ แผนพัฒนาตำบลตาม (1) และกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ
มาตรา 47 ให้นำบทบัญญัติมาตรา 8 มาตรา 13 มาตรา 14 และมาตรา 15 มาใช้บังคับกับผู

หมายเลขบันทึก: 273421เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2009 10:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 12:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท