โครงสร้างองค์การบริหารส่วนตำบล


โครงสร้างองค์การบริหารส่วนตำบล

อบต.

มีฐานะเป็นนิติบุคคล
และเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น (ม.43)

สภา อบต. (ม.45)
- ประกอบด้วยสมาชิกสภา อบต. หมู่บ้านละ 2 คน ถ้า อบต. ใดมี 2 หมู่บ้าน ๆ ละ 3 คน : ถ้ามี 1 หมู่บ้าน 6 คน มีอายุคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง
- มีประธาน อบต. 1 คน รองประธานสภา อบต. 1 คน ซึ่งสภาเลือกจากสมาชิกให้นายอำเภอแต่งตั้ง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปีและมีเลขานุการสภา อบต. 1 คน ซึ่งเลือกจากสมาชิก

สำเนาหน้าที่ (ม.46)
1. ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนา อบต. เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารกิจการ ขององค์การบริหารส่วนตำบล
2. พิจารณา และให้ความเห็นชอบในร่างข้อบังคับตำบล ร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่าย รายปี และร่างข้อบังคับงบประมาณ รายจ่ายเพิ่มเติม
3. ควบคุมการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหาร ให้เป็นไปตามนโยบาย และแผนพัฒนาตำบล ข้อ 1 และกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของทางราชการ

คณะกรรมการบริหาร อบต. (ม.58)
- ประกอบด้วย ประธานกรรมการบริหาร 1 คน กรรมการบริหาร 2 คน ซึ่งสภาเลือกจากสมาชิก เสนอให้นายอำเภอแต่งตั้ง มีวาระการดำรงตำแหน่ง ตามอายุของสภา อบต.

สำนำเหน้าที่ (ม.59)
1. บริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบล ให้เป็นไปตามมติ ข้อบังคับและแผนพัฒนาตำบล และรับผิดชอบ การบริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบล ต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
2. จัดทำแผนพัฒนาตำบล และงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อเสนอให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบล พิจารณาให้ความเห็นชอบ
3. ขายงานการปฏิบัติงาน และการใช้จ่ายเงินให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ทราบอย่างน้อยปีละสองครั้ง
4. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

พนักงานส่วนตำบล (ม.72)
- คือบุคคลซึ่งได้รับการบรรจุ และแต่งตั้งตามพระราชกฤษฎีการะเบียบพนักงานส่วนตำบล พ.ศ. 2539 ให้ปฏิบัติหน้าที่ใน องค์การบริหารส่วนตำบล โดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือน ขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามกรอบอัตรากำลังดังนี้
: อบต. ชั้น 1 = 21 ตำแหน่ง : อบต. ชั้น 2 = 12 ตำแหน่ง
: อบต. ชั้น 3 = 6 ตำแหน่ง : อบต. ชั้น 4 = 4 ตำแหน่ง
: อบต. ชั้น 5 = 3 ตำแหน่ง
- อบต. ทุกชั้นอย่างน้อย จะมีตำแหน่งปลัด อบต. 1 ตำแหน่ง หัวหน้าส่วนโยธา 1 ตำแหน่ง และหัวหน้าส่วนการคลัง 1 ตำแหน่ง

ประชาชนในเขต อบต. มีสิทธิและหน้าที่ดังนี้

1. มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา อบต.

7. มีหน้าที่ไปเลือกตั้งสมาชิกสภา อบต.

2. ถอดถอนสมาชิกหรือผู้บริหาร อบต.

8. ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับตำบล

3. เสนอให้ออกข้อบังคับตำบล

9. เสียภาษีแก่ อบต.

4. แสดงเจตนารมณ์ในการรวม อบต.

10. สนับสนุนและร่วมกิจกรรมกับ อบต.

5. เข้าฟังการประชุมสภา อบต.

11. ติดตามและดูแลการใช้จ่ายงบประมาณของ อบต.

6. เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการการซื้อ การจ้าง โดยวิธีสอบราคา ประกวดราคา และวิธีพิเศษของ อบต. อย่างน้อยคณะละ 2 คน

12. ร่วมกันเสริมสร้างชุมชน และประชาคมหมู่บ้าน ของตนให้เข้มแข็ง

 

13. ได้รับบริการสาธารณะ และการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข จาก อบต. ตามอำนาจหน้าที่ของ อบต.


หมายเหตุ

  1. โครงสร้างนี้ใช้ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2542 เป็นต้นไป
  2. อบต. ที่จัดตั้งในปี 2540 ยังใช้โครงสร้างเดิมไปจนกว่าจะครบวาระในวันที่ 11 พฤษภาคม 2544

 

หมายเลขบันทึก: 273419เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2009 10:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 14:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท