ประวัติและประเพณีปฏิบัติ เทศกาลทะนะบะตะ ( たなばたまつり)เทศกาลแห่งดวงดาวของชาวญี่ปุ่น


ประวัติและประเพณีปฏิบัติ

            ถ้าท่านมองดูท้องฟ้าในช่วงเดือนกรกฎาคม(ดูร้อนของญี่ปุ่น)
จะเห็นดวงดาว 2 ดวงส่องแสงเป็นประกายวาววับอยู่ที่ปลายแต่ละด้านของทางช้างเผือก
อันเป็นที่มาของเทศกาลทะนะบะตะ- เทศกาลแห่งดวงดาวของชาวญี่ปุ่น
                                                                        
                          

            ทะนะบะตะเป็นเทศกาลดวงดาวที่มีตำนานเล่าขานกันมาจากประเทศจีนตั้งแต่
โบราณกาล กล่าวกันว่ามีดาวดวงหนึ่งเป็นดาวเจ้าหญิงทอ
ผ้าชื่อโอะริฮิเมะ ได้มีความรักอยู่กับ
ดาวอีกดวงหนึ่งซึ่งเป็นชายเลี้ยงวัวชื่อ
ฮิโกะโบะชิ ปรากฏว่าดาวเจ้าหญิงมัวเพลิดเพลินกับ
คนรักจนละเลยงานทอผ้า  เป็นเหตุให้เจ้าแห่งสวรรค์ทรงพิโรธ จึงลงโทษดาวเจ้าหญิงโดย
พากลับไปบนสวรรค์และอนุญาตให้ดาวทั้งสองพบกันได้ปีละหนึ่งครั้งบนทางช้างเผือก
(
AMANOKAWA)                                                                 
          
ในตอนเย็นวันที่ 7 กรกฎาคม จะมีการสวดอ้อนวอนขอให้ดาวทั้งสองได้พบกันอย่างมี
ความสุข  โดยแขวนแถบกระดาษหลากสีที่เรียกกันว่า ทันซาคุ (
たんざく= TANZAKU)
ตามปรกติจะใช้กัน 5 สี และประดับประดาด้วยพวงกระดาษที่เปรียบเสมือนทางช้างเผือก
บนกิ่งไผ่และจัดตั้งไว้ที่ในสวนหรือหน้าบ้าน
            
           
 งานเทศกาลทะนะบะตะนั้นจะถือเป็นโอกาสขับไล่สิ่งที่ไม่ดีออกไปจากตัว จึงมีการเขียน
ขอพรต่อเทพเทวดา ให้มีความสุขปราศจากสิ่งที่ร้ายๆ หรือโรคภัยไข้เจ็บทั้งปวงบนกระดาษ
แล้วนำมาติดกับก้านใบของต้นไผ่ (
竹:たけ=TAKE “ทะเขะ”) ใช้ประดับบ้านหรือ
ตกแต่งตามที่ต่างๆให้สวยงาม  แต่สมัยปัจจุบัน
พวกเด็กๆ จะเขียนคำขอต่างๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่
ก็ขอให้เรียนสำเร็จ  หลังจากเทศกาลนี้ผ่านไปก็จะนำกิ่งไผ่ไปลอยในแม่น้ำเพราะเชื่อกันว่าการ
ปฏิบัติเช่นนี้จะนำความสุขมาให้แก่ครอบครัว
                           
                                                                                             
           
  * たなばた* มีความหมายถึงผู้หญิงทอผ้า  เทศกาลแห่งดวงดาวนี้มีความเกี่ยวพันกับ
ดวงดาวเจ้าหญิงทอผ้าจึงได้ชื่อว่า เทศกาลทะนะบะตะ
( たなばたまつり=
TANABATA  MATSURI )
                                                     เนื้อเพลง.....  

 

(1) ささのは  さらさら      (2)   ごしきの  たんざく

      のきばに  ゆれる            わたしが  かいた

      おほしさま きらきら                 おほしさま きらきら

      きんぎん  すなご              そらから  みてる

 

      สำหรับกิจกรรมที่ฝ่ายภาษาญี่ปุ่น  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม
  จัดขึ้นในเทศกาลทะนะบะตะนั้น จะมีการประยุกต์รูปแบบ
ให้มีความหลากหลายเพื่อเสริมสร้างความรู้และประสบการณ์
 
เช่นนำเสนอตำนานของ
เทศกาลด้วยการแสดงประกอบการเล่าเรื่อง  การจัดบอร์ดนิทรรศการ  การตกแต่งต้นไผ่เพื่อ
การเขียนขอพรและนำต้นไผ่ไปลอยน้ำตามประเพณี  การร้องเพลงหมู่  การเต้นประกอบเพลง
ญี่ปุ่น  และการฝึกทำตุ๊กตาไล่ฝน ฯลฯ  มีนักเรียนสนใจเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 1500 คนเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนได้เรียนรู้กับประเพณีและวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่น

           

         

          

 

 

หมายเลขบันทึก: 272906เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2009 20:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 06:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อุ้ย ยย

0---0

อาจาร์คร่ะ

ทามไม่เจ้าหญิงทอผ้า

สวยขนาดนี้อ่ะคร่ะ

อิอิ

หนูฝ้ายจ๊ะ
  * เรื่องความสวย-ความงาม มันห้ามกันไม่ได้หร็อก....,มันเป็นเรื่องของธรรมชาติอ้ะ....!
 * เคยสังเกตบ้างละปล่าวว่า นักเรียนแผนการเรียนภาษาญี่ปุ่นหน้าตาดูดีกันทุกคนเลยง่ะ ! Hu Hu Hu Hu Hu !
            

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท