K II
มังกรนิทรา- คนเก่งฟ้าประทาน

ค่าทางสถิติบางตัวที่เป็นประโยชน์ในทางวิทยาการระบาด


ค่าทางสถิติบางตัวที่เป็นประโยชน์ในทางวิทยาการระบาด

 

ค่าทางสถิติบางตัวที่เป็นประโยชน์ในทางวิทยาการระบาด

ระดับของการวัดของตัวแปร

 ระดับของการวัดของตัวแปร จะเป็นตัวบ่งชี้ว่า จะใช้สถิติตัวใด ที่เหมาะสมในการศึกษาตัวแปรนั้นๆ  แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท

  • 1. การวัดแบบมาตรนามหรือนามบัญญัติ (Nominal scale)

เป็นการวัดแบบแบ่งกลุ่มโดยใช้ชื่อตัวแปรในการศึกษา โดยหลักเกณฑ์กว้างๆ ของลักษณะของลักษณะของตัวแปร ที่ทำการศึกษา แล้วจัดกลุ่มที่มีลักษณะหรือคุณสมบัติ เหมือนกันไว้ในกลุ่มเดียวกัน เช่น  

การแบ่งกลุ่มโดยใช้เพศ  -ตัวผู้/ตัวเมีย

ศาสนา    -  พุทธ  คริสต์ อิสลาม ฯลฯ 

ระบบการเลี้ยงสัตว์  -   ระบบปิด   ระบบเปิด

  • 2. การวัดแบบมาตราเชิงอันดับ (Ordinal scale)

 ตัวแปรสามารถจัดอันดับสูง กลาง ต่ำ ได้โดยการเรียงลำดับอาจอาศัยเกณฑ์ใดเกณฑ์ ใดเกณฑ์หนึ่ง   เช่น  ความสูง  ต่ำ ความสวย  ความฉลาด ขนาดใหญ่ เล็ก เป็นต้น  ซึ่งการเปรียบเทียบจะสามารถบอกความแตกต่างในเชิงคุณลักษณะ  แต่ไม่สามารถบอกปริมาณความแตกต่างในแต่ละอันดับได้

เช่น         ขนาดของฟาร์ม -เล็ก  กลาง   ใหญ่

                 ความสวย  - สวยน้อย  สวยปานกลาง  สวยมาก

  • 3. การวัดมาตรเชิงอันตรภาค (Interval scale)

เป็นการการวัดที่มีคุณสมบัติที่วัดระดับช่วง ทำให้ความห่างระหว่างช่อง เท่าๆกัน มีการกำหนดค่าที่เป็นสัญลักษณ์  ซึ่งสามารถนำมาคำนวณและบอกความแตกต่างได้ 

  • 4. การวัดมาตรเชิงอัตราส่วน (Ratio scale)

เป็นการวัดที่มีคุณสมบัติของการวัดข้อมูลเชิงปริมาณ   มีลักษณะคล้ายกับมาตราเชิงอัตราภาค  แต่มีข้อแตกต่าง คือ มีจุดเริ่มต้น ตามธรรมชาติ เช่น ความยาว น้ำหนัก ส่วนสูง  เป็นต้น

ค่าสถิติ บางตัวที่ใช้ในทางวิทยาการระบาด

1.  การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง

ก. ค่ามัชฌิมเลขคณิต เป็นค่าเฉลี่ยอย่างง่ายของกลุ่มที่เราสังเกต หาได้จากผลรวมของสิ่งที่เราสังเกตทั้งหมด หารด้วยจำนวนที่เราสังเกต

                X = E Xi 

                          N 

เช่น        4 , 5  ,9  ,1 , 2

                ค่าเฉลี่ย =  4+5+9+1+2   =  4.2

                                          5

ข.  มัธยฐาน (Median)    หมายถึง  ค่ากลางของสิ่งที่เราสังเกต เมื่อนำสิ่งที่เราสังเกตมาเรียงลำดับจากน้อย ไปหา มาก มีวีธีการหาได้ดังนี้

                 1, 2 ,4, 5 ,9            ค่ามัธยฐาน คือ 4

                 1, 2 ,2 ,4, 5, 9       ค่ามัธยฐาน คือ 2+4  = 3

                                                                    2

ค. ฐานนิยม (Mode)  ค่าที่มีความถี่มากที่สุดในกลุ่มของค่ที่เราสังเกตในข้อมูล ชุดหนึ่งอาจมีค่าฐานนิยมหลายค่าก็ได้

                1, 2 ,2 ,4, 5, 9

ฐานนิยม = 2  

ง.. มัชฌิมเรขาคณิต (Geometric mean)  เป็นค่านิยมที่ใช้ในทางซีรั่มวิทยา ซึ่ง titer มักถูกทำให้เจือจางลงทีละครึ่ง เช่น 1/20 , 1/40 ,1/80  เป็นต้น  เมื่อตัวส่วนที่เพิ่มขึ้นโดยการคุณด้วยค่าคงที่ ค่า Logarithm  ของค่าเหล่านี้จะมีความแตกต่างที่คงที่ด้วย  เมื่อนำค่า Logarithm ของค่า titer  มาทำเป็นกราฟ จะทำให้กราฟมีลักษณะการกระจายปกติ 

ตัวอย่าง     1/20 , 1/40 ,1/80 ,  1/240

Log 20 = 1.3010

Log 40 = 1.6021

Log 80 = 1.9031

 

2. การวัดการกระจาย (Measure of Variability)

ก. พิสัย  (Range)  เป็นการวัดการกระจาย ของข้อมูลอย่างง่ายๆ เป็นค่าความแตกต่างของข้อมูล ที่มีค่าสูงสุด กับข้อมูลที่มีค่าที่สุด ดังนั้น จึงมีข้อเสีย คือ ใช้เฉพาะข้อมูลต่ำสุก และสูงสุดเท่านั้นไม่ได้ใช้ข้อมูลทั้งหมด

 ข. ความแปรปรวน (Variance )

เป็นผลรวม ของกำลังสอง ของผล ต่างระหว่าง ค่าที่สังเกตกับค่ามัชฌิมเลขคณิต หาร ด้วย จำนวนที่สังเกตลบด้วย 1

Variance (S 2 ) =  E (X1-X)2

                                     N -1

                          = N EX2 - (E X) 2

                                     N(n-1)

ค. ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)

เป็นค่ารากกำลังสอง ของค่าความแปนปรวน ดังนั้น สูตรการคำนวณจึงใช้วิธีการเดียวกัน 

 

ง. ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard error of the arithmetic mean ) ของค่ามัชฌิมเลขคณิต   เป็นค่าเบี่ยยงเบนมาตรฐาน หารด้วย  รากกำลังสองของจำนวนข้อมูลที่เราสังเกต

  

ความน่าจะเป็น

                คำจำกัดความ ถ้าเราทำวีธีการใดวิธีการหนึ่ง ที่ให้ผลออกมาทั้งหมด เป็น  n  แล้วโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ A เท่ากับ nA

ดังนั้น ความน่าจะเป็น ของ เหตุการณ์ A = nA/n

ยกตัวอย่าง  เช่น  เมื่อเราโยนเหรียญ หรือปั่นเหรียญอันหนึ่งลงบนพื้น

                                โอกาสที่จะออกหัว= 0.5

                                โอกาสที่จะออกก้อย = 0.5

                ถ้าเราดึงไพ่ออกมาจากสำรับหนึ่ง ที่มี 52 ใบ

                โอกาสที่จะได้ไพ่โพธิ์ดำ = 13/52 = 1/4   = 0.25

                 โอกาสที่จะได้ไพ่ A โพธิ์ดำ = 1/52

การทดสอบไค-สแควร์  (Chi-square test) X2

ในทางวิทยาการะบาด ค่าทางสถิติที่มีการใช้มากที่สุด คือ การทดสอบไค-สแควร์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว เพื่อจุดประสงค์ดังต่อไปนี้

1.เพื่อทดลอง ว่าอัตราที่เราทดสอบมีความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญ จากอัตราที่ตั้งไว้ใน สมมติฐานหรือไม่

2. เพื่อทดสอบว่าอัตรา  2 อัตรา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ หรือ ไม่

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 272890เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2009 19:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 02:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท