การดูแลทางด้านสาธารณสุขเบื้องต้น(ระดับปฐมภูมิ)ที่อังกฤษ และ ฟินแลนด์


จากการดูงานอาจกล่าวได้โดยสรุปว่าทั้ง2ประเทศพึ่งระบบPrimary health care มากกล่าวคือ 90 %ของการดูแลสุขภาพของประชาชนอยู่ที่การป้องกัน สร้างเสริมสุขภาพ การดูแลการเจ็บป่วยเล็กๆน้อย เท่านั้น ซึ่งงาน90% นี้ขึ้นอยู่กับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป(General practisioner หรือ GP.),พยาบาล และ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขต่างๆบ้านเราพยายามมีระบบ GP แต่ยังทำไม่ครบวงจร ถ้าจะทำให้มีประสิทธิภาพ จะต้องทำคล้ายๆระบบอังกฤษ ฟินแลนด์ คือ ประชาชนทุกคนต้องไปขึ้นทะเบียนกับแพทย์ GPท่านหนึ่งท่านใด เงินเดือน GPต้องดีพอ แต่ปัจจุบันนี้ GPของเราได้เงินเดือนเท่าแพทย์อื่น ถ้าทำราชการ และ ต้องไปหารายได้พิเศษเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ป่วยมักชอบไปหาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมากกว่า

              บทความนี้ ผมในฐานะ แพทย์จุฬาฯ รุ่น 30 ลูกศิษย์ ท่านอาจารย์ พินิจ กุลละวณิชย์ เคยรับฟัง ท่าน สอน เกี่ยวกับโรคทางเดินอาหาร เมื่อมาได้พบ เรื่อง "เวชปฏิบัติทั่วไป"จากหนังสือพิมพ์ มติชน ที่ท่านไปดูงานมา จึง ขออนุญาต นำมาเผยแพร่ โดยยังไม่ ได้ติดต่อขอจาก ท่าน แต่ คาดว่า ท่านอาจารย์คงไม่ว่า อะไร เพราะ ว่าเป็นบทความที่เป็นประโยชน์ต่อวงการสาธารณสุขของประเทศ และ เกี่ยวข้องกับงานที่ผมรับผิดชอบ ในตำแหน่งหัวหน้า งาน "เวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน" อยู่ จึงได้นำมาเผยแพร่ ให้ผู้เข้ามาในเวบบล็อค เวชศาสตร์ครอบครัว และ ชุมชน ได้ทราบว่าในประเทศ อังกฤษ และ  ฟินแลนด์ ก็นำการดูแลระดับปฐมภูมิ มาใช้ได้ผล

              หัวข้อ "แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป "ในคอลัมภ์ ส่องโลกส่องสุขภาพ กับ แพทยสภา จาก น.ส.พ.มติชน วันศุกร์ ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2548 มีใจความดังนี้

              เมื่อเร็วๆนี้ ผมได้เดินทางไปดูงานทางด้าน Primary health care หรือ การดูแลทางด้านสาธารณสุขเบื้องต้น(ระดับปฐมภูมิ)ที่อังกฤษ และ ฟินแลนด์ กับ กรรมการบริหารของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. หรือ โครงการ”30บาท”จริงๆแล้ว  ผมไม่ได้เป็นกรรมการบริหารของ สปสช.แต่ท่าน นายกแพทยสภา ศ.เกียรติคุณ น.พ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา เป็น แต่ท่านไปไม่ได้เลยให้ผมไปแทนในนามของแพทยสภา

              จาการดูงานอาจกล่าวได้โดยสรุปว่าทั้ง 2 ประเทศ พึ่งระบบ Primary health care มาก กล่าวคือ 90% ของการดูแลสุขภาพของประชาชนจะอยู่ที่การป้องกัน สร้างเสริมสุขภาพ การดูแลการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ เท่านั้น ซึ่งงาน 90% นี้จะขึ้นอยู่กับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป(General practisioner หรือ GP.), พยาบาล และ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขต่างๆ

              ประชาชนทุกคนถ้ามีปัญหาทางด้านสุขภาพจะต้องไปหา GPถ้า GPแก้ปัญหาไม่ได้จึงจะส่งต่อไปให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในโรงพยาบาล ประชาชนทุกๆ คนจะต้องขึ้นทะเบียนไว้กับ GP ฉะนั้น แพทย์ GP1คนจะมีผู้ป่วยหรือ ประชาชนประจำเป็นพันคน

              การทำงานของระบบ Primary health care ถือ ว่าสำคัญมากเป็นการสกัดกันไม่ให้ผู้ป่วยไปโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น แต่ถ้ามีกรณีฉุกเฉินก็ไปโรงพยาบาลได้เลย สมัยก่อนที่อังกฤษ GPอาจทำงานคนเดียว แต่ปัจจุบันนี้ GPจะรวมตัวกัน เป็นกลุ่ม อาจจะมี 6-10 คน มีพยาบาลเจ้าหน้าที่อื่นๆ รวมแล้วอาจมีถึง 30-40 คนทำงานค่อนข้างสบาย เพราะผู้ป่วยไม่หนัก

              บ้านเราพยายามมีระบบ GP แต่ยังทำไม่ครบวงจร ถ้าจะทำให้มีประสิทธิภาพ จะต้องทำคล้ายๆระบบอังกฤษ ฟินแลนด์ คือ ประชาชนทุกคนต้องไปขึ้นทะเบียนกับแพทย์ GPท่านหนึ่งท่านใด เงินเดือน GPต้องดีพอ แต่ปัจจุบันนี้ GPของเราได้เงินเดือนเท่าแพทย์อื่น ถ้าทำราชการ และ ต้องไปหารายได้พิเศษเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ป่วยมักชอบไปหาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมากกว่า

              แต่เขาก็ยังให้ความสำคัญกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญยังต้องมีมากพอ ยังต้องใช้งบประมาณมาก เพราะผู้ป่วยหนักๆ จะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ ใช้เครื่องมือที่แพงในการตรวจ ยาที่แพง และ งบประมาณในการฝึกผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ

              ถ้าเราทำตามฝรั่งต้องทำให้ครบวงจร แต่ต้องเอาเฉพาะส่วนที่ดี เหมาะสมกับบ้านเราเท่านั้น และ นำมาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นกับสภาพของบ้านเรา

                                                             น.พ.พินิจ กุลละวณิชย์

                                                              เลขาธิการแพทยสภา

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 27272เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2006 19:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2012 16:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท