รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม ครั้งที่ 2/2549 10 เมษายน 2


Phase II ของ สคส. เน้นการเชื่อโยงเครือข่าย การขับเคลื่อนสาระ และการทำงานให้แก่ สคส.

ผมเห็นว่ารายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบาย สคส. น่าจะเป็นประโยชน์ต่อภาคีจัดการความรู้ของประเทศไทย    จึงนำออกเผยแพร่   โดยได้ตัดส่วนที่ไม่สำคัญออกไป  เพื่อไม่ให้ยาวเกินไป

รายงานการประชุม
คณะกรรมการนโยบายสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม ครั้งที่ 2/2549
วันจันทร์ที่  10  เมษายน  2549  เวลา 13.00 – 16.00  น.
ณ ห้องประชุม สกว.1  ชั้น 14   สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

กรรมการผู้เข้าประชุม

1.       ศ. (พิเศษ) สมชัย  ฤชุพันธุ์                                              ประธานกรรมการ
2.       ผศ.  วุฒิพงศ์  เตชะดำรงสิน   รองผู้อำนวยการ           กรรมการ
     แทนผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
3.       ศ. สุมน                                        อมรวิวัฒน์                กรรมการ
4.       คุณสุรินทร์                                    กิจนิตย์ชีว์                 กรรมการ
5.       นพ. อนุวัฒน์                                  ศุภชุติกุล                   กรรมการ
6.       คุณไพบูลย์                                    วัฒนศิริธรรม           กรรมการ
7.       ศ. นพ. วิจารณ์                               พานิช                        กรรมการและเลขานุการ

กรรมการลาประชุม

1.       คุณเบญจมาภรณ์                        จันทรพัฒน์               กรรมการ
  แทนผู้จัดการสำนักงานกองทุนเพื่อการเสริมสร้างสุขภาพ
2.       ศ. ดร. ชัชนาถ                             เทพธรานนท์            กรรมการ

ผู้เข้าร่วมประชุม

1.       คุณธวัช                                          หมัดเต๊ะ                         สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
2.       คุณสุนทรี                                       ไพรศานติ                      สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
3.       คุณนภินทร                                     ศิริไทย                          สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
4.       คุณวรรณา                                      เลิศวิจิตรจรัส               สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
5.        คุณจิราวรรณ                                     เศลารักษ์                       โครงการเคลื่อนกระแสการจัดการความรู้สู่สังคม
6.        คุณศศิธร                                           อบกลิ่น                         โครงการเคลื่อนกระแสการจัดการความรู้สู่สังคม
7.        คุณอาทิตย์                                         ลมูลปลั่ง                        โครงการเคลื่อนกระแสการจัดการความรู้สู่สังคม
8.        คุณกลิ่นจันทน์      เขียวเจริญ       แทน รศ. ดร. ทศพร  ศิริสัมพันธ์ 
เริ่มประชุมเวลา 13.00 น.


วาระที่ 1.1             เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบ
                               
                กรรมการและเลขานุการได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบเกี่ยวกับเอกสารประกอบการประชุม  ดังนี้
1.       คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบาย สคส. โดยกรรมการชุดนี้จะอยู่ในตำแหน่งตั้งแต่ 24 มีนาคม 2549 – 28 กุมภาพันธ์ 2551   ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
·       กำหนดนโยบาย  แผนการดำเนินงาน  หลักเกณฑ์การประเมินผล  และมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคมดำเนินงานไปได้ตามวัตถุประสงค์ตรงเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและคล่องตัว  ตามวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ที่คณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัยทราบ
·       วางระเบียบ  ข้อบังคับการเงิน  การบัญชี  การพัสดุ  และอื่น ๆ เพื่อประโยชน์ต่อการดำเนินงานของสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคมตามแนวทางการปฏิบัติของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  ดังที่ระบุไว้ในสัญญารับทุนโครงการสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคมระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย  เลขที่ 46-00-0040  ลงวันที่ 22 ตุลาคม 2545 และนำระเบียบข้อบังคับเหล่านั้นเสนอคณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัยทราบ
·       แต่งตั้งที่ปรึกษาและคณะอนุกรรมการได้ตามความจำเป็น
·       ติดตามการดำเนินงานของสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคมและรายงานผลการดำเนินงานประจำปีให้คณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัยทราบ
2.       คำสั่งแต่งตั้ง ศ. นพ. วิจารณ์  พานิช  เป็นผู้อำนวยการ สคส. จนจบโครงการ
คณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัยได้ประกาศแต่งตั้ง ศ. นพ. วิจารณ์  พานิช  ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคมต่ออีก 2  ปี    
                                                          
             ที่ประชุม                  รับทราบ

วาระที่ 1.2             ผลงานที่ภาคภูมิใจในรอบ 2 เดือน
                                คุณธวัช  หมัดเต๊ะได้นำเสนอผลงานที่ สคส. ภาคภูมิใจในรอบ 2 เดือนที่ผ่านมา คือ KM สัญจร  ดังนี้
ความประทับใจจากกิจกรรม KM สัญจร  โครงการมหาชีวาลัยอีสาน  โดยครูบาสุทธินันท์  ปรัชญพฤทธิ์  ที่จังหวัดบุรีรัมย์   ระหว่างวันที่ 6 – 8 มีนาคม 2549  โดย สคส. จัดร่วมกับฝ่ายวิชาการ สกว.  เพื่อให้นักวิชาการ,  นักวิจัยได้สัมผัสประเด็นการดำเนินการในเรื่องเกษตรปลอดสารพิษ   ต่อยอดความรู้ของชาวบ้าน   และตั้งโจทย์วิจัยเพื่อแก้ปัญหาให้ชาวบ้าน    เป็นการริเริ่มของ สคส. ที่ต้องการเชื่อมโยง การจัดการความรู้ (ของชาวบ้าน) เข้ากับการวิจัย (ของนักวิชาการ)  
ในช่วง 2 วัน   ทุกครั้งหลังจากลงพื้นที่  สคส. ได้ทำ AAR (After Action Review) ร่วมกับชาวบ้านและขณะเดินทางกลับ   พบว่า
·       นักวิจัยได้ทำความเข้าใจโจทย์ของชาวบ้านได้ดีขึ้นและมองเห็นจุดเชื่อมต่อความรู้ชาวบ้านที่จะนำไปสู่การพัฒนาโจทย์วิจัย
·       การสื่อสารระหว่างนักวิจัยกันเองเป็นไปอย่างดี   ได้เห็นแนวคิด  วิธีคิดและช่วยกันพัฒนาโจทย์วิจัยกันขึ้น
ที่ประชุม                รับทราบ
                                

วาระที่ 4                เรื่องเพื่อพิจารณา

KM – ·       ·      

4.1                การเปลี่ยนผ่าน (Transform) การทำงาน สคส.
กรรมการและเลขานุการได้ขออนุญาตให้คุณวรรณานำเสนอยุทธศาสตร์การเปลี่ยนผ่าน (Transform) การทำงานของ สคส. ในปี 2549  ดังนี้
คุณวรรณา  เลิศวิจิตรจรัส  นำเสนอดังนี้
จากการทำงานของ สคส. ใน 3 ปีที่ผ่านมา   สคส. ได้ส่งเสริมการจัดการความรู้ในหลายภาคส่วนในประเทศไทยและได้รับการยอมรับ   อย่างไรก็ตาม สคส. เห็นว่าควรพัฒนา ยุทธศาสตร์การทำงานต่อไป  
จะเห็นว่าในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา  สคส. ได้ดำเนินการจัดการความรู้แบ่งเป็น  3 ส่วน    ใหญ่ ๆ ดังนี้
·       พัฒนาศาสตร์   สคส. ได้ให้ทุนผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาล,  ภาคประชาสังคม  โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่น โมเดลปลาทู,  โมเดลปลาตะเพียน  เป็นต้น  ให้แต่ละที่ได้ทดลองทำ     สำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้ ให้ผู้ทำโครงการ และ สคส. ได้เรียนรู้ หลักการและวิธีดำเนินการจัดการความรู้ในบริบทต่างๆ ของสังคมไทย   
·       พัฒนาขีดความสามารถ  เช่น เป็นที่ปรึกษา,  เป็นวิทยากรในหน่วยงานต่าง ๆ และการจัดอบรม (Workshop)  เป็นต้น   ทั้งที่จัดดำเนินการโดย สคส. และโดยภาคี   ทำให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้พัฒนาขีดความสามารถของบุคคลต่าง ๆ ที่จะดำเนินการจัดการความรู้ในหน่วยงานของตนเอง
·       พัฒนางานและองค์กร  เป็นการให้คำปรึกษากับองค์กรทั้งหน่วยงานรัฐบาลและภาคประชาสังคม  เช่น  กรมอนามัย,  กรมส่งเสริมการเกษตร  เพื่อฝึกให้เป็นวิทยากรด้านการจัดการความรู้ให้กับหน่วยงานอื่น ๆ ได้  ถือเป็นทุนที่สำคัญ ของวงการจัดการความรู้ของประเทศไทย  
เนื่องจาก สคส. เห็นว่าขณะนี้ประเทศไทยมีทุนหรือผู้จุดประกายที่จะช่วยดำเนินการด้านการจัดการความรู้
ในที่ต่าง ๆ ได้   ดังนั้นในปี 2549   สคส. ได้ปรับเปลี่ยนมาทำหน้าที่เชื่อมร้อยโครงข่าย   ในบริบทต่าง ๆ ให้ประสานเชื่อมร้อยกัน   โดยใช้ยุทธวิธีหลาย ๆ อย่าง  เช่น
·       จัดให้เกิดชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) ในเครือข่ายและข้ามเครือข่ายในแต่ละบริบทมาร่วมกันผลักดันให้เกิดและพัฒนาการจัดการความรู้มากขึ้น
·       เวที KM ติดตาว   นำองค์กรหรือหน่วยงานที่ใช้เครื่องมือการจัดการความรู้ที่ดีให้เป็นตัวอย่างและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเพื่อแลกเปลี่ยนและเพิ่มศักยภาพการจัดการความรู้ให้ดียิ่งขึ้น
·       เวทีนวัตกรรมการเรียนรู้และเวทีเยาวชนสร้างสรรค์    สำหรับต่อยอดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้    ไปเป็นชุมชนแนวปฏิบัติ (CoP – Community of Practice)
·       Weblog  Gotoknow
·       เวทีมหกรรม KM,  การจับภาพ KM และ KM สัญจร
·       การพัฒนาการก้าวสู่การเป็นองค์กรการเรียนรู้   ด้วย KMIA  (KM Innovation Award) เป็นรางวัลที่ สคส. ริเริ่มโดยมอบให้องค์กรที่พัฒนาการจัดการความรู้ในองค์กรได้เป็นอย่างดี    ใช้รางวัลเป็นกุศโลบาย   โดยแบ่งเกณฑ์การประเมินเป็น   3 ระดับ คือ (1)ระดับองค์กร  เน้นเรื่องภาวะผู้นำและทิศทาง (2)ระดับกลุ่ม  เน้นกระบวนการ KM และการสร้างเครือข่าย  และ (3)ระดับปัจเจก   เน้นการพัฒนาคน  พิจารณาไปถึงจิตใจ  การเรียนรู้  ในบุคคลที่จะเกิดในองค์กร     โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากที่ต่าง ๆ ร่วมกันร่างเกณฑ์   ถือเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งเช่นกัน 
หากมองภาพแยกเป็นส่วนต่าง ๆ   สคส. ได้ดำเนินการให้เกิดการจัดการความรู้ในรูปแบบ  :
-  Issue – Based  เช่น  ชุมชนเข้มแข็ง  อาหารปลอดภัย เป็นต้น  
- Area – Based  ตามพื้นที่ต่าง ๆ เช่น จังหวัดพิจิตร,  นครสวรรค์,   อยุธยา,  ชุมพร,  บุรีรัมย์  เป็นต้น
- Organization – Based เช่น กรมอนามัย,  กรมส่งเสริมการเกษตร,  กรมสุขภาพจิต  และเห็นว่าบางกรมสามารถไป
  เป็นพี่เลี้ยงให้กับกรมในหน่วยงานและข้ามหน่วยงานได้
- Sector – Based  เช่น ในหน่วยราชการ,  ชุมชน  เป็นต้น
โดยแต่ละส่วนจะดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน   และ สคส. ทำหน้าที่เชื่อมร้อยโครงข่ายต่าง ๆ เข้าด้วยกัน   เห็นว่าเป็นการขับเคลื่อนเครือข่ายการจัดการความรู้ไปทุกหย่อมหญ้าในประเทศไทยเพื่อนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้
จึงขอนำเสนอแนวคิดเชิงยุทธศาสตร์การปรับเปลี่ยนบทบาทในการทำงานขับเคลื่อนการจัดการความรู้ของประเทศไทยของ สคส. เพื่อขอคำแนะนำจากคณะกรรมการนโยบาย   


4.2  เวทีนวัตกรรมการเรียนรู้ทั่วไทย
กรรมการและเลขานุการได้ขออนุญาตให้คุณนภินทรนำเสนอกิจกรรมเวทีนวัตกรรมการเรียนรู้ทั่ว
ไทย ดังนี้
คุณนภินทร  ศิริไทย  นำเสนอดังนี้
เวทีนวัตกรรมการเรียนรู้ทั่วไทยถือเป็นกิจกรรมหนึ่งในการเชื่อมร้อยโครงข่าย  
เวทีนี้เน้นไปที่นวัตกรรมการเรียนรู้ในสถานศึกษา,  โรงเรียน   โดยมุ่งเป้าไปที่
·       การปฏิรูปการศึกษาต้องดำเนินการในยุทธศาสตร์ที่หลากหลายและเชื่อว่า KM เป็นเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
·       เน้นขยายผลต่อยอดทุนเดิมดี ๆ หรือสิ่งดี ๆ ที่มีอยู่แล้วในสถานศึกษา   เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันให้มากขึ้น
·       เน้นให้เกิดการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายนวัตกรรมการเรียนรู้ทั่วทั้งประเทศทั้งแบบเวทีจริงและเวทีเสมือน (Weblog)
·       สคส. เปลี่ยนบทบาทจากฝึกอบรมไปเป็นผู้สนับสนุนด้านกระบวนการในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  และเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายให้เกิดการแลกเปลี่ยนที่กว้างขวางขึ้น    หรืออาจเรียกว่า นำไปสู่การรวมตัวกันเป็นชุมชนแนวปฏิบัติ (Community of Practice)
ในเวทีนวัตกรรมการเรียนรู้นี้   สคส. ใช้ยุทธศาสตร์ในการดำเนินการคือ
·       ใช้ยุทธศาสตร์ความสำเร็จ  นำเรื่องเล่าดี ๆ ที่มีอยู่ในสถานศึกษามาแลกเปลี่ยนกันและกัน  
·       สคส. แสวงหาภาคีร่วมจัด  เช่น  คณะครุศาสตร์,  โรงเรียนแกนนำที่เข้มแข็ง,  สมศ.,  เขตพื้นที่การศึกษา  เป็นต้น    โดยสคส. สนับสนุนกระบวนการ
·       เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักเรียน,  ครู,  อาจารย์,  ผู้ปกครอง,  กรรมการโรงเรียน,  ผู้นำชุมชน   ทั้งเวทีจริงและเวทีเสมือน
·       กระตุ้น/ผลักดันให้เกิด CoP และการขับเคลื่อน CoP เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง
·       นำไปสู่กิจกรรมระดับประเทศคือ  งานมหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติ  ครั้งที่ 3 หากกิจกรรมของ CoP นี้ดำเนินการต่อเนื่องและเกิดผลน่าชื่นชม
การดำเนินการในปัจจุบันอยู่ในช่วงประสานงานกับ สมศ. ซึ่งจะจัดเวทีนวัตกรรม IQA (Internal Quality Assurance)
ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎที่จังหวัดฉะเชิงเทรา   อยู่ในช่วงเตรียมงาน,   เวทีนวัตกรรม TOPSTAR  ร่วมกับโครงการการพัฒนาเชิงระบบเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้และคุณภาพโรงเรียนโดยทีม วพร. นำโดย นพ. ยงยุทธ์  วงศ์ภิรมย์ศานติ์และคณะ     และเวทีวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ดีเด่นร่วมกับโครงการบัณรสสมโภช  ดำเนินการโดยคณะวิทยาศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 


4.3                เวทีเยาวชนสร้างสรรค์ทั่วไทย
คุณนภินทร  ศิริไทย  นำเสนอดังนี้
เนื่องจาก สสส. กำหนดวาระหลัก “60 ปี 60 ล้านความดี  เริ่มที่เยาวชน”   ดังนั้น สคส.
ในฐานะผู้รับทุนจึงสนับสนุน  ส่งเสริมและนำวาระหลักดังกล่าวมาดำเนินการต่อโดยใช้กระบวนการ KM   ซึ่งเวทีนี้ต่างจากเวทีนวัตกรรมการเรียนรู้   คือเวทีเยาวชนสร้างสรรค์ส่งเสริมสุขภาวะเด็ก,  เยาวชนและครอบครัวในพื้นที่ต่าง ๆ 
                โดยวิธีการดำเนินการคือขยายผลหรือต่อยอดทุนเดิมที่มีอยู่แล้ว  ทั้งในเชิงพื้นที่และประเด็นเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายทั่วทั้งประเทศ    สคส. สนับสนุนด้านกระบวนการในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเชื่อมโยงภาคีเครือข่าย
                ยุทธศาสตร์คือ  นำเรื่องเล่าดี ๆ ของเด็กและเยาวชนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน   แสวงหาภาคีและเครือข่ายร่วมจัดและเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนเองโดยตรงและผลักดันให้เกิดชุมชนนักปฏิบัติขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง   ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับประเทศเข้าสู่งานมหกรรมการจัดการความรู้ ครั้งที่ 3
                สคส. กำลังดำเนินการแสวงหาภาคี   โดยภาคีที่มีอยู่คือ  สถาบันรามจิตติ,  โครงการเด็กไทยไม่กินหวานและเครือข่ายผู้รับทุนของ สสส. ในแผนงานเยาวชนสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้สู่สุขภาวะ (ยสส.) 
กรรมการและเลขานุการชี้แจงดังนี้
                ยุทธศาสตร์การเปลี่ยนผ่านเน้นที่การลดการทำงานเชิงเทคนิคและขยายการทำงานเชิงโยงเครือข่ายในปี 2549 และปี 2550  ให้มีมากขึ้นและค้นหาเครื่องมือและกิจกรรมให้มากขึ้น


ความเห็นคณะกรรมการ 

 

   
ศ. สุมน  มีความเห็นดังนี้
·       มองว่า สคส. ต้องดำเนินงานต่อไปถึงปี 2551   และเมื่อถึงเวลานั้น สคส. ควรต้องตัดสินใจถึงเรื่องการเปลี่ยนสถานะของตนเองจากการทำงานเชิงโครงการเป็นสถาบันที่ยั่งยืนต่อไป   และขอให้ สคส. เตรียมตั้งแต่บัดนี้
·       การใช้สัญลักษณ์การเปลี่ยนผ่าน   มีเจตนาที่ดีคือใช้ภาษาเชิงสัญลักษณ์   จากหนอนสู่ผีเสื้อ   แต่ผีเสื้อนั้นบอบบางและอายุสั้นมาก   ไม่อยู่ยั่งยืน   องค์กรที่แสวงหาความมั่นคงในเชิงสถาบันแนะนำให้ใช้สัญลักษณ์ต้นไม้   เนื่องจากต้นไม้เริ่มจากต้นกล้าที่อ่อนและหยั่งรากลึกลงไปสู่ตัวคน  ชุมชน  ผืนแผ่นดิน ฯลฯ   สคส. กำลังหยั่งรากลึกลงไป  ที่เห็นชัดคือหน่วยงานและองค์กร   ดังนั้น สคส. น่าจะเป็นต้นไม้ที่จะเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ต่อไป   และรู้สึกว่าน่าเสียดายที่ดำเนินงานมา 5 ปีแล้วต้องไปสิ้นสุดแค่ปี 2551
·       เห็นได้ว่าความสำเร็จของ สคส. เป็นความสำเร็จในการสร้างสังคมอุดมปัญญา 4 เรื่องใหญ่ขึ้นมา  คือ  (1) สร้างศาสตร์  องค์ความรู้  (2) สร้างขีดความสามารถของคนทุกระดับ  (3) พัฒนางานและองค์กรต่าง  ๆ  (4) สร้างความเชื่อมร้อยโครงข่าย KM    เห็นว่า 3 เรื่องแรกจะไม่งอกงามหากตัวสำคัญคือการสร้างตัวเชื่อมร้อยโครงข่าย KM ไม่เข้มแข็งยิ่งขึ้น           ยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดคือต่อไปนี้คือต้องเชื่อมร้อยโครงข่าย KM  ไม่ว่าเป็น CoP,  เวทีนวัตกรรมติดดาว ฯลฯ  และเสนอให้ สคส. เน้นและให้ปรากฏชัดเจนเพื่อเป็นฐานในการเติบโตเป็นสถาบันต่อไป

คุณไพบูลย์มีความเห็นดังนี้
                ประเด็นการเปลี่ยนผ่านสำคัญมากและควรคิดให้ลึกที่สุด   และเห็นว่าหากจะช่วยให้เห็นภาพชัดขึ้น  คือแสดงในรูปของผลผลิต (Output)  ซึ่งออกมาไม่ว่าจะเป็นรูปของ CoP,  เวทีนวัตกรรมติดดาว ฯลฯ  ,  ผลลัพธ์ (Outcome) และผลกระทบ (Impact) จะทำให้เห็นชัดขึ้นว่าการเปลี่ยนผ่านเปลี่ยนอะไร,  เปลี่ยนไปไหน  และจะเกิดผลอย่างไรโดยเฉพาะผลลัพธ์และผลกระทบ
                หากมองในเรื่องผลลัพธ์และผลกระทบทำให้นึกถึงภารกิจของ สคส. ซึ่งมี 2 อย่างอยู่ด้วยกันและในที่สุดจะเป็นเรื่องเดียวกัน   คือ
·       การส่งเสริมการใช้ KM ในสังคมจะนำไปสู่สังคมที่ดี  สังคมเข้มแข็งและมีสุขภาวะ
·       การส่งเสริมการใช้ KM ในงานที่เกี่ยวกับ สสส.  เนื่องจาก สคส. เป็นโครงการที่สนับสนุนโดย สสส.  และให้เกิดผลกับงานของ สสส. ซึ่งกว้างมาก
  
ในช่วงเปลี่ยนผ่านควรเน้นในงานของ สสส. ให้มากขึ้นอย่างชัดเจนและเจาะจงลงไป    
ในระยะ 3 ปี สคส. ได้พัฒนาเทคนิคและวิธีการ   สคส. น่าจะมีความมั่นใจในการหนุนงานของ สสส. อย่างเต็มที่และเชื่อว่าผู้ที่อยู่ในงาน สสส. ทั้งหลายก็มีความต้องการซึ่งมีอยู่ 13 แผน        และทั้ง 13 แผนของ สสส. ต้องการการจัดการความรู้ไปเป็นองค์ประกอบหนึ่งเพื่อทำให้ประสบความสำเร็จมากขึ้น   และในขณะเดียวกัน สคส. ก็ดำเนินการเกี่ยวกับสังคมทั่วไปเหมือนเดิมควบคู่กันไป   เปรียบเสมือนกับ 2 กิ่งใหญ่ของต้นไม้ในต้นเดียวกัน
               
ผศ. วุฒิพงศ์มีความเห็นดังนี้
                การทำงานของ สคส. ที่เห็นชัดเจนจะเป็นในเรื่องของกระบวนการ,   การพัฒนาองค์กร   การเชื่อมโยงโครงข่ายและสร้างศาสตร์ต่าง ๆ  แต่ที่ยังเห็นผลน้อย   คือการสะสมและรวบรวมความรู้   และเห็นว่างานบางอย่างไม่สามารถรวบรวมได้โดยกระบวนการวิจัยและงานวิจัยอาจทำไม่ได้ดีเนื่องจากความรู้อยู่ในตัวคนหรือในที่ซึ่งอาจสูญหายไปได้  
                แต่หากนำกระบวนการการจัดการความรู้เข้าไปใช้ให้เห็นเป็นผลผลิตที่นอกจากการสร้างศาสตร์แล้วจะถือเป็นการรวบรวมความรู้เป็นหมวดหมู่  
คุณสุรินทร์มีความเห็นดังนี้
                อยากสะท้อนภาพใน 3 ประเด็นหลัก ๆ คือ
·       การจัดการความรู้เพื่อสังคมในมุมของชาวบ้านหรือชุมชน   มองว่าสังคมขณะนี้มีปัญหามาก   อยากเห็นสังคมที่ลดความรุนแรงลงและมีศีลธรรมมากขึ้น   ส่วนใหญ่ความรู้ที่ได้จะเน้นที่อาชีพ  ผลประโยชน์แต่ความรู้ของชีวิตด้านในที่จะยกระดับให้จิตใจสูงขึ้นนั้นทำกันน้อย   ไม่มีประสิทธิภาพ   สคส. น่าจะเน้นความรู้ที่ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นเพื่อตอบสนองสังคมให้อยู่เย็นเป็นสุข
·       เวทีนวัตกรรมการเรียนรู้ทั่วไทยที่เน้นไปที่แวดวงการศึกษา   จาก สพฐ. จัดการศึกษาไปที่ สพท. (สำนักงานการศึกษาเขตพื้นที่)  ส่วนหนึ่งน่าจะจัดการศึกษาเพื่อความคงอยู่หรือความอยู่รอดของชุมชนท้องถิ่น   สพท. แทบจะไม่มีการดำเนินการเลย   ยังเป็นการจัดการศึกษาแบบรวมศูนย์อยู่    เห็นว่า สคส. น่าจะเน้นไปที่ส่วนนี้ให้ สพท. เข้าใจโดยเฉพาะผู้บริหาร
·       เวทีนวัตกรรมเยาวชนสร้างสรรค์   เห็นว่าเยาวชนทั่วไปใช้พลังที่มีอยู่ไปสนองต่อสิ่งที่ไม่เป็นสาระต่อชีวิตมากและออกมาในภาพพจน์ที่ไม่พึงประสงค์อีกทั้งยังขยายตัวไปเรื่อย ๆ    โดยเฉพาะในชุมชน  เยาวชนสร้างความเดือดร้อนให้ครอบครัวมาก   หน่วยราชการท้องถิ่นไม่สามารถจัดการได้   ไม่ใช้ความสำเร็จมาดำเนินการ   เห็นว่า สสส. มีแผนพัฒนาเยาวชนมากแต่ยังหย่อนด้านการจัดการความรู้ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร   และอยากให้ สคส. เข้าไปมีส่วนร่วมในส่วนนี้
นพ. อนุวัฒน์มีความเห็นดังนี้
                เห็นด้วยและเพิ่มเติมในส่วนของ ผศ. วุฒิพงศ์ถึงประเด็นการใช้กระบวนการวิจัยซึ่งไม่ได้นำกระบวนการการจัดการความรู้มาใช้ในการสร้างความรู้   เป็นเรื่องการท้าทาย  เช่น  เข้าไปมีส่วนร่วมในแวดวงการศึกษาที่ทำเรื่องการวิจัย   พยายามสร้าง Model  ต่าง ๆ      KM จะเป็นตัวเสริมที่จะทำให้เกิดความรู้ได้เร็วขึ้น  
                การเชื่อมโยงเครือข่าย   มีส่วนไหนบ้างที่ สคส. แสวงหายังไม่ถึงหรือเครือข่ายที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ   เห็นว่าไม่ควรหยุดแค่เครือข่ายที่มีอยู่และประสบความสำเร็จ   จะหาทางไปเชื่อมกับเครือข่ายที่ยังไม่ประสบความสำเร็จได้อย่างไร
ประธานมีความเห็นดังนี้
                ระยะเวลาที่ สคส. ทุ่มเทใน 3 ปีนั้น   ประสบผลสำเร็จได้ดี   และไม่ควรจะใช้คำว่า Transform  เนื่องจากระยะสั้น    ควรใช้ว่า Second Phase  และคิดว่าจะทำอย่างไรต่อไป
                ในยุคแรก สคส. พยามยามสร้างเครื่องมือเพื่อให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ขึ้น   และเน้นไปที่องค์กรมาก   เกิดความสำเร็จ    เป้าหมายของ สคส. คือสร้างสังคมไทยที่เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ทั้งสังคม   โดยวิธีการเรียนรู้คือวิธีการจัดการความรู้เป็นหลัก   ปลูกฝังวิธีการเรียนรู้กับคนและองค์กร   แต่ยุคต่อไปจะเป็นการสร้างความรู้ไปที่คนแห่งการเรียนรู้ไปสู่ชุมชนและสังคมแห่งการเรียนรู้ที่กว้างมากขึ้น  
                เวทีเยาวชนสร้างสรรค์นั้นเป็นเรื่องที่ดี   สร้างมนุษย์พันธุ์ใหม่ที่ใฝ่หาความรู้   โดยเริ่มที่เยาวชน   แต่กลุ่มเยาวชนแยกเป็น 2 กลุ่ม  คือ (1) กลุ่มเยาวชนที่อยู่ในภาคการศึกษา  โรงเรียน  และ (2) กลุ่มเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในสถานศึกษาและในโรงเรียน   คนเหล่านี้หากไม่มีเครื่องมือ KM  ไม่มีทักษะเรื่อง KM    ครึ่งหนึ่งของเยาวชนในสังคมก็จะไม่มีความรู้   สคส. ควรจะเน้นเยาวชนในส่วนนี้ด้วย 
                การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือที่จะสร้างความรู้  กลั่นกรองความรู้  เก็บความรู้  ใช้ความรู้   แต่ทั้งหมดแค่เป็นเครื่องมือ   จะนำเครื่องมือนี้ไปทำอะไรในสังคมขณะนี้   ซึ่งเป็นสังคมที่ไม่ได้ใส่ใจชุมชนในพื้นที่   อาจจะนำ KM มาใช้ในการบรรลุวัตถุประสงค์ให้เกิดความเอาใจใส่ชุมชนในพื้นที่ได้   และควรมีจิตสำนึกในการใช้ KM เป็นเครื่องมือในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับคนไทย   เยาวชนไทย  
                                คุณไพบูลย์มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมดังนี้
เพิ่มเติมประเด็นที่อยากเห็นความชัดเจนมากขึ้นในเรื่องแสดงผลผลิต (Ouput),  ผลลัพธ์ (Outcome)  และผลกระทบ (Impact)  หากให้ครบสมบูรณ์เริ่มตั้งแต่ Input,  Process,  Output,  Outcome และ Impact   ช่วงเปลี่ยนผ่านหรืออภิวัฒน์   แต่ละอย่างที่กล่าวมาจะเปลี่ยนไปอย่างไร     และที่เสนอในเรื่องสนับสนุนกับ สสส. ให้มากขึ้น   ควรหารือกับ สสส. และหากเห็นชอบร่วมกันก็ดำเนินการได้
                                ศ. สุมนเสริมประเด็นดังนี้
เพิ่มเติมเรื่องกระบวนการและดอกผล (Output,  Outcome และ Impact)  พิจารณาจากเอกสารแล้วส่วนใหญ่ สคส. ดำเนินการด้านความสำเร็จ   แต่หลังจากนำไปใช้เห็นว่าไม่ประสบความสำเร็จ 3 อย่างด้วยกัน คือ
·       เปลี่ยนระบบคิด   การที่ไม่เปลี่ยนระบบคิดเรื่องจุดหมายของการเรียนรู้ในคนรุ่นใหม่   ในทางปฏิบัติไม่สามารถทำได้  
·       ระบบคิดในการพัฒนาคนและองค์กร   ยังคงเป็นการพัฒนาคนโดยต้อง Training ตลอด   อยากเปลี่ยนจาก Training เป็น Learning  ซึ่งก็ยังเปลี่ยนไม่ได้  
·       การสร้างสุขภาวะของสังคม   คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการสร้างสุขภาวะต้องมาจากภายนอก เช่น การกู้ยืม  การช่วยเหลือด้านวัตถุ  เป็นต้น  แต่จริง ๆ แล้วต้องมาจากความรู้ภายในตัวคน  ต้องได้รับการปลูกฝังศีลธรรมจากจิตใจ
จึงเห็นว่านอกจากจะสร้างตัวเชื่อมร้อยโครงข่าย KM แล้ว   สคส. จะทำอย่างไรให้
ผู้มีอำนาจในองค์กร (“คุณเอื้อ”) เปลี่ยนระบบคิด   หากไม่มีเปลี่ยนคนอื่น ๆ ก็ไม่สามารถดำเนินการด้าน KM ได้
                ข้อคิดเห็นจากทีมงาน สคส.
                                คุณฉันทลักษณ์มีข้อคิดเห็นดังนี้
เข้าเริ่มงานใน สคส. มาเดือนกว่า ๆ และลงพื้นที่กับ สคส. ในหลาย ๆ เวที   เห็นว่าในส่วนของการเปลี่ยนผ่านกำลังเริ่มในหลาย ๆ ภาคส่วน  ไม่ว่าจะเป็นภาคราชการ  ภาคการศึกษา   และจากการเข้าร่วมประชุมกับ สสส. ก็เห็นว่าเน้นเรื่องของเยาวชน   และคิดว่า สคส. เริ่มเข้าไปดำเนินการบ้างแล้วและน่าจะได้รับการตอบรับที่ดี   รวมถึงเรื่องการจัดเวทีนวัตกรรม
                                คุณอาทิตย์  ฝ่ายประชาสัมพันธ์สะท้อนความคิดเห็นดังนี้
ในการทำงานมา 10 เดือน   เห็นประโยชน์ของการจัดการความรู้คือ  ทำให้คนรู้จักสถานะและศักยภาพของตนเองในแต่ละภาคส่วน   เป็นการเรียน

หมายเลขบันทึก: 27263เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2006 18:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท