วิจัยหลักสูตรท้องถิ่น


ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
   

 สุพจน์   ชุมผาง, 2551: รายงานการวิจัยการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้ท้องถิ่นตามหลักปรัชญา

                  เศรษฐกิจพอเพียงด้วยหนังสือบทร้อยกรองประกอบภาพ เรื่อง ฮีตสิบสองประเพณีการทำบุญประจำ

                  เดือนชาวอีสาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

                  โรงเรียนบ้านท่ามะไฟหวาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 2 อำเภอแก้งคร้อ

                  จังหวัดชัยภูมิ 

 

                                                                                บทคัดย่อ

               

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1) เพื่อสำรวจความต้องการของผู้บริหาร ครูผู้สอนสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง นักเรียนในกลุ่มพื้นที่การศึกษาแก้งคร้อ6 ต่อการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5   2) เพื่อสร้างและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยหนังสือบทร้อยกรองประกอบภาพ เรื่อง   ฮีตสิบสอง ประเพณีการทำบุญประจำเดือนชาวอีสานให้มีประสทิธืภาพตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/E2 3)เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มทดลอง และนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการใช้หลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ฮีตสิบสอง ประเพณีการทำบุญประจำเดือนชาวอีสาน ที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้น 4) เพื่อเผยแพร่และประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนที่นำหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้น ไปใช้การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ใช้ในการสำรวจความต้องการหลักสูตร แยกเป็น ผู้บริหารจำนวน 9 คน ครูผู้สอนสาระการเรียนรู้ภาษาไทยจำนวน 7 คน กรรมการสถานศึกษาจำนวน 66 คน ผู้ปกครองนักเรียนที่เรียนในช่วงชั้นที่ 2 จำนวน  120 คน  นักเรียนที่เรียนในช่วงชั้นที่ 2 จำนวน 120 คน กลุ่มที่ 2 เป็นนักเรียนกลุ่มทดลอง เป็นนักเรียนที่กำลังเรียนในช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนใกล้เคียง ปีการศึกษา 2550 จำนวน 30 คน และครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 3 คน กลุ่มที่ 3 เป็นนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่กำลังเรียนในปีการศึกษา 2551 ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านท่ามะไฟหวาน จำนวน 27 คน กลุ่มที่ 4) เพื่อใช้ในการเผยแพร่หลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 2 จำนวน 130 คน และครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 คน รวมประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ 465 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มีดังนี้ 1) แบบสำรวจความต้องการหลักสูตร (แบ่งเป็นแบบสังเกต, แบบสัมภาษณ์)   2) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตร 3) แบบประเมินดัชนีความสอดคล้องของหลักสูตร  4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนจำนวน 120 ข้อ 5) หลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 6) หนังสือบทร้อยกรองจำนวน  12 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าเฉลี่ย ( x) ค่าร้อยละ (%) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/E2 และการทดสอบค่าที (t – test แบบ Dependent)

                ผลการวิจัยพบว่า การสำรวจความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน กรรมการสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน มีความเห็นสอดคล้องกันกับนโยบายของสถานศึกษาและมีความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น คิดเป็นร้อยละ 97.43 ได้หลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร หนังสือบทร้อยกรองประกอบภาพจำนวน 12 เล่ม การประเมินหลักสูตร แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน พบว่ามีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.6 – 1.0 ซึ่งเป็นค่าดัชนีความสอดคล้องที่ยอมรับได้  มีประสิทธิภาพเฉลี่ยทุกเล่ม 91.55/91.28 ซึ่งเป็นไปตามประสิทธิภาพ E1/E2 ที่ตั้งไว้  80/80 ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลอง และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้หลักสูตรสถานศึกษาสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนกลุ่มทดลอง กลุ่มเผยแพร่มีความเหมาะสมสัมพันธ์เชื่อมโยงและสอดคล้องกัน ผลการสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้หลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้น มีค่าเฉลี่ย 3.93 กลุ่มเผยแพร่ 3.78 ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 

หมายเลขบันทึก: 272420เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2009 09:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 04:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท