ทำอย่างไรดีเมื่อ.....เด็กวงแตก


เข้าแก๊งค์ไหน...หัวหน้าตายหมด

วันนี้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยให้เด็กทำงานเป็นทีม  รู้สึกปวดหัวมากกับท่าทีของเด็ก  เพราะเด็กยังคงไม่เคยชินกับการทำงานร่วมกัน  มีเงื่อนไขในการทำงาน คือนักเรียนทุกคนต้องฝากฝีมือไว้กับชิ้นงานบนกระดาษสร้างแบบแผ่นใหญ่

จุดสังเกตที่พบ  คือ  เด็กบางคนขาดความมั่นใจในตนเอง  เด็กบางคนขาดความเชื่อมั่นในฝีมือเพื่อน  หรือ กลัวว่าผลงานของกลุ่มจะไม่สวย   จะสู้กลุ่มอื่นไม่ได้  ใช้อารมณ์ที่ไม่ดีต่อกันก็มี  เลยไม่อยากให้เพื่อนบางคนมีส่วนร่วมในการทำงานครั้งนี้    และผลงงานที่ออกมายังมีส่วนที่ไม่น่าพอใจ  ทำให้เด็กในกลุ่มไม่ชื่นชมในผลงานของกลุ่มตนเอง  และไม่ชอบในผลงานที่สำเร็จออกมา

จากการเรียนการสอนครั้งนี้  มันไม่เกิดผลสำเร็จ  แต่มันเกิดผลที่เราจะต้องแก้ไข  เพื่อให้นักเรียนทุกคนชื่นชมผลงานของตนเองให้ได้  และสามารถทำงานเป็นทีมได้อย่างคล่องแคล่ว  ยอมรับผู้อื่น  เปิดโอกาสให้เพื่อนทุกคนได้แสดงความสามารถและพัฒนาความสามารถที่มีอยู่ในตนเองออกมาอย่างเต็มที่  เป็นภาระที่ต้องแก้ไขเพื่อการพัฒนาความสามารถของนักเรียนให้เป็นหนึ่งเดียวให้ได้ค่ะ  และเป็นการบ้านที่ต้องคิดหนักทีเดียว

คำสำคัญ (Tags): #คือเรา
หมายเลขบันทึก: 272361เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2009 22:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 11:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • มหา มาอ่านกิจกรรมการสอน
  • การรวมกลุ่มนั้นโดยเฉพาะเด็กก็น่าจะปวดหัวหรอกเหมือนกับปูใส่กระด้ง
  • ขอให้มีความสุขกับการสอนเด็ก
  • คนบ้านเดียวกัน

สวัสดีค่ะ คุณเหรียญชัย

ขอบคุณค่ะที่แวะมาเยี่ยม

การรวมกลุ่มแล้วต้องมีชิ้นงาน....ทำไมประสบความสำเร็จยากจังเลย

คนบ้านเดียวกัน

กระตุ้น ให้ตื่นตัว ไม่ใช่ตื่นตระหนก

ครูเราก้สรรหาวิธีการที่หลากหลาย เพื่อให่เขาได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ไม่เบื่อเซ็ง งานหนักเนาะครูเรา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท