ทำไมการเมืองต้องมาคุมข้าราชการประจำ?


ปัญหาอยู่ตรงที่เราจะเลือกตัวแทนที่เป็นนักการเมืองที่ทั้ง “ดีและมีคุณธรรม” ในทุกวันนี้ยากจังเลย คนที่ทั้งดีและมีคุณธรรม ไม่อยากกระโดลงมาให้เราเลือก เพราะอะไร ทำไม และจะทำอย่างไรให้ง่ายขึ้นที่เขาจะลงมาให้เราได้เลือกกัน

     สืบเนื่องมาจากการที่คุณราชันต์ ศรีนวล รพ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์ ได้เข้ามาตั้งประเด็นถาม คห.ผมไว้ที่บันทึก การปฏิรูปการเมืองกับบทบาทเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพ ในวันนี้ (7 พฤษภาคม 2549) โดยเขียนถามว่า...

          สวัสดีครับอาจารย์ ผมเป็นลูกศิษย์อาจารย์คนหนึ่ง ผมอยากแสดงความคิดเห็นว่า ทำไมการเมืองต้องมาคุมข้าราชการประจำ โครงการต่างๆหรือแผนการปฏิบัติงานต่างๆเราก็สามารถทำเองได้ แต่พอมีการเมืองมาพัวพัน มันก็ทำให้ระบบงานต่างๆเปลี่ยนไป แล้วทำให้เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวก เกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นในระบบข้าราชการ ผมจึงอยากแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากอาจารย์หรือท่านอื่นที่สนใจ

     ผมตอบไปในตอนท้ายบันทึกนั้นแล้วด้วย และนำมาเขียนเป็นบันทึกที่นี่ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อเปิดเป็นประเด็น ลปรร.กันได้อย่างเต็มที่เพราะบันทึกโน้นดูจะไม่เน้นลงไปในเรื่องนี้เท่าใดนักครับ ดังนี้

          1. เราเป็นเพื่อนเพื่อร่วม ลปรร.กันดีกว่าไหมครับ เป็นศิษย์อาจารย์แล้วผมรู้สึกอย่างไร แปลก ๆ ไปนะครับ

          2. การเมืองเป็นเรื่องของทุกคน เราเข้าไปเกี่ยวข้องแน่ หลีกพ้นไม่ได้ครับ

          3. ราชการเป็นกลไกอยู่ภายใต้การบริหารของฝ่ายบริหาร (นักการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภา) ซึ่งต้องบริหารประเทศโดยการใช้อำนาจ 1 ใน 3 อำนาจหลักของพระเจ้าแผ่นดิน แนวเข็มหรือทิศทางที่ใช้ในการบริหาร ก็เป็นนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา (ซึ่งเป็นอีกอำนาจหนึ่งของพระองค์ที่ทรงมอบไว้ให้ประชาชน) ซึ่งมีตัวแทนของเราไปทำหน้าที่ในการซักถาม ให้ข้อคิดเห็น ซักฟอก หรืออภิปราย หากไม่เป็นที่ยุติ พระองค์ก็ทรงมอบอำนาจให้ตุลาการศาลอีกอำนาจหนึ่งเพื่อพิจารณาตัดสิน เป็นการคานกันอย่างสมดุล และเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญทุกประการ

     โดยสรุปยังไงราชการก็ต้องทำงานภายใต้การบริหารของนักการเมือง ประเด็นอยู่ที่ทำอย่างไรให้นักการเมืองที่จะเข้าไปบริหาร "ดีและมีคุณธรรม" เคยเขียนไว้ แม้ตอนนี้ยังคิดไม่ออกครับ ตรงนี้แหละครับที่อยากชวนกันคิด ทำอย่างไรให้เกิดขึ้น ตามที่เคยเสนอไว้ในบันทึก ชอบธรรมเพราะถูกต้องตามกฎหมาย เท่านั้นหรือ? ครับ

     หากจะให้ราชการประจำเป็นอิสระทั้งหมดผมยืนยันว่าไม่เห็นด้วย เพราะตามโครงสร้างการใช้อำนาจนี้ดีแล้ว และไม่ได้เกิดจากตรงนี้ที่เป็นปัญหา ปัญหาอยู่ตรงที่เราจะเลือกตัวแทนที่เป็นนักการเมืองที่ทั้ง “ดีและมีคุณธรรม” ในทุกวันนี้ยากจังเลย คนที่ทั้งดีและมีคุณธรรม ไม่อยากกระโดลงมาให้เราเลือก เพราะอะไร ทำไม และจะทำอย่างไรให้ง่ายขึ้นที่เขาจะลงมาให้เราได้เลือกกันครับ ตรงนี้ต่างหากที่ผมมองว่ายากยิ่ง

หมายเลขบันทึก: 27236เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2006 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เข้าใจล๊ะ จะลองนำไปตั้งประเด็นคุยกันดูต่อ

คุณ rc

     ยินดีมากครับ จะยินดียี่งไปอีกหากจะได้นำมา ลปรร.กันต่อที่ Gotoknow.org แห่งนี้ด้วย

ผมติดใจตรงนี้ครับ "เพราะตามโครงสร้างการใช้อำนาจนี้ดีแล้ว และไม่ได้เกิดจากตรงนี้ที่เป็นปัญหา" อยากให้ลองวิเคราะห์เรื่องอำนาจดูดีๆนะครับ

แล้วคุณภักดีวิเคราะห์ว่าไงบ้างล๊ะ คนเขียนเขียนมาตั้งเยอะ เขาคงอยากแลกเปลี่ยนนะ ไม่เพียงกล่าวเท่านั้นแล้วหายไป ท้าให้แลกกันบ้าง คนพลอยจะได้พลอยต่อไปน๊ะ

สวัสดีครับ พี่ชายขอบ

  • พอดีเมื่อวานพี่โอ๋ แนะนำให้ผมรู้จักกับพี่ จริงๆ ผมเข้ามาอ่านงานพี่อยู่บ่อยครับ
  • เรื่องการเมืองนี่ อืมพูดกันได้อีกนานเลยครับ คงได้มีโอกาสถกกันบ้างคับในอนาคต
  • ผมหล่ะห่วงเรื่องการศึกษาจริงๆครับ
  • ทักทายจากเยอรมันครับผม
  • ขอบคุณครับผม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท