ประเพณีบุญเดือนสิบ


ประเพณีบุญเดือนสิบนี้ไม่ได้มีขึ้นเฉพาะในจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดในทางภาคใต้เท่านั้น แต่ยังมีทำกันในจังหวัดทางภาคเหนือ และภาคอีสานอีกด้วย

ประเพณีบุญเดือนสิบ

ประเพณีบุญเดือนสิบ   เกิดขึ้นจากความเชื่อในขนบธรรมเนียมประเพณีนิยมสืบทอดแนวคิดจากอินเดียที่ว่า บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วยังต้องใช้เวรกรรมอยู่ในยมโลก และจะกลับมาเยี่ยมญาติหรือครอบครัวของตน

ในช่วงแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ถึง แรม 15ค่ำ ซึ่งทำให้เกิดมีการทำบุญทำทานอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว

 

               ประเพณีบุญเดือนสิบนี้ไม่ได้มีขึ้นเฉพาะในจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดในทางภาคใต้เท่านั้น แต่ยังมีทำกันในจังหวัดทางภาคเหนือ และภาคอีสานอีกด้วย และจะมีชื่อเรียกต่างกัน ในภาคอีสานจะเรียกว่า "งานบุญข้าวสาก"และ

"งานบุญตานก๋วยสลาก"

 

ในวันงานจะถือเป็นเสมือนวันรวมญาติที่จะทยอยกัน มาร่วมกันทำบุญ "รับตายาย" 

ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 10 ไปจนถึงวันแรม 15 ค่ำซึ่งถือเป็นวันสุดท้าย  แล้วที่บรรพบุรุษของครอบครัวตนจะต้องกลับยมโลกจะร่วมกันทำบุญครั้งสุดท้ายที่เรียกว่า   "ส่งตายาย"  ซึ่งถือเป็นวันสำคัญที่สุด

 

               สำหรับสำรับอาหารที่จัดไปทำบุญมักจะเป็นชุดทองเหลืองหรือถาดโดยจะจัดของที่ใส่ไว้เป็นชั้นหรือเป็นชุดโดยชั้นล่างสุดจะใส่ข้าวสาร อาหารแห้ง หอม กระเทียม ชั้นถัดไปเป็นผลไม้และของใช้ประจำวันส่วนชั้นบนสุดใส่ขนมที่เป็นเอกลักษณ์ของงานบุญเดือน 10 ซึ่งขาดไม่ได้มีอยู่ 5 ชนิด คือ ขนมลา ขนมพอง ขนมบ้า ขนมดีซำ และขนมกง ซึ่งขนมทั้ง 5 ชนิดนี้จะมีความหมายแตกต่างกัน คือ

          ขนมลา เปรียบเสมือนเสื้อผ้าเพื่อให้ผู้ตายสวมใส่ในนรกภูมิ

          ขนมพอง เปรียบเสมือนแพให้ผู้ตายใช้เป็นพาหนะข้ามห้วยแห่งทุกข์และบาป หรือเวรกรรมต่างๆ

          ขนมบ้า เปรียบเสมือน การละเล่นที่ให้ผู้ตายเล่น เช่น สะบ้า

          ขนมดีซำ เปรียบเสมือนเบี้ยหรือเงินที่ให้ผู้ตายใช้ในระหว่างใช้เวรกรรมในนรกภูมิ

          ขนมกง เปรียบเสมือนเครื่องทรงหรือเครื่องประดับเพื่อให้ดูภูมิฐานและสวยงาม

ส่วนอาหารคาวหวานอย่างอื่นที่จะมีเพิ่มเติมลงไปนั้นก็แล้วแต่จะพิจารณาว่าญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วของตนจะชอบอาหารหรือขนมใดนอกจากอาหารแล้ว   ยังนิยมใส่เครื่องใช้ไม้สอย อาทิ ด้าย เข็ม และเงินเหรียญ  (ธนบัตรก็ได้) ลงไปในสำรับด้วยสำรับอาหารที่จัดไว้ส่วนใหญ่จะจัดเป็น 2 ชุด ชุดหนึ่งเตรียมไว้เพื่อบำเพ็ญกุศลแก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วซึ่งจะนำไปบำเพ็ญที่ศาลาวัดและอีกชุดหนึ่งจะจัดเตรียมไว้สำหรับผู้เสียชีวิตที่ไม่มีญาติ  หรือไม่มีใครทำบุญไปให้โดยจะตั้งก่อนทางเข้าวัดซึ่งจะเรียกว่า

 "ตั้งเปรต"หลังจากการบำเพ็ญกุศลเรียบร้อยแล้ว ผู้ที่เข้าร่วมพิธีก็จะเข้าแย่งอาหารที่เหลือจากการบำเพ็ญกุศลโดยมีความเชื่อว่าของที่เหลือจากการเซ่นไหว้เปรตนี้ เป็นอาหารศักดิ์สิทธิ์ กินแล้วจะได้กุศลแรงและจะเป็นศิริมงคลแก่ตนและครอบครัวพิธีนี้ชาวนครศรีธรรมราชจะเรียกว่า "ชิงเปรต"หรือการแย่งอาหารจากเปรต

 

    นอกจากการทำบุญที่วัดแล้ว ทางราชการยังจัดให้มีการทำพิธีแห่เป็นทางการ รวมทั้งมีการละเล่นต่างๆควบคู่กันไปด้วย เช่น การแสดงมโนราห์ หนังตะลุง และการแสดงพื้นบ้านอื่นๆ

ข้อมูลจาก : www.khonthai.com

 

เขียนใน GotoKnow โดย 
 ใน >
คำสำคัญ (Tags): #kmanw3
หมายเลขบันทึก: 272141เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2009 08:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 12:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

คิดถึง คิดถึงค่ะ ... จำได้ว่าตอนเด็กๆ สนุกมากเลย แต่ร้างรา ชิงเปรต มานานมาก

ถ้าได้กลับไปอีกสักทีคงจะดีไม่น้อยเลย ..

ขอบคุณสำหรับบันทึกที่แบ่งปันมาจ๊ะ

ขอบคุณความสนุกสนาน ครับ

คิดถึงตอนเด็กครับ

คิดถึงบ้านเกิดมากครับ (นครศรีธรรมราช) คิดถึงบรรยากาศสมัยก่อนที่คุณแม่ขูดมะพร้าว

ด้วยกระต่าย เพื่อเคี่ยวน้ำมันไว้ทอดขนมพอง (สายพอง) ทอดขนมต่าง ๆ ขอบคุณที่นำสาระดี ๆ และบรรยากาศเก่า ๆ มาฝากครับ ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท