บริหารอารมณ์ให้แจ่มใส


อารมณ์ดี

เคยมีบ้างไหมค่ะว่าบ้างวันเป็นวันที่รู้สึกอารมณ์ขุ่นมัวทั้งวัน  อาจเกิดจากสาเหตุหลายประการไม่ว่าเรื่องส่วนตัว  เรื่องงาน และวันนั้นก็จะทำให้การทำงานของเราไม่ปลอดโปร่ง  คิดอะไรไม่ค่อยออกทำให้เกิดผลเสียต่อการทำงานได้  โดยเฉพาะผู้ที่มีบทบาทเป็นผู้บริหารจะพลอยให้ลูกน้องเครียดไปด้วย

           ณรงค์วิทย์  แสนทอง  ได้เขียนถึงเทคนิคการป้องกันและแก้ไขอารมณ์ขุ่นมัว สรุปได้ว่า

  • ป้องกันอารมณ์ขุ่นมัวโดยการหลีกเลี่ยงสิ่งยั่วยุทางอารมณ์
    การป้องกันไม่ให้อารมณ์ขุ่นมัว จะต้องสร้างเกราะป้องกันจิตใจ เพื่อไม่ให้สิ่งยั่วยุทางอารมณ์เข้ามาทำร้ายจิตใจได้ สกัดการกระจายและนำเอาสิ่งยั่วยุทางอารมณ์ออกจากใจให้เร็วที่สุด
    ถ้าเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับสิ่งยั่วยุทางอารมณ์ได้ สิ่งยั่วยุสามารถทะลุเข้าไปในพื้นที่ชั้นในของจิตใจเราซึ่งจะก่อให้เกิดอารมณ์ขุ่นมัวได้ ถ้าสิ่งยั่วยุนั้นเพิ่งเข้ามาให้รีบเอาออกจากจิตใจทันที เพราะถ้าทิ้งไว้นาน สิ่งยั่วยุทางอารมณ์บางอย่างสามารถขยายตัวไปสู่การสร้างความขุ่นมัวทางอารมณ์ได้ เหมือนกับการที่เม็ดสีตกลงในน้ำ ถ้าทิ้งไว้นานเม็ดสีจะละลายเพิ่มมากขึ้นๆ จนสามารถทำให้น้ำใสกลายเป็นน้ำขุ่นได้  
  • ทำอารมณ์ให้นิ่งก่อนแล้วค่อยหาสิ่งแปลกปลอมที่ตกลงในบ่อน้ำอารมณ์
    บางครั้งจิตใจของคนเราถูกกระทบจากสภาพแวดล้อมหรือบุคคลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เหมือนทำเหรียญบาทหล่นหาย(ตกลงในน้ำที่มีโคลนตม) จงอย่าตกใจกระโดดตามเหรียญบาทที่ตกลงไปในน้ำ เพราะจะทำให้น้ำที่มีโคลนอยู่ขุ่นมากขึ้น และจะทำให้ไม่สามารถมองเห็นเหรียญที่เพิ่งตกลงไป ควรทำใจให้เย็น รอคอยน้ำส่วนที่ขุ่นเนื่องจากแรงกระแทกของเหรียญที่ตกลงไปจางหายไปก่อน เพราะเราสามารถมองเห็นเงาสะท้อนของเหรียญได้ และสามารถหยิบขึ้นมาได้โดยไม่ยาก
  • เจือจางอารมณ์ขุ่นด้วยการเติมอารมณ์ดีให้มากขึ้น
    ถ้าใครคิดว่าการนำเอาสิ่งยั่วยุอารมณ์ออกจากจิตใจหรือการปล่อยให้อารมณ์ตกตะกอนเป็นเรื่องที่ยาก อีกวิธีหนึ่งคือการเติมอารมณ์ดีเพิ่มลงไปในจิตใจ เพื่อละลายความขุ่นมัวให้เจือจางลง ยิ่งสัดส่วนของอารมณ์ดีมีมากกว่าอารมณ์ขุ่นมัว ยิ่งจะทำให้อารมณ์ที่ขุ่นมัวจางหายไปมากขึ้นเท่านั้น

คนที่อารมณ์ไม่ดี ถ้าพยายามดูตลก ดูหนัง ฟังเพลง หรืออ่านหนังสือที่ทำให้จิตใจคิดเชิงบวก ก็จะช่วยให้ละลายอารมณ์ขุ่นมัวได้ หรือพยายามพูดคุยกับคนอื่นๆที่อารมณ์ดีหรือมีทัศนคติเชิงบวก ยิ่งได้คุยในเรื่องดีๆมากขึ้น ยิ่งจะช่วยให้อารมณ์ขุ่นมัวเล็กๆน้อยๆ จางหายไปได้ง่ายและเร็วขึ้นได้ ใครอยู่ในครอบครัวแล้วคนในครอบครัวมีปัญหากัน ขอให้ออกไปเจอะเจอกับผู้คนที่เขาเป็นคนปกติหรือไปพบเจอผู้คนที่เป็นคนอารมณ์ดีก็จะช่วยลดอารมณ์ที่ไม่ดีลงได้บ้าง ถึงแม้ว่าอารมณ์นั้นยังคงอยู่ แต่ถ้าจิตใจของเราถูกครอบครองด้วยอารมณ์ดีมากกว่า อารมณ์ไม่ดีก็จะถูกบดบัง และอาจจะถูกลืมไปได้ในที่สุด 

                            การมีอารมณ์ดีทำงานมีประสิทธิภาพ  

 

คำสำคัญ (Tags): #บริหารอารมณ์
หมายเลขบันทึก: 272094เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2009 22:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 เมษายน 2012 15:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

บทความดีมากค่ะพี่เหงี่ยมถ้าเรามีอารมณ์ดีการทำงานก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นจริงๆค่ะ ขอเป็นกำลังใจให้ในการหาบทความดีๆ ต่อไปนะค่ะ

โอ๋ค่ะ

อ่านแล้วนึกถึงหลักอริยสัจ 4 ค่ะ คุณเสงี่ยม ^^

ทุกข์-สมุทัย-นิโรธ-มรรค

ขอบคุณสำหรับบทความดีดีค่ะ

อ่านแล้วอารมณ์เย็นขึ้นนะค่ะ แล้วจะแวะมาอ่านบ่อยๆ นะค่ะ

เดี๋ยวพี่ขอนำไปฝึกปฏิบัตินะคะคุณน้อง

อ่านของหนูเสงี่ยมแล้ว เห็นแววผู้บริหารอารมณ์ดี ของหนูเสงี่ยมเลย

ขอบคุณค่ะพี่เอก รูปหายไหนค่ะ

อ่านแล้วชอบจังเลยพี่ ถูกใจ้ถูกใจ หัวเราะทั้งวันเลย

ครูเปิ้ลแวะเข้ามาอ่านแล้วนะคะบทความดีมากค่ะ

พี่พยายามบริหารตลอดเวลาเพราะกลัว.....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท