การทำวิทยานิพนธ์อย่างมีคุณภาพ


การทำวิทยานิพนธ์เป็นการแสวงหาความรู้ใหม่ “ด้วยตนเอง” /บทความจาก ม.บูรพา

ประเด็นสำคัญ

             1.  คุณลักษณะสำคัญของวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพเป็นอย่างไร ?

          2.  คุณลักษณะสำคัญของผู้ทำวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพเป็นอย่างไร ?

          3.  ทำอย่างไรวิทยานิพนธ์ของเราจึงจะมีคุณภาพ?

คุณลักษณะสำคัญของวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพเป็นอย่างไร?

            การทำวิทยานิพนธ์เป็นการแสวงหาความรู้ใหม่ ด้วยตนเอง  ในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งจนถึงขั้นสมบูรณ์  โดยมีการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์  มีการควบคุมติดตามความก้าวหน้าของอาจารย์ที่ปรึกษา  มีการเขียนและการเสนอวิทยานิพนธ์ที่มีมาตรฐาน  มีการสอบวิทยานิพนธ์ที่มีขบวนการเป็นที่ยอมรับว่ามีคุณภาพมาตรฐานเป็นสากล

          ลักษณะของวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพ เป็นเครื่องแสดงถึงความประณีตของเจ้าของ  ซึ่งในเบื้องต้น  คืองานวิจัยที่มีคุณภาพเป็นพื้นฐาน  สำหรับลักษณะบางประการของวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพดังนี้

          1.  รูปเล่มเรียบร้อย  ความยาวของเนื้อหาสาระกระชับ  เหมาะสม  (มหาวิทยาลัยหลายแห่งในต่างประเทศกำหนดจำนวนคำในวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิตไม่เกิน 20,000 คำ  และระดับดุษฎีบัณฑิตไม่เกิน  80,000 คำ ) ภาคผนวกไม่ควรมากกว่าเนื้อหาสาระ

          2.  ภาษาที่ใช้ต้องเป็นภาษาเขียน  สะกดการันต์ถูกต้อง

          3.  ชื่อเรื่อง  มีความชัดเจน  ตรงกันทั้งภาษาไทย  และภาษาอังกฤษ

          4.  วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง  คัดสรรเฉพาะสิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญมานำเสนอไว้  มีการอ้างอิงถูกต้อง เอกสารที่ใช้อ้างอิงทันสมัย  วิเคราะห์ข้อมูลอย่างวิกฤต  โดยการนำข้อมูลนั้นมาพิจารณาใหม่เพื่อพิจารณาปัญหาหรือความคลาดเคลื่อนจากเอกสารข้อมูลแต่ละฉบับ ซึ่งจะนำไปสู่ประเด็นที่เป็นปัญหา หรือยังมีข้อสงสัยและนำไปสู่การวิจัยเพื่อหาคำตอบ ไม่ใช่เป็นการนำข้อความมาเรียงต่อกัน  หรือใช้วีการ ตัดต่อ  จนทำให้ยืดยาวเกินจำเป็น

     5.  บทคัดย่อ ควรนำเสนออย่างกระชับกะทัดรัด  โดยมีเนื้อหาสรุปย่อของวิทยานิพนธ์ทั้งเล่มที่ครอบคลุมวัตถุประสงค์ ขอบเขตการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย และข้อเสนอแนะบทคัดย่อที่ดีควรมีความสมบูรณ์ในตัวเองที่จะทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจได้  โดยไม่ต้องอ่านเนื้อหาละเอียดในเล่ม ยกเว้นต้องการรายละเอียดแต่ละส่วน บทคัดย่อโดยทั่วไปควรมีความยาวไม่เกิน  300  คำ  ใช้ปัจจุบันกาลเมื่อสรุปผลการวิจัย  และใช้ประโยคที่มีกริยาระบุอดีตกาล  เมื่อนำเสนอวิธีวิจัยและการทดสอบที่มีลักษณะของการรายงานผล

          เนื่องจากผู้เขียนได้รับเชิญเป็นกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเคอร์ติน  (CURTIN  UNIVERSITY  OF  TECHNOLOGY)ประเทศออสเตรเลีย       จึงขอนำเกณฑ์ในการพิจารณาตรวจคุณภาพวิทยานิพนธ์มาเสนอเป็นตัวอย่าง  ดังนี้

          ตัวอย่างเกณฑ์การพิจารณาคุณภาพวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต

1.       มีการทบทวนวรรณกรรมกว้างขวางและสอดคล้องกับงานวิจัยนั้น

          2.  แสดงถึงทักษะในการรวบรวมข้อมูล  วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล

          3.  แสดงให้เห็นว่ามีการวิเคราะห์อย่างวิกฤตในสิ่งที่ศึกษา

          4. เป็นการศึกษาที่เป็นจุดกำเนิด (ORIGINAL)ยังไม่มีใครศึกษามาก่อน และมีความสำคัญในสาขานั้น

 

คุณลักษณะสำคัญของผู้ทำวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพเป็นอย่างไร?

            ผู้ทำวิทยานิพนธ์ต้องทุ่มเทกับการศึกษาอย่างเต็มที่ มีทักษะในการบริหารเวลา  ศึกษาหาความรู้ให้เกิดความก้าวหน้าเสมอ  มีความซื่อสัตย์  ไม่ทุจริต  ไม่ลอกเลียนงานผู้อื่น  และเข้าใจเรื่องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา  สามารถลงมือทำวิจัยได้เอง ตั้งแต่การคิด กำหนดหัวเรื่อง การสำรวจติดตาม ค้นหาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การกำหนดวัตถุประสงค์ /ประเด็นที่ต้องการศึกษา  การวางแผนการศึกษา  การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล  การใช้สถิติที่เหมาะสม  สามารถอธิบายผลการศึกษา  และวิจารณ์ผลการทดลองได้  และสามารถนำข้อมูลมาสรุป  นำเสนอในที่ประชุมวิชาการ  หรือนำเสนอในรูปแบบการเขียนเป็นวิทยานิพนธ์  หรือตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการได้

 

ทำอย่างไรวิทยานิพนธ์ของเราจึงจะมีคุณภาพ?

            องค์ประกอบสำคัญ  คือ  1.  ผู้ทำวิทยานิพนธ์     2.  โครงร่างวิทยานิพนธ์     3.  อาจารย์ที่ปรึกษา

          4.  ผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกัน       5.  แหล่งข้อมูลสารสนเทศ    

          6.  การใช้คอมพิวเตอร์                               7.  การบริหารเวลา        

1. ผู้ทำวิทยานิพนธ์

ควรมีคุณสมบัติที่กล่าวไปแล้วในตอนต้นนอกจากนั้นผู้ทำวิทยานิพนธ์ควรมีวินัยของตนเองโดย

Ü   แบ่งเวลาเพื่อทำงานวิทยานิพนธ์อย่างต่อเนื่อง

Ü      มีการวางแผนร่วมกันกับอาจารย์ที่ปรึกษา

Ü     มีการนัดหมายกับอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นระยะ ๆ  อย่างสม่ำเสมอ

          Ü    ตรงต่อเวลาที่นัดไว้

Ü      เตรียมประเด็นในการปรึกษา

Ü     เตรียมหาทางเลือกหลาย ๆ  ทางในการขอคำปรึกษา         

          Ü   มีความสามารถในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า รวมถึงผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น  ๆ และเพื่อน ๆ  ที่สนใจในสาขาเดียวกัน

          Ü   ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  แบ่งปันข้อมูล  และช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

Ü      อย่าปล่อยให้มีความรู้สึกโดดเดี่ยว  เหมือนตัวเองอยู่คนเดียวเพียงลำพัง

          Ü   พยายามสร้างความชำนาญในการค้นคว้า  แหล่งข้อมูลที่สำคัญของนิสิตคือห้องสมุด  และการค้นคว้าโดยใช้  Information  Technology เช่น Web  site ,  internet ,  CD  ROM

          Ü    การปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญอาจใช้  e- mail  ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาได้ดี  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ต่างประเทศ

          Ü    ความสามารถสำคัญตามมาก็คือภาษาอังกฤษ  ซึ่งเป็นภาษาสากล  เอกสารใหม่ ๆ  ส่วนใหญ่จะเป็นวารสารระดับนานาชาติ  การใช้ภาษาอังกฤษในการอ่านและเขียนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

          Ü    ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์วิเคราะห์ข้อมูลทั้งงานวิจัยเชิงปริมาณ  และเชิงคุณภาพ  อ่านผลการวิเคราะห์  จัดพิมพ์  นำเสนอ  ในรูป   กราฟ

ตาราง  แผนภูมิ  ตามความเหมาะสม

 

2.  โครงร่างวิทยานิพนธ์

            การทำโครงร่างวิทยานิพนธ์ให้มีความสมบูรณ์ที่สุดตั้งแต่ต้นจะเป็นการประกันให้เกิดความมั่นใจได้ว่านิสิตได้ทำวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ไปถูกทางและมีคุณภาพ

3.  อาจารย์ที่ปรึกษา

           อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ควรมีความสนใจและเชี่ยวชาญในสาขานั้น  ไม่ใช่อาจารย์ท่านใดก็ได้  มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศจะขอให้ผู้สมัครเข้าเรียนแจ้งหัวข้อที่ประสงค์หรือสนใจจะทำวิทยานิพนธ์ไปให้ดูก่อน  เพื่อแสวงหาอาจารย์ที่ปรึกษา  ซึ่งยินดีจะเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา  จึงจะตอบรับให้เข้าศึกษาได้

 

4.  ผู้เชี่ยวชาญ  และผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกัน

            การหาผู้เชี่ยวชาญหรือผู้สนใจในเรื่องเดียวกัน  นอกจากจะหาได้จากการอ่านผลงานของท่านเหล่านั้นแล้วอาจค้นหาได้ทาง internet  เช่นจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ  ภายในประเทศ  สภาวิจัยแห่งชาติ และ  สกว.  เป็นต้น     

5.  แหล่งข้อมูลสารสนเทศ

          µ   ที่สำคัญคือห้องสมุด  นิสิตต้องใช้ชีวิตให้คุ้มค่าในห้องสมุด  ในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศจะจัดห้องทำงานเล็ก ๆ  ให้นิสิตระดับปริญญาเอก  เฉพาะบุคคล  ในห้องสมุดเพื่อสนับสนุนให้มีการค้นคว้าได้อย่างเต็มที่  ห้องสมุดในต่างประเทศจะปิดเที่ยงคืน

          µ  ในปัจจุบัน  มีความก้าวหน้าเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลที่สามารถค้นคว้าได้ที่บ้านผ่าน Word  Wide  Wed  ดังนั้น  ทุกคนไม่ว่าจะเป็นนิสิตในมหาวิทยาลัยใด  ในประเทศหรือต่างประเทศ  รวมทั้งมหาวิทยาลัยบูรพามีโอกาสเท่าเทียมกัน

 

6.  การใช้คอมพิวเตอร์

!   ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์  จะช่วยให้นิสิตทำงานได้ประหยัดเวลา

!   ข้อมูลมีความถูกต้อง  เชื่อถือได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ

          !  เป็นระบบระเบียบ   สวยงาม

7. การบริหารเวลา

       

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 271909เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2009 11:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2012 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท