สูงวัยใจเกินร้อย รู้ได้อย่างไร


ประเมินประสิทธิภาพผู้สูงอายุ

ที่เล่าเรื่องนี้ ใช่ว่าจะสูงอายุตามหัวเรื่องนะคะ พอดีมีโอกาสได้อ่านเรื่องนี้ ซึ่งเป็นเรื่องหนึ่งในการประชุม National Forum ครั้งที่ 7 ที่ผ่านมา เห็นว่าน่าสนใจ โดยวิทยากร อ.นายแพทย์สมชาย ลี่ทองอิน  รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และทีมงาน ได้มาเล่าการประเมินสมรรถนะทางกายของผู้สูงอายุด้วย 8 วิธีด้วยกัน ลองประเมินตัวเองดูนะคะ ว่ามีความเสี่ยงแล้วหรือยัง จะได้ระวังไว้ค่ะ

เกณฑ์ของผู้สูงอายุสำหรับประเทศไทยผู้สูงอายุคือผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป การประเมินสภาพผู้สูงอายุ ถ้าเราจะประเมินกว้างๆ สามารถจะประเมินได้เป็น 5 level


- level ที่หนึ่ง healthy ผู้สูงอายุคนนี้ไม่มีปัญหาทางการแพทย์ที่สำคัญ ภาวะร่างกายดีเหมาะสมกับอายุ และมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอมามากกว่า 5 ปี

- level ที่หนึ่ง healthy ผู้สูงอายุคนนี้ไม่มีปัญหาทางการแพทย์ที่สำคัญ ภาวะร่างกายดีเหมาะสมกับอายุ และมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอมามากกว่า 5 ปี

- level ที่สอง (Ambulatory/non active) คือยังสามารถที่จะเดินเหินได้ มีกิจวัตรอะไรต่างๆ ได้มากมาย ไม่มีปัญหาทางการแพทย์ที่สำคัญ ไม่เคยเข้าร่วมโปรแกรมออกกำลังกายอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ไม่ได้เจ็บป่วย ไม่มีโรคประจำตัวแต่ว่าไม่ค่อยได้กระฉับกระเฉงมากนัก ค่อนข้างอยู่เฉยๆ พันธุกรรมอาจจะดี ยีนส์อาจจะดี โรคร้ายต่างๆจึงยังไม่ค่อยจะกรายใกล้เข้ามา
- Level ที่สาม (Ambulatory/disease failure) เริ่มมีโรคประจำตัวแล้วและได้รับการวินิจฉัยว่ามีโรคเรื้อรังต่างๆ เช่นโรคหัวใจ เบาหวาน ข้ออักเสบหรือ COPD  

- level ที่สี่ ( Frail elderly ) ผู้สูงอายุประเภทนี้ต้องพึ่งพา ผู้ดูแลบ้างแล้ว สามารถที่จะลุกเดินหรือว่ายืนได้ แต่ว่าถ้าเดินไปก็ไม่เกินสามสิบเมตรหรือน้อยกว่าหนึ่งร้อยฟุต ต้องพึ่งพาผู้อื่นอยู่บ้างและต้องอาศัยเครื่องช่วยในการที่จะทำกิจกรรม โดยส่วนใหญ่จะนั่งเกือบทั้งวัน ประเภทนี้มีโรคประจำตัว มีความพิการ ต้องพึ่งพาคนอื่นแล้วกำลังวังชาลดถอยลง ต้องอาศัยเครื่องช่วย

- level ที่ห้า (wheelchair-dependent) คือผู้สูงอายุที่นอนหรือว่านั่งอยู่บนรถนั่งตลอดเวลา ไม่สามารถทำอะไรได้ต้องพึ่งพาผู้อื่นช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา

วิธีการทดสอบ มีทั้งหมด 8 วิธี

วิธีที่ 1. เป็นเรื่องของดัชนีมวลกายกับเส้นรอบเอว ส่วนสูง น้ำหนัก และรอบเอว

วิธีที่ 2. คือลุกขึ้นยืนจากเก้าอี้ 30 วินาที

วิธีที่ 3. คืองอแขนพับศอกเป็นการยกน้ำหนักและพับขึ้นมา

วิธีที่ 4. คือเดินย่ำเท้า 2 นาที เป็นการทดสอบความอดทนซึ่งมีสองแบบให้เลือกคือเดินย่ำเท้าอยู่กับที่สองนาทีสำหรับสถานที่ซึ่งมีพื้นที่จำกัด หรือ การเดิน 6 นาที

วิธีที่ 5. นั่งเก้าอี้ยื่นแขนแตะปลายเท้าเป็นการทดสอบความอ่อนตัวดูความตึงของกล้ามเนื้อhamstring หรือว่า

วิธีที่ 6. การทดสอบความยืดหยุ่นของบริเวณข้อไหล่คือการเอื้อมแขนแตะมือทางด้านหลัง

วิธีที่ 7. ลุกเดินจากเก้าอี้ไปและกลับในระยะทาง 8 ฟุตรวมไป กลับ16 ฟุตเป็นการทดสอบความแคล่วคล่องว่องไว

วิธีที่ 8. การเดินหกนาที

รายละเอียดของแต่ละวิธี จะมีอยู่ใน ppt ในการประชุม Forum ซึ่งเรากำลังจะจัดทำเผยแพร่ในรูปแบบของ CD ในเร็วๆนี้ค่ะ โปรดติดตามตอนต่อไปนะคะ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 27165เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2006 11:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • น่าสนใจนะครับ
  • จะนำไปบอกคุณแม่

น่าสนใจ  จะไปบอกคุณพ่อคุณแม่ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท