PCT ; การพัฒนาระบบความปลอดภัยด้านยาในผู้ป่วยที่ได้รับ warfarin


                

 

             นั่ง ๆ มอง ๆ เห็นหน้ากันทุกวัน ก็เภสัชกร นุช ในตึกคอยดูแลเรื่องยาผู้ป่วยใน เห็นแล้วก็สบายใจ    เพราะมีคนคอยดักจับเรื่องความคลาดเคลื่อนทางยา พลอยใจชื่นหน่อย  ข้องใจตรงในถามกันแล้วได้คำตอบคาใจไปเลย ค่ะ  คงเพราะละเอียดรอบคอบนะค่ะ 

              เห็นแบบบันทึกเมื่อมีผู้ป่วย on ยา warfarin แปลก ๆ ติดหน้าชาร์ท คอยให้เราสะดุดตาให้ระมัดระวังเรื่องการใช้ยาค่ะ  เรามาดูกิจกรรมของทีม PTC บ้างค่ะ  เขากำลังการพัฒนาระบบความปลอดภัยด้านยาในผู้ป่วยที่ได้รับ warfarin 

 

                               

 

                ที่มา และความสำคัญในการดำเนินงาน

     -  ยา warfarin เป็นยาในกลุ่มต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants) ที่จัดเป็นยาในกลุ่มยาเสี่ยงสูง (high alert drug)    

     -  อาการข้างเคียงที่สำคัญ คือ ภาวะเลือดออก

     -  ค่า INR ที่เป็นค่าเป้าหมายอยู่ในช่วง 2-3

     -  ปัจจัยหลายด้านมีผลต่อค่า INR เช่น drug interaction ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย การรับประทานอาหารเสริม การได้รับอาหารที่มีวิตามิน K การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การปฏิบัติตัวของผู้ป่วย เป็นต้น

     -  ก่อนการทำหัตถการจำเป็นต้องหยุดยาก่อน

     -  การส่งต่อผู้ป่วยที่ได้รับยา warfarin จาก รพ.มหาราช เพิ่มมากขึ้น

     -  ข้อมูล ปี 51 พบว่าผู้ป่วยที่รับยาประจำที่ รพ.โนนไทย มีอุบัติการณ์ค่า INR มากกว่าค่าเป้าหมายอย่างน้อย 1 ครั้ง/คน

     -  มีผู้ป่วยที่ต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อปรับขนาดยาหรือให้การรักษาเนื่องจากมีค่า INR มากกว่าค่าเป้าหมาย และเกิดภาวะเลือดออก

      - ผู้ป่วยส่วนหนึ่งรับยา warfarin จากโรงพยาบาลอื่นแต่มารับการรักษาทั้งผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยในที่ รพ.โนนไทย

      - ยังไม่มีแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยา warfarin

                                                

เพื่อพัฒนาระบบ

  • การระบุตัวผู้ป่วยที่ได้รับยา warfarin เพื่อสื่อสารให้บุคลากรทางการแพทย์เฝ้าระวังภาวะเลือดออก การทำหัตถการ และการสั่งใช้ยา

  • การเฝ้าระวังการสั่งใช้คู่ยาที่มีปฏิกิริยาระหว่างยากับ warfarin

  • การติดตามและให้คำแนะนำปรึกษาด้านยาโดยเภสัชกร

  • การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยา warfarin ในตึกผู้ป่วยใน

  • การป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาจากยา warfarin

 

     

(1) การระบุตัวผู้ป่วยที่ได้รับยา warfarin

     

  • จัดทำบัตรเตือนผู้ป่วยได้รับยา  warfarin  แนบใน OPD CARD 

  •  

  • ออกบัตรประจำตัวผู้ป่วยที่ได้รับยา

    • warfarin

    (2) การเฝ้าระวังการสั่งใช้คู่ยาที่มี drug interaction

       

    • ลงข้อมูล Pop up alert คู่ยาที่มีปฏิกิริยาระหว่างยาที่มีนัยสำคัญทางคลินิกกับ warfarin ในระบบ LAN ในผู้ป่วยทีมีการใช้ยา warfarin อยู่ พร้อมทั้งข้อมูล ความรุนแรงของการเกิด และการจัดการกรณีที่จำเป็นต้องให้ร่วมกัน

    (3) การติดตามและให้คำแนะนำปรึกษาโดยเภสัชกร

    ผู้ป่วยรายใหม่ 

    • ให้ความรู้: ความสำคัญของการใช้ยา การเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขอาการข้างเคียง การปฏิบัติตัวที่เหมาะสม

    • การประเมินความพร้อมของผู้ป่วยและญาติ

    • ออกบัตรและสมุดประจำตัวผู้ป่วยที่ได้รับยา warfarin

    ผู้ป่วยรายเก่า

    • ประเมินความร่วมมือในการรับประทานยา

    • ติดตามอาการข้างเคียง ประเมินปัจจัยที่มีผลต่อค่า INR

    • ประเมินและทบทวนความรู้

    • จ่ายยาและให้คำแนะนำโดยเภสัชกรทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกทุกราย

       

                                             

       

    (4) การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยา warfarin ในตึกผู้ป่วยใน

       

    • กำหนดแนวทางให้ผู้ป่วยที่ได้รับยา warfarin ที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลได้รับการเจาะ INR ทุกราย

    • จัดทำ Warfarin Monitoring Sheet: ค่า INR คู่ยา drug interactionที่ต้องเฝ้าระวัง และ ADR ที่ต้องเฝ้าระวัง

    • กำหนดค่า INR ที่ต้องรายงานแพทย์ (³ 4)

    • ห้ามฉีดยา IM

    •  

    (5) การป้องกัน medication error จากยา warfarin

       

    • การสั่งใช้ยาด้วยลายมือชัดเจน ใช้ชื่อ warfarin หรือ coumadin งดใช้คำย่อ

    • พยาบาลมีการทบทวนความถูกต้องตามกระบวนการ 5 R

    • ฝ่ายเภสัชกรรมจัดระบบการเก็บรักษา และการกระจายยาเพื่อป้องกันความเสี่ยง

    • เภสัชกร double check ก่อนจ่ายยาทุกครั้ง

    •  

                 ตัวชี้วัด

    • ร้อยละของผู้ป่วยที่มีปัญหาที่เกิดจากความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย

    • ร้อยละของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ร้ายแรงจากยา warfarin

    • ร้อยละของผู้ป่วยที่มีค่า INR อยู่ในช่วงเป้าหมาย

    • ร้อยละของผู้ป่วยที่มีค่า INR มากกว่า 6

    • ร้อยละของผู้ป่วยที่มีค่า INR ต่ำกว่า 1.5

    • อุบัติการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยาที่เกี่ยวข้องกับยา warfarin

    • อุบัติการณ์ของผู้ป่วยที่ใช้ยา warfarin แล้วได้รับวิตามินเค หรือส่งต่อไปรับ FFP ที่โรงพยาบาลมหาราช

               เห็นความมุ่งมั่นตั้งใจทีมงานแล้วชื่นใจจังค่ะ ว่า " ผู้ป่วยจะได้รับความปลอดภัยจากการใช้ยาและได้รับการดูแลตามมาตรฐานวิชาชีพ "

                                                        

     

             

    หมายเลขบันทึก: 271501เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2009 20:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (2)
    • มาทักทายวันสบายๆนะครับ
    • สุขกายสุขใจครับ

    สวัสดีค่ะ คุณ คนพลัดถิ่น~ต้นตอ-natachoei(หน้าตาเฉย)

    - ดีใจค่ะที่แวะมาทักทาย

    - สุขกาย สุขใจเช่นกันนะค่ะ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท