จะใช้อะไรประเมินผลงานประจำปี


ความดีความชอบ

เมื่อถึงฤดูการประเมินผลงานเพื่อพิจารณาความดีความชอบของพนักงานแล้ว  ผู้บริหารหลายคนต้องปวดหัวเพราะจะนำหลักการใดไปประเมินผลงานของพนักงานให้เหมาะสมและได้บุคคลที่ควรจะได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมกับความทุ่มเทปฏิบัติงาน  ณรงค์วิทย์  แสงทองได้ให้แนวทางการใช้ปัจจัยอะไรในการประเมินผลงานประจำปีไว้อย่างน่าสนใจ  ผู้บริหารอาจนำไปใช้ประโยชน์ได้  ดังนี้

  • ผลของงาน

ผลงานถือเป็นปัจจัยสำคัญในการนำมาประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี ผลงานจะต้องวัดได้ในเชิงตัวเลข ตอนนี้เรานิยมใช้ KPI (Key Performance Indicator) มาวัดผลงาน ซึ่งจะออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ ร้อยละ สัดส่วน อัตราส่วน จำนวน ปริมาณ มูลค่า

พฤติกรรมที่สนับสนุนเป้าหมายของงาน

ถ้าเราวัดแต่ปัจจัยที่เป็นผลของงานเพียงอย่างเดียว อาจจะไม่สะท้อนผลการปฏิบัติงานที่แท้จริงของพนักงาน เพราะบางครั้งผลงานที่ดีกว่าหรือแย่กว่าเป้าหมายนั้น อาจจะมาจากปัจจัยอื่นๆ ก็ได้  

    •  
      • พฤติกรรมที่เป็นพฤติกรรมหลักของพนักงานในองค์กร

พฤติกรรมในส่วนนี้มักจะเป็นพฤติกรรมที่กำหนดมาจากคุณค่าองค์กร (Core Value) ความสามารถหลักของพนักงานในองค์กร (Core Competency) โดยการกำหนดเป็นพฤติกรรมบังคับแก่พนักงานในทุกตำแหน่ง

    •  
      • พฤติกรรมที่สนับสนุนเป้าหมายของงานเฉพาะตำแหน่งงาน

พฤติกรรมในกลุ่มนี้เป็นพฤติกรรมที่จะช่วยส่งเสริมหรือสนับสนุนเป้าหมายของ KPI โดยตรง เช่น ถ้า KPI คือการเพิ่มยอดขาย คนที่จะเพิ่มยอดขายได้จะต้องมีพฤติกรรมเรื่องการเจรจาต่อรอง ต้องมีพฤติกรรมเรื่องการให้บริการ ฯลฯ ตัวอย่างพฤติกรรม (สมัยนี้ชอบเรียกกันว่า Competency) เช่น ภาวะผู้นำ การวางแผน การให้ความร่วมมือ ความละเอียดรอบคอบ การวิเคราะห์ข้อมูล ฯลฯ นอกจากนี้ในกลุ่มนี้ยังรวมถึงอัตราการมาปฏิบัติงาน (Attendance) อีกด้วย 

                  สรุป ปัจจัยในการวัดผลงานประจำปีที่ต้องมีแน่ๆ คือผลของงานและพฤติกรรมที่เกี่ยว ข้องกับการทำให้ผลงานดีกว่าเป้าหมาย ส่วนรายละเอียดของหัวข้อในการประเมินผลงานของแต่ละองค์กรแต่ละระดับแต่ละ ตำแหน่งงานนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับลักษณะธุรกิจนั้นๆ ประเด็นที่สำคัญที่สุดคือปัจจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมต้องข้อย้ำว่าควรจะประเมิน พฤติกรรมที่ช่วยทำให้เป้าหมายของงานบรรลุเป้าหมายเท่านั้น ไม่ใช่พฤติกรรมทั่วๆไป และแต่ละตำแหน่งงานไม่ควรประเมินหัวข้อพฤติกรรมที่เหมือนๆกัน เพราะตัวชี้วัดผลงานและเป้าหมายของงานแตกต่างกัน

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ทำดีได้ดี
หมายเลขบันทึก: 271499เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2009 20:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีคะพี่เสงี่ยม ได้อ่านบทความแล้วน่าสนใจค่ะ การประเมินผลงานประจำปีก็ต้องพิจารณาหลายด้าน ยังไงจะเป็นกำลังใจให้นะค่ะ

มาเยี่ยมให้กำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงานครับ

ขอบะคุณอาจารย์และคุณอวยชัยที่ให้กำลังใจ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท