สุขศาลา<สถานีอนามัย<รพ.ตำบล(1)


มิติใหม่ในชุมชนกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

 

และแล้ว สธ.ก็ผลักดัน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลสำเร็จ เริ่ม 1 กันยายน 2552  พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือ หมออนามัย มีบทบาทในด้านการรักษาโรคเบื้องต้นมาช้านาน ในสถานีอนามัย ศูนย์สาธารณสุข และโรงพยาบาลชุมชน จะทำหน้าที่ตรวจรักษาโรค จ่ายยารักษาโรคพื้นๆ และส่งต่อผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อน

เรียนรู้วิธีตรวจรักษาโรคด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่เช่นจากตำราต่างๆ จากประสบการณ์และการถ่ายทอดอย่างไม่เป็นทางการของแพทย์ และรุ่นพี่ๆ หลักสูตรพยาบาลเวชปฏิบัติจึงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว  อ.เวียงสา มี สถานีอนามัย 26 แห่ง เริ่ม 1 กันยายน 2552 จำนวน 9 แห่ง พยาบาลวิชาชีพไปเรียนพยาบาลเวชปฎิบัติเกือบ 20 คน ด้านความพร้อม ตอนนี้ ไปแค่ 30 % เท่านั้น เพราะระบบการบริหารยาจากโรงพยาบาลยังใช้ยาที่เก่าไม่มียาที่พยาบาลเรียนมาแล้วได้ใช้กับคนไข้ เพราะผู้รับผิดชอบเช่นเภสัชกร หรือแพทย์ใหม่ๆ ไม่กล้าปล่อยให้ออกมา กลัวจ่ายให้คนไข้ไม่ได้ พอRefer คนไข้ แพทย์ก็เป็นลม  ทำไมต้องส่งมา....ในฐานะเป็นพยาบาลเวชปฎิบัติต้องปฎิบัติได้ทันทีกับคนไข้คือ

ปรับบทบาทของตนเอง จากพยาบาลวิชาชีพมาเป็นแพทย์ประจำ รพ ตำบล นำความรู้ที่เรียนมาอย่างหนักหน่วง มาใช้ให้เกิดประโยชน์  มองในภาพ บวก ความรู้ที่มี  เอาออกมา บอกกับเจ้าหน้าที่ บอกกับผู้มารับบริการ เช่น การใช้ยา ยากับยา กับผลไม้ ยากับกาแฟ ยากับแอลกอฮอล์ กินพร้อมกันเป็นอย่างไร พอเรามีความรู้  นำความรู้เผยแพร่ เปลี่ยนความคิดเดิมๆของคนไข้  ที่มา สถานีอนามัย( รพ.ใหม่) ต้องได้ยาอย่างน้อย 2-3 อย่าง ไม่งั้นไม่กลับ ขอยาธาตุนำแดงด้วย(ตอนนี้ไม่ได้แล้วเพราะบัญชียา พย 51 ตัดเพราะมีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม)ผู้ที่ชอบฝากมาเอายา เจ้าหน้าที่ไม่ให้ เพราะไม่เห็นคนไข้ ไม่ได้วัดความดัน  ไม่ได้ตรวจร่างกาย  มาบุ๊ป ขอยา เจ้า  เอาสีขาว สีเหลือง ขอฉีดยาตวยเจ้า....  พออธิบาย ไม่ฟัง ดื้อดึงจะเอาเพราะเอาไปไว้ถ้าเป็นจะได้ไม่ลำบากมา ไม่ให้ก็ไม่พอใจ เอาไปบ่น เอาไปนินทา ต่างๆ นานา 

ชาวบ้านคิดว่ายาในสถานีอนามัยคุณภาพต่ำ รักษาไม่หาย(ใจร้อน)พอไปรักษาที่คลินิก หายเป็นปิดทิ้ง (ก็ได้เวลามันจะหายอยู่แล้ว) 30 บาทบ่นแล้ว บ่นอีก พอ ร้อย สองร้อยถึงไหนถึงกัน เจ้าของคลินิกก็ยิ้มคนไข้มาช่วยเก็บเงิน....วันแรกไป1 รักษาที่ สอ. ใจร้อน วันที่สองไปหาคลินิกหมอ กอไก่....ยังไม่รู้สึกจะหาย วันที่สาม ไปหาหมอชื่อ ขอ ไข่...ฉีด ยา ...มหัศจรรย์ไทยแลนด์เก่งแต้เก่งว่า ...ง

สิ่งเหล่านี้เป็นวงจรชีวิตของชาวบ้านทั่วไป มีฐานะหน่อยลูกซื้ออาหารเสริมมาให้ กระป๋องหลายพัน  ซื้อน้ำผลไม้ขวดพันกว่าบาท  เบาหวานหาย(หายที่ไหนน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นฉุดไม่อยู่)

ต่อไปนี้เป็นการปรับเปลี่ยน สถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลตำบล

พยาบาลเวชปฏิบัติอยู่ประจำ เพื่อทำหน้าที่ตรวจรักษาโรคเบื้องต้น พัฒนาคุณภาพบริการด้านการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ พยาบาลหลายคนที่มีประสบการณ์ด้านการรักษาโรคเบื้องต้น และมีทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถทำงานตรวจรักษาผู้ป่วยจนเป็นที่ยอมรับของชุมชน และสามารถพัฒนาเชื่อมโยงกับงานสาธารณสุข (รวมทั้งการสร้างเสริมสุขภาพ) ในชุมชนได้อย่างมี

ในฐานะที่ตัวเองกำลังเรียน ตัวเองคิดจากการเรียนในแต่ละวิชาว่าต้องนำไปใช้โดยจะเชิญ น้องพยาบาลเวชปฎิบัติทั้งหมดมาประชุมเพื่อวางแผนการทำงาน  การจัดทำแนวทางมาตรฐาน (CPG) การนิเทศงาน การให้คำปรึกษา (ทั้งต่อหน้า และทางไกล) ซึ่งทำแล้วตอนนี้ เรียกว่า สไกลป์ การส่งต่อผู้ป่วย การจัดประชุมวิชาการ (เช่น case conference การฟื้นฟูความรู้ใหม่) ส่งเสริมให้แสดงบทบาทอย่างอื่นเพิ่มเติม เช่น ร่วมดูแลผู้ป่วยคลินิกพิเศษ (เช่น คลินิกเบาหวาน ความดันโลหิตสูง) ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยง โดยให้แกนนำ อสม เป็นผู้ขับเคลื่อนในเชิงรุก

        แต่ ทั้งนี้ขอกำลังใจและแรงจูงใจ ให้เหมาะสมกับบทบาทความรับผิดชอบที่ถูกมอบหมาย รวมทั้งส่งเสริมให้มีการรวมตัวเป็นกลุ่มวิชาชีพเฉพาะสาขา เพื่อให้เกิดพลังในการพัฒนาวิชาชีพเวชปฏิบัติอย่างสืบเนื่องไป

 

หมายเลขบันทึก: 271080เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2009 20:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

เป็นเรื่องที่น่ายินดีค่ะ

  • มาเรียนรู้เรื่อง"กำเนิดโรงพยาบาลตำบล" ใช่มั้ยครับ?
  • มองว่า การทำงานของ สธ.เข้มแข็ง และเป็นระบบดี..
  • ขอบคุณสาระดีๆครับ

สำหรับผมเป็นสิ่งที่น่าใจหาย คำว่า สถานีอนามัย กำลังจะหายไป แล้วมีคำว่า .......

(แล้วแต่จะเรียกเข้ามาแทน)ณ. ตอนนี้ใช้ชื่อ โรงพยาบาลตำบล

ลองถามความคิดเห็นของประชาชนหรือหมออนามัย ว่าเขา พึงพอใจมากน้อยแค่ไหน? ผมกลัวว่า คำว่า โรงพยาบาลตำบล กำลังจะทำให้ประชาชน มองเหมือนกับ โรงพยาบาลอำเภอ ที่ย้ายเข้ามาใกล้ๆในชุมชนของเขา แล้วเขาก็ฝากเรื่องการรักษาพยาบาลไว้กับแพทย์หรือพยาบาล เป็นอะไรนิดอะไรหน่อยก็ต้องมาโรงพยาบาลตำบลแล้ว แทนที่จะดูแลตนเอง ป้องกันตนเองจากการเป็นโรคต่างๆ ให้ความรู้ทางปัญญาแก่ประชาชนให้มากที่สุด น่าจะเป็นการดีกว่าที่ประชาชนจะต้องพึ่งพิงโรงพยาบาลตำบลมากเกินไป

แค่ชือโรงพยาบาลตำบล ผมคิดว่า มันยังไม่ใช่ ดูเหมือนห่างๆๆอย่างไรไม่รู้ แต่ที่แน่ๆๆ คำว่า สถานีอนามัย ของผมกำลังจะค่อยหายไปทีละแห่ง ทีละแห่ง จนสุดท้าย อาจกลายเป็นตำนาน เหมือนคำว่า สุขศาลา

Health Center = Tambol Hospital หรือไม่?

ฝากไว้พิจารณาด้วยครับ แค่เป็นความคิดเห็นของหมออนามัยคนหนึ่งเท่านั้นครับ

ก็ใจหายเหมือนกัน จริงสินะ เพราะว่าการทำงาน ต่อไปเราต้องให้ชุมชนมามีส่วนร่วม

เราต้องส่งเสริมมากกว่า รักษา ตอนนี้ทำเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโดยให้ตัวเขาเองดูแลตนเองมี อสม เป็นแกนนำช่วยดูแลเป็นเพื่อนข้างเคียง และถ้าเราเป็น รพ ตำบล จะเกิดอะไร น่าคิดเห็นด้วยค่ะ

ไปๆมาๆ เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา หนีไม่พ้น ศาสนาเก่าแก่กลายพันธุ์มาเป็น "แท่ง"วรรณะแนวตั้งในระบบราชการไทย

บทบาทของ รพ.สต.คือมุ่งเน้นสร้างสุขภาพ ต้องสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจ เป็นกำลังใจเด้อ

ตาบใดที่เปลี่ยนจาก สถานีอนามัยเป็นศูนย์สุขภาพเปลี่ยนเป็นโรงพยาบาลตำบลแต่มีแพทย์ลงสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เจ้าหน้าที่ประจำมี 2-3 คน ก็ไม่ต่างอะไรกับ สถานีอนามัยเดิมหลอก

ความหวังของประชาชนกับคำว่า โรงพยาบาล ประจำตำบล ชาวบ้านคิดว่าจะต้องเหมือน โรงพยาบาลอำเภอ มีทุกอย่างแต่ที่ไหนได้ โครงสร้างก้อ ยังเหมือนเดิม เจ้า หน้าที่ มี เท่า เดิมแต่ กลับต้องมาแบกภาระและความคาดหวังของชาวบ้านกับคำว่าโรงพยาบาลประจำตำบล

สู้ๆๆครับ เป็นกำลังใจให้ครับ

ตั้งแต่จำความได้ อนามัย คือบ้าน ที่วิ่งเล่น คือสนามหญ้าหน้าสถานีอนามัย ลูกคนไข้ คือเพื่อนเล่นในยามเหงา ใจหายเหมือนกันถ้าจะไม่มีใครพูดคำว่า สถานีอนามัย อีกแล้ว

สถานีอนามัย ฟังดูแล้ว เหมือนเป็นที่พึ่งของคนทุกข์ในยามยาก แต่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ชวนให้สงสัยในบทบาท มากกว่ามาขอพึ่งในยามทุกข์ เหมือนศูนย์สุขภาพชุมชน จนเดี่ยวนี้ คนไข้ยังเรียกไม่ทันคุ้นหู จะเปลี่ยนอีกแล้ว

ถ้าเปลี่ยนชื่อจาก สถานีอนามัย มาใช้ชื่อ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแล้ว ชาวบ้านไม่โง่ ไม่จน และไม่เจ็บ และ ไม่หลอกตัวเอง ก็เปลี่ยนเถอะค่ะ เพราะระบบสุขภาพของคนไทย ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้บังคับบัญชา (แรงไปมั้ยคะ)

ไม่ทันแล้วหละ รพ.สต และสถานีอนามัย ณ วันนี้ก็เกิดการเปรียบเทียบ เช่นลูกเมียน้อย เมียหลวง

ปี 2554-2555 ก็มีครบ กว่าลูกเมียน้อยจะได้อะไรครบแบบเมียหลวง ชาวบ้านก็ร้องเรียนไม่รู้เท่าไหร่

รพ.สต บางแห่งก็ไม่อยากได้ ได้ก็เหนื่อย ไม่คุ้ม รพ.ที่เครือข่ายเดียวกันก็ไม่เอื้อต่อการเบิกยา ทั้งที่มีพยาบาลเวชปฎิบัติ

วุ่นวายจริงๆ

เราทำงานหนักขึ้น แต่ประชาชนได้รับผลน้อยเพราะมัวไปทำงานที่เป็นเอกสาร

ทำงานตามKPIของผู้บริหาร ไม่ใช่KPIที่ประชาชนได้รับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท