ทำไมต้อง HRD


การบริหารทรัพยากรมนุษย์

ทำไมต้อง HRD

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ((Human Resource Development) ความหมายของการพัฒนา คือ การทำให้ดีขึ้น การก้าวหน้า หรือมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development)

ในความหมายกว้าง หมายถึง การพัฒนาขีดความสามารถกำลังคนของประเทศ 

ในความหมายที่แคบ หมายถึง การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรในองค์การ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์

ในความหมายที่แคบลงไปอีก หมายถึง การพัฒนาปัจเจกชนให้ดีขึ้นให้มีคุณค่าขึ้น

ความจำเป็นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

เนื่องจากว่า มนุษย์เป็นศูนย์กลางแห่งการพัฒนา  ในทรัพยากร  4M   คือ  คน  วัตถุดิบ  เงินทอง  เครื่องจักร นั้น  คน นับว่าสำคัญที่สุด เพราะมนุษย์  เป็นทรัพยากร เพียงอย่างเดียว ที่มีชีวิตจิตใจ  เติบโตได้   เมื่อแก่เฒ่าลงไป  อาจจะลืม   อาจจะด้อยสมรรถภาพลง  แต่ก็กลับมามีสมรรถภาพเช่นเดิม หรือมากกว่าเดิมได้ด้วย   อีกทั้งมนุษย์สามารถกำกับดูแล  อีก  3M ที่เหลือ ได้อย่างดี   อย่างมีประสิทธิภาพ ทรัพยากรมนุษย์จึงถือว่ามีความสำคัญที่สุด เพราะ

  (1) คนเป็นผู้กำหนดทุกสิ่งในองค์การ

                1.1 ชนิดของผลผลิต

                1.2 วิธีการผลิต

                1.3 ปริมาณการผลิต

                1.4 คุณภาพของผลผลิต

   (2) คนเป็นทรัพยากรที่มีลักษณะพิเศษเพราะคน

                  2.1 มีความรู้สึก

                  2.2 มีความคาดหวัง

                   2.3 มีความเชื่อและมีอุดมการณ์

                 2.4 มีความจงรักภักดี

                  2.5 ความคิดริเริ่ม

คนที่มีคุณค่าต้องพัฒนาอะไรบ้าง

        (1) พัฒนาความรู้ (โดยการศึกษา)

        (2) พัฒนาชีวิต (โดยการสร้าง Characterที่ดี และเป็นแบบอย่างได้)

        (3) พัฒนาการทำงาน (โดยการฝึกอบรมและพัฒนา)

        การพัฒนาทั้ง 3 ด้านนี้ต้องทำอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

ด้วยเหตุที่มนุษย์เป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่า เต็มไปด้วยจิตวิญญาณ ชีวิตจิตใจ ความดีงามคุณธรรมต่างๆ ที่จะสามารถสรรสร้างโลกนี้ให้เต็มไปด้วยความสุข และสวยงาม หากมนุษย์ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพดังที่ท่านท่าน ดร.นพ.วิจารณ์ พานิช กล่าวไว้ว่าคนมีค่ามากกว่าเพชร เนื่องจากว่าคนไม่ใช่วัตถุไร้ชีวิตอย่างเพชร   คนมีมีชีวิต ซึ่งหมายความว่าเรียนรู้และงอกงามได้   การเรียนรู้ การพัฒนาจึงสามารถเอื้อให้คนทั้งแวววาว และงอกงาม   เกิดคุณค่ายิ่งกว่าการเจียระไนเพชรเป็นหมื่นเป็นแสนเท่า ความรู้ที่ได้รับจากการพัฒนาคือเครื่องมือให้คนเจียระไนตนเอง (http://gotoknow.org/blog/thaikm/269209)

ขอขอบคุณ สไลด์นำเสนองานของ ดร.ปรีชา เจ็งเจริญ ม.เชียงใหม่

คำสำคัญ (Tags): #hrd#km
หมายเลขบันทึก: 271001เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2009 15:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

คุณค่าของคนประเมินยากจริงๆครับ

จะเทียบกับเพชร หรือดอกบัว หรืออะไรที่เขามักจะเปรียบก็แค่เพียงค่า

แต่คุณค่า คงจะอยู่ที่ตัวของบุคคลนั้น ได้ทำประโยชน์ต่อส่วนรวมหรือไม่ รวมทั้งได้พัฒนา 3 ด้านที่อาจารย์กล่าวมากน้อยเพียงใดใช่หรือเปล่าครับ(ถ้าเพิ่มด้านจิตใจด้วยก็น่าจะยิ่งดีนะครับ)

ขอบคุณครับสำหรับคำแนะนำเพิ่มเติม น้อมรับครับผม

แวะมาทักทายกันนะคะ ขอบคุณสำหรับสิ่งดี ๆ

 

ขอบคุณนะสำหรับความรู้ใหม่ๆ

ขอบคุณทุกท่านที่ให้ข้อแนะนำเพิ่มเติม

P P P P

เข้ามาเยี่ยมชมผลงานน้องกรุงค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท