THESIS IN ARCHITECTURE


กว่าจะเป็นสถาปนิก เรียนอะไรมาบ้าง

ปีการศึกษา 2552 ได้รับโอกาสให้เป็นกรรมการวิทยานิพนธ์ และเป็นเลขาด้วยเพื่อการจับปูใส่กระด้ง และจัดการเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อให้นักศึกษาได้จบ และสำเร็จกันทุกๆคน

ปีนี้มีมาลงชื่อทำวิทยานิพนธ์ 56 คน จัดการหาอาจารย์ที่ปรึกษาให้ได้จนครบทุกคน และพร้อมในการเสนอหัวข้อในการทำงาน มีโครงการต่างๆมากมายที่น่าสนใจ โดยมีแนวทางในการเสนอหัวข้อดังนี้

 

. นโยบายและข้อแนะนำแนวทางการเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ทางสถาปัตยกรรม ปี

การศึกษา 2552 ให้นักศึกษาเลือกเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์โดยให้เป็นไปตามนโยบายและแนวทางการ

เสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ โดยให้พิจารณาประเด็น ดังต่อไปนี้

 

3.1 หัวข้อวิทยานิพนธ์ที่มีความเหมาะสมที่นักศึกษาสามารถเลือกมานำเสนอ ควรมีลักษณะดังนี้

3.1.1 เป็นอาคารทุกประเภทที่เข้าข่ายงานสถาปัตยกรรมซึ่งสร้างสรรค์สังคม และไม่ขัดต่อ

ศีลธรรมอันดีงามของประเทศ

3.1.2 เป็นโครงการที่มีความเป็นไปได้ มีความชัดเจนในด้านแนวคิดและองค์ประกอบทาง

สถาปัตยกรรม สามารถนำไปสู่การศึกษาและจัดทำรายละเอียดการออกแบบ โดยมี

วัตถุประสงค์และขอบเขตการศึกษาที่ชัดเจน สามารถนำไปพัฒนาและจัดทำแนว

ทางการออกแบบแก้ปัญหาได้

3.1.3 เป็นโครงการที่มีความสำคัญในระดับนโยบาย หรือสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์

การพัฒนาประเทศ

3.1.4 หากเป็นโครงการประเภทอาคารพาณิชยกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนเชิง

เศรษฐศาสตร์ จะต้องมีการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการในระดับเบื้องต้น เพื่อ

แสดงให้เห็นถึงโอกาสและความเป็นไปได้ของโครงการ

3.2 โครงการที่เหมาะสมกับการเป็นโครงการวิทยานิพนธ์ ควรมีขนาดของโครงการไม่ใหญ่ และไม่

เล็กจนเกินไป โดยให้คำนึงถึงระยะเวลาที่เหมาะสมและกำลังของผู้ทำวิทยานิพนธ์ และต้อง

แน่ใจว่าไม่เกิดปัญหาอุปสรรคในการเก็บข้อมูล

3.3 ห้าม เสนอหัวข้อและที่ตั้งโครงการซ้ำกับหัวข้อวิทยานิพนธ์ในปีการศึกษาก่อนหน้านี้ 2 ปี

3.4 ห้าม เสนอหัวข้อโครงการและอาคารที่มิได้มีที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย

3.5 ห้าม เสนอหรือคัดลอกผลงานจากหัวข้อและที่ตั้งซ้ำกับหัวข้อวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัย/

สถาบันการศึกษาอื่นๆ ในกรณีนี้ หากพิสูจน์ได้ว่าฝ่าฝืนในภายหลัง จะถูกพิจารณาให้ ตก (F)

ในวิทยาวิทยานิพนธ์

3.6 หัวข้อที่เสนอสามารถใช้หัวข้อที่เป็นโครงการจริงทั้งภาครัฐและเอกชนได้ แต่ทั้งนี้ในภาคการ

ออกแบบจะต้องมีแบบที่เป็นผลงานของนักศึกษาเองเท่านั้น ห้ามคัดลอกแบบจริงมาส่งโดย

เด็ดขาด หากฝ่าฝืนและพิสูจน์ได้ในภายหลัง ถือว่า ตก (F) ในวิชาวิทยานิพนธ์

3.7 กรณีอื่นใดที่นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น คณะกรรมการจะพิจารณาเป็นรายๆ ไปแล้วแต่

กรณี โดยผ่านการเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ในหัวข้อนั้นๆ

การทำวิทยานิพนธ์ เป็นการตั้งโจทย์และแก้ไขปัญหาทางสถาปัตยกรรม โดยการนำความรู้ที่ได้เรียนมาตลอดห้าปีมานำเสนอ และพิสูจน์ให้อาจารย์เห็นว่าตนมีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะออกไปประกอบอาชีพ และรับใช้สังคม

ในระบบของ สถาปัตย์ สจล. ที่ปฎิบัติกันมา คือจะมีการแต่งตั้งกรรมการห้าท่าน ที่จะดูนักศึกษาทั้งหมดในการขึ้นนำเสนองานขั้นสุดท้าย และมีที่ปรึกษาของนักศึกษา โดยสัดส่วนไม่เกิน อาจารย์หนึ่งท่านต่อนักศึกษาสามคน ที่จะดูแล ให้คำแนะนำ ระหว่างปี ก่อนที่จะส่งไปเสนองานในขั้นตอนสุดท้าย

เทอมหนึ่งนี้เป็นการทำภาคนิพนธ์ หรือ book part ที่จะมีข้อมูลต่างๆ เพื่อจะประกอบการออกแบบในเทอมสอง design part ต่อไป

 

 

หมายเลขบันทึก: 270798เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2009 03:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นนิสิตชั้นปี5กำลังจะเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ค่ะ แต่ยังไม่มีหัวข้อจะไปนำเสนออาจารย์เลยค่ะ กลุ้มที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองอยากทำอะไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท