อาการปวดศีรษะที่แสนทุกข์ทรมาน (ตอน 2 : 24-6-52)


อาการปวดศีรษะด้วยโรคไมเกรน ฝากความถึงบุคลากรทางการแพทย์และพยาบาล

ครั้งก่อนได้กล่าวถึงอาการปวดศีรษะด้วยโรคไมเกรนไปพอเป็นสังเขป  แต่วันนี้นึกขึ้นได้ว่าไม่ได้เขียนนานแล้ว เนื่องจากมีเวลาน้อย และมาระยะหลังปวดไมเกรนค่อนข้างบ่อย...แม้ว่าจะพยายามหาวิธีต่าง ๆ ดูแลตัวเองโดยใช้แพทย์ทางเลือกไม่ว่าจะเป็น  การนวด  การทำสมาธิ  การออกกำลังกาย การผ่อนคลาย  การประคบเย็น การรับประทานอาหารพืช  ผัก  ผลไม้  แม้กระทั่งกล้วยหอม  พยายามไม่กินเนื้อสัตว์ใหญ่ การพักผ่อนที่เพียงพอ พูดง่าย ๆ คือ  หลีกเลี่ยงทุกอย่างที่เป็นสิ่งกระตุ้น เริ่มต้นด้วยการรักษาโดยการใช้สมุนไพรจากหมอพื้นบ้าน  การรับประทานยาเพื่อป้องกันอย่างสม่ำเสมอโดยแพทย์แผนปัจจุบัน ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอร์ เรียกง่าย ๆ คือ  ใช้การรักษาแบบผสมผสาน  ดูแลตนเองอย่างสม่ำเสมอ 

ระยะหลังไม่ค่อยได้ดูแลตัวเองเพราะ ทำงานไม่เว้นวันเสาร์อาทิตย์  พักผ่อนน้อย  นอนไม่เป็นเวลา  รับประทานอาหารที่ละเว้นไปเสียนาน เช่น ชีส  ถั่ว  สะตอ  ลูกเนียง  และลูกเหลียง (หรือพืชตระกูลถั่วทั้งหลาย) ครั้งแรกก็เริ่มต้นรับประทานทีละน้อยไม่เป็นอะไร  จึงเพิ่มปริมาณขึ้นอาการปวดหัวแต่ไม่มากเท่าไร  เมื่อเพิ่มปริมาณขึ้นอาการปวดศีรษะก็เป็นบ่อยขึ้น  จนกระทั่งต้องไปพบแพทย์บ่อยครั้ง...

การไปพบแพทย์แต่ละครั้งนั่นหมายความว่า...มีอาการปวดที่รุนแรงแล้ว  ไม่สามารถรักษาและดูแลตัวเองได้  ถ้าคะแนนของความเจ็บปวดมี 10 คะแนน มันปวดจนไม่สามารถกำหนดเป็นคะแนนได้ ปวดจนอาเจียนและในที่สุดการรับประทานยา  และการได้รับยาฉีด  ซึ่งกว่าจะหายใช้เวลานานขึ้น   นอกจากนี้การได้รับยาฉีดบ่อย ๆ ก็มักถูกมองว่าติดยาฉีด  ซึ่งในความเป็นจริงคนไข้มักอดทน  และทำทุกวิถีทางเพื่อให้หายเพราะ  รู้ว่าอาการปวดจะดีขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อพ้นระยะ 48-72 ชั่วโมง 

ในปี  พ.ศ.  2541  ผู้เขียนได้ศึกษาเรื่อง  ปรากฏการเกี่ยวกับความเจ็บปวด  เวลาที่ผ่านมา  11  ปี ก็ได้ศึกษาเรื่อง  ความเจ็บปวดมาตลอด  (ผู้เขียนเริ่มมีอาการของโรคไมเกรนในปี 2548)    

ในปี  2552  นี้ก็ดีใจที่ได้เห็นวารสารเกี่ยวกับการปวด  มีแนวทางที่ชัดเจน ให้บุคลากรทางการแพทย์และพยาบาลนำมาใช้  แต่จะมีใครซักกี่คนเล่าได้ใช้และสนใจกับแนวทางนี้อย่างลึกซึ้ง  เลิกมองผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บปวดเป็นผู้ป่วยติดยาแก้ปวดซักที...ซึ่งบทเรียนที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย  จนถึงขั้นร้ายแรงมาก็มาก 

หากจะเป็นโรงพยาบาลที่พัฒนาแล้วก็ขอให้มองและใส่ใจกับผู้ป่วยเหล่านี้เสียใหม่... 

หมายเลขบันทึก: 270636เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2009 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มีนาคม 2012 20:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท