เยาวชนพอดี โรงเรียนพอเพียง


เยาวชนพอดี โรงเรียนพอเพียง


เยาวชนพอดี ร.ร."พอเพียง"


หลังทำกิจกรรมค่ายร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมากว่า 1 สัปดาห์ ตั้งแต่การวางแผน การแบ่งงาน ทั้งงานโครงสร้าง งานแปลงสาธิต บอร์ดนิทรรศการ และงานประชาสัมพันธ์ โดยมีการพบปะแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์

ผู้แทนนักศึกษาทั้ง 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ ผู้จัดทำโครงการตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง "ภูมิปัญญาผ้าทอมือ" พร้อมด้วยผู้แทนนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง และมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ผู้จัดทำโครงการ "ธนาคารเมล็ดพันธุ์" ต่างชื่นมื่นกันถ้วนหน้ากับความสำเร็จในพิธีส่งมอบทั้งสองโครงการ

โครงการดังกล่าวจัดขึ้นภายใต้โครงการแคมป์สนุกคิดกับชินคอร์ป ปีที่ 9 ตอน "เยาวชนพอดี โรงเรียนพอเพียง" ให้กับโรงเรียนและชุมชนภาคเหนือ เพื่อสร้างแหล่งเรียนรู้ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมและยั่งยืน พร้อมมอบเงินในการพัฒนาโครงการต่อเนื่องให้กับทั้งสองโรงเรียน โรงเรียนละ 3 หมื่นบาท ณ โรงเรียนบ้านป่าเลา อ.แม่ทา จ.ลำพูน และโรงเรียนประชาราชวิทยา อ.งาว จ.ลำปาง

นอกจากความร่วมมือร่วมใจกันแล้ว สิ่งที่ได้รับกลับมาซึ่งสร้างความสุขและอิ่มเอมใจกันทุกคน คือน้ำใจและความช่วยเหลือจากคนในชุมชนทั้งด้านข้อมูลองค์ความรู้ท้องถิ่นและอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ จนสามารถสร้างอาคารเล็กๆ เพื่อเป็นศูนย์วัฒนธรรมพื้นบ้านด้านการทอผ้า และธนาคารเมล็ดพันธุ์ที่ผสมผสานองค์ความรู้ท้องถิ่น เช่น การใช้หลักพืชผักดูแลกันเองให้เกิดขึ้นกับชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม




บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จัดทำโครงการแคมป์สนุกคิดกับชินคอร์ป ต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษา 500 คน จาก 20 มหาวิทยา ลัย สร้างสรรค์โครงการตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนที่เหมาะสมกับภูมิสังคม พร้อมปฏิบัติจริงด้วยตนเองร่วมกับครูอาจารย์ นักเรียน และชุมชนในโรงเรียนเป้าหมาย 10 โรงเรียน ใน 10 จังหวัดทั่วประ เทศ ภายใต้แนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง "สามห่วง สองเงื่อนไข" คือความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ภายใต้เงื่อนไขสำคัญ 2 ประการ คือมีความรู้และคุณธรรม

เก่ง นายเรวัตร ใจดี ชั้นปี 4 คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยา ลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้จัดทำโครงการภูมิปัญญาผ้าทอมือ จ.ลำพูน เล่าว่า ประทับใจ ความสามัคคีของคนทั้งค่ายที่ช่วยกันทำให้งานสำเร็จลุล่วง 7 วันของการทำงานระยะเวลาในการปรับตัวของทั้งนักศึกษาและคนในชุมชนช่วงแรกอาจยังไม่ราบรื่นมากนัก รู้จักและคุ้นเคยกันค่อนข้างน้อย งานอาจเดินไปได้ช้า ทั้ง 2 สถาบันต้องมานั่งคุยกันในที่ประชุมก็สามารถแก้ไขปัญหาได้และทำให้งานประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี




กิ๊ก กรรณิการ์ จันทร์หอม ชั้นปี 4 สาขาเทคโนโลยีศิลป์ หลักสูตร ออกแบบบรรจุภัณฑ์ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ ผู้จัดทำโครงการภูมิปัญญาผ้าทอมือ จ.ลำพูน กล่าวว่า ดีใจที่ได้เข้ามาศึกษาวัฒนธรรมของชุมชนที่มีเอกลักษณ์ด้านการทอผ้า ชาวบ้านยังทอผ้าจากฝ้ายที่ปลูกเอง เพาะเมล็ดพันธุ์ฝ้ายเอง ปั่นฝ้ายเอง ดีใจที่ได้มาร่วมสร้างศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นให้ชุมชนได้สืบทอดต่อไป ส่วนผลพลอยได้จากการทำงานร่วมกันคือความสัมพันธ์ที่ดีของทั้งสองมหาวิทยาลัย ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แม้จะต่างสถาบันก็เป็นห่วงกัน ช่วงหลังได้ใกล้ชิดกันมากขึ้นรู้สึกมีความสุขในการทำงานร่วมกัน

ส้ม น.ส.กนกพร ประสารสุข ชั้นปี 3 สาขาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ผู้จัดทำโครงการ ธนาคารเมล็ดพันธุ์ จ.ลำปาง กล่าวว่า คุ้มค่า สนุกมาก ได้ออกไปหาความรู้ ได้สัมผัสชีวิตชาวบ้าน ที่สำคัญสอนให้เราหัดและเรียนรู้การใช้ชีวิตพอเพียง ทำเอง ปลูกเอง ช่วยลดการ ใช้จ่าย ชาวบ้านซื้อขายกันเองเป็นการหมุนเวียนเศรษฐกิจในชุมชน

เบิร์ด นายชัยยุทธ ตรีโสภณ ชั้นปี 4 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระ เกียรติ ผู้จัดทำโครงการธนาคารเมล็ดพันธุ์ จ.ลำปาง กล่าวว่า การเข้าค่ายเพื่อพัฒนาชุมชนมักมีการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย ทุกความคิดต่างมีเหตุผลที่ดีกันทุกคน จึงจำเป็นต้องประชุมกันเพื่อปรับความคิดให้มีจุดมุ่งหมายไปในทางเดียวกัน

"ตอนแรกยังคิดกันว่าโครงการที่ทำจะยิ่งใหญ่เกินตัวนักศึกษาหรือไม่ แต่เมื่อได้รับความร่วมมือร่วมใจกันจากทุกฝ่าย ทั้งโรงเรียน ชาวบ้านในชุมชน และผู้ที่มีส่วนร่วมในโครงการก็สำเร็จลงได้"

ขอบคุณ สดจากเยาวชน (หน้า24)  จากข่าวสดรายวัน(14/5/09)   เอื้อเฟื้อข้อมูลครับ

หมายเลขบันทึก: 270427เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2009 17:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท