ความหมาย การศึกษา


การศึกษา

     วันนี้ได้ศึกษาค้นคว้าได้ความหมายและความสำคัญของการศึกษา  การศึกษา : มีกี่ระดับ  การศึกษา : มีกี่ประเภท  และ  การศึกษา : มีกี่ระบบ ลองอ่านดูนะคะ มีประโยชน์ค่ะ

การศึกษา (Education)

 

1.      การศึกษา : คืออะไร ?

 

การศึกษา คือกระบวนการของการสอน การฝึกและการเรียน, โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ทำกันใน

โรงเรียนหรือในวิทยาลัยต่าง ๆ, เพื่อปรับปรุงความรู้และพัฒนาทักษะต่าง ๆ. (1)(Education : a process ofteaching, training and learning, especially in schools, or colleges, to improve knowledge anddevelop skills.)

 

... การศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 ระบุว่าการศึกษา เป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้, การฝึกการอบรม, การสืบสานทางวัฒนธรรม,การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ, การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อมสังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต.”

การเรียนรู้แบบท่องจำ คือกระบวนการเรียนโดยการย้ำหรือซ้ำกระทั่งเราจำมันได้ มากกว่าโดย

อาศัยการเข้าใจในความหมายของมัน.

( 1 ) (Rote Learning : the process of learning something by repeating it untill you  
                      remember rather than by understanding the meaning of it.)

ดังนั้นในกระบวนการสอน(Teaching Process) จึงมิใช่การสอน(Teaching) เพียงเพื่อให้ผู้เรียนจำเนื้อหาสาระ(Content) หรือเป็นการถ่ายทอดความรู้แต่เพียงอย่างเดียว, เพราะความรู้ท่วมหัว อาจจะเอาตัวไม่รอด. กระบวนการสอนที่ดีคือการสอนที่ทำให้ผู้เรียนเกิดปัญญากล่าวคือต้องทำให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์และบูรณาการความรู้ที่ได้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและต่อสังคม.เช่นเดียวกับการฝึก (Training) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนเกิดทักษะ(Skill), การฝึกมิใช่เป็นเพียงการทำแบบฝึกหัดเพื่อให้เกิดทักษะในการแก้ปัญหาโจทย์ (Problem Solving) เพื่อให้ทำข้อสอบได้, หรือเป็นเพียงการทำการทดลอง (Experiment) เพื่อให้ได้ผลการทดลอง, หรือเป็นเพียงการลงมือปฏิบัติ (Practice)เพื่อให้เกิดทักษะในการปฏิบัตินั้น. การฝึกที่ดีจะต้องฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์และบูรณาการด้วย. การรู้จักคิด (วิเคราะห์และบูรณาการ) เป็นทักษะและสามารถปรับปรุงได้

(2) (Thinking is a skill and can beimproved.).

              (1) Wehmeier, Sally. Oxford Advanced Learner’s Dictionary. 6th ed. USA : Oxford  
                   University Press,2000.

(2) Edward de Bono. The De Bono Code Book. USA : Penguin Books, 2000.

 

2. การศึกษา : มีกี่ระดับ ?

 

การศึกษาแบ่งตามมิติ (Dimension) ของเนื้อหา(Content) ได้ 2 ระดับ  ( 3 ) คือ :-

1. การศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการศึกษาในระดับโรงเรียน(School) แบ่งย่อยได้ 5 ระดับ ดังนี้ :-

1.1) ระดับอนุบาล (อนุบาล 1 – 3)

1.2) ระดับประถมต้น (ประถม 1 – 3 หรือช่วงชั้นที่ 1)

1.3) ระดับประถมปลาย (ประถม 4 – 6 หรือช่วงชั้นที่ 2)

1.4) ระดับมัธยมต้น (มัธยม 1 – 3 หรือช่วงชั้นที่ 3)

1.5) ระดับมัธยมปลาย (มัธยม 4 – 6 หรือช่วงชั้นที่ 4)

2. การศึกษาระดับอุดมศึกษา เป็นการศึกษาในระดับวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย(College or University)  แบ่งย่อยได้เป็น 2 ระดับ คือ :-

2.1) ระดับปริญญาบัณฑิต (Undergraduate) คือระดับปริญญาตรี

2.2) ระดับบัณฑิตศึกษา (Postgraduate) คือระดับปริญญาโทและปริญญาเอก

 

3. การศึกษา : มีกี่ประเภท ?

การศึกษาแบ่งตามมิติ(Dimension) ของประเภทได้ 3 ประเภท ดังนี้ :-

1. ประเภทการศึกษาขั้นสูง (Higher Education)  คือการศึกษาในมหาวิทยาลัยหรือในวิทยาลัย หรือเป็นการศึกษาในระดับอุดมศึกษานั่นเอง.  ( 4 )(Higher Education : education at a university or a college.)

2. ประเภทการศึกษาวิชาชีพหรือการศึกษาต่อ (Further Education) เป็นการศึกษาต่อ เมื่อจบการศึกษาภาคบังคับจากโรงเรียน, แต่ไม่ใช่การศึกษาในมหาวิทยาลัย. ส่วนใหญ่จะเปิดสอนกันในวิทยาลัยประเภทการศึกษาวิชาชีพ และรายวิชาต่าง ๆ ส่วนมากที่สอนมีจุดมุ่งหมายเพื่อเตรียมตัวให้ผู้เรียนออกไปทำงานได้.

3. ประเภทการศึกษาผู้ใหญ่หรือการศึกษาต่อเนื่อง (Adult Education, also Continuing Education)เป็นการศึกษาที่เตรียมสำหรับให้ผู้ใหญ่ซึ่งอยู่นอกระบบการศึกษาแบบมีรูปแบบ (คืออยู่ในระบบการศึกษาแบบไม่มีรูปแบบ) โดยปกติจะเป็นวิธีการจัดการสอนในห้องเรียนในตอนเย็น.

4. การศึกษาประเภทอื่น ๆ ได้แก่ :-

- ประเภทการศึกษาภาคบังคับ

- ประเภทการศึกษากวดวิชา

- ประเภทการศึกษานอกสถานที่หรือการศึกษากลางแจ้ง (Outdoor Education)

การศึกษาภาคบังคับ (รายวิชา) (รายวิชา) Education

สำหรับผู้จบ ม.ต้น สำหรับผู้จบ ม.ปลาย (การศึกษาผู้ใหญ่)

 

4. การศึกษา : มีกี่ระบบ ?

การศึกษาแบ่งตามมิติ (Dimension) ของหลักสูตร(Cirriculum) ได้ 2 ระบบใหญ่ ๆ คือ :-

1. ระบบการศึกษาแบบมีรูปแบบหรือแบบมีหลักสูตร (Formal Education System)

คือระบบการจัดการศึกษาที่มีรูปแบบ (Form) หรือมีการกำหนดเป็นหลักสูตร(Cirriculum) เอาไว้.

ระบบการศึกษาแบบมีรูปแบบหรือแบบมีหลักสูตร มีวิธีจัดการศึกษาได้หลายรูปแบบคือ :-

1.1 แบบจัดการสอนแบบมีชั้นเรียน (Classes) แบบในระบบ(3)

ได้แก่มหาวิทยาลัยจำกัดรับโดยทั่วไป.

1.2 แบบตลาดวิชา (Open Admission) แบบในระบบและนอกระบบ (ผสมกัน)

อาจจัดการสอนแบบมีชั้นเรียน(Classes)หรือไม่มีชั้นเรียนก็ได้ เช่น มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

1.3 แบบการเรียนทางไกล (Distance Learning) - แบบนอกระบบ(3)

เป็นการจัดการสอนโดยไม่มีชั้นเรียน แต่เป็นการสอนทางไกลโดยผ่านสื่อและเทคโลยี

เพื่อการศึกษาต่าง ๆ เช่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

1.4 แบบอัธยาศัย (3)

คือให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ, ศักยภาพ, ความพร้อม, และโอกาส

โดยศึกษาจากบุคคล, ประสบการณ์, สังคม, สภาพแวดล้อม, สื่อ, หรือแหล่งความรู้อื่น ๆ.

2. ระบบการศึกษาแบบไม่มีรูปแบบ หรือแบบไม่มีหลักสูตร (Informal Education System)

คือระบบการจัดการศึกษาที่ไม่มีรูปแบบ(Informal) หรือไม่มีการกำหนดเป็นหลักสูตร (Cirriculum)

เอาไว้ ได้แก่ การศึกษาผู้ใหญ่หรือการศึกษาต่อเนื่อง (Adult / Continuing Education) ประเภทสารพัดช่างที่เปิด

สอนเป็นรายวิชา เป็นต้น . วิธีการจัดการศึกษาสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น แบบมีชั้นเรียน, แบบตลาดวิชา,

แบบเรียนทางไกล, หรือแบบอัธยาศัย เป็นต้น.

 

5. บทสรุป :

ดังนั้นเมื่อพูดถึงเรื่องการศึกษาจึงต้องทำความเข้าใจหรือนิยามให้ตรงกันก่อนว่าการศึกษา

คืออะไร, มีความหมายอย่างไร ? และจะต้องคิดให้ดีก่อนว่ากำลังจะพูดถึงการศึกษาในมิติใหน ? เช่นในมิติของระดับ , ประเภท, หรือระบบ เป็นต้น. เรื่องบางอย่างที่มีเพียงมิติเดียวหรือ 2 มิติ ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจง่าย. การศึกษาเป็นเรื่องที่มีหลายมิติและต้องนิยามความหมายให้เข้าใจตรงกันก่อนด้วย จึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะเข้าใจยากสำหรับสมองของมนุษย์ที่ไม่ค่อยได้ฝึกคิดแบบหลายมิติ. ยกตัวอย่างเช่น :-(3) ... การศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542, มาตรา 15(1),มาตรา 15(2),มาตรา 15(3) ตามลำดับ 5

 

 

1. มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีการจัดการศึกษาอย่างไร?มิติระดับ เป็นการศึกษาระดับ อุดมศึกษา (College or University)มิติประเภท ประเภทการศึกษาระดับสูง (Higher ducation)

มิติระบบ ใช้ระบบการศึกษาแบบมีหลักสูตร (Formal Education System)จัดการศึกษา แบบตลาดวิชาและแบบเรียนทางไกลผสมกัน.

2. โรงเรียนในบ้าน (Home School) สามารถจัดการศึกษาได้ ดังนี้ :-มิติระดับ เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน (School) มิติประเภท ประเภทการศึกษาภาคบังคับ (อาจรวมถึงระดับมัธยมปลายด้วยก็ได้) มิติระบบ ใช้ระบบการศึกษาแบบมีหลักสูตร(Formal Education System)กล่าวคือมีการกำหนดหลักสูตรของโรงเรียนในบ้านเอาไว้โดยชัดเจน เช่น เป็นหลักสูตรช่วงชั้นของสถานศึกษาเอง หรือเป็นหลักสูตรแกนกลางแบบชั้นปีของกรมวิชาการก็ได้.สามารถจัดการศึกษาแบบมีชั้นเรียน, แบบทางไกล หรือแบบอัธยาศัยได้.

3. โรงเรียนกวดวิชา (Tutorial School) สามารถจัดการศึกษาได้ดังนี้ :-มิติระดับ เป็นการศึกษา  ขั้นพื้นฐาน (กวดวิชาระดับอนุบาล. 6) หรือ การศึกษาระดับอุดมศึกษา (กวดวิชาระดับปริญญาตรีปริญญาโท.)มิติประเภท ประเภทการศึกษากวดวิชามิติระบบ ใช้ระบบการศึกษาแบบไม่มีหลักสูตร

สามารถจัดการศึกษาแบบมีห้องเรียน, แบบทางไกล, แบบอัธยาศัย เป็นต้น.

4. โรงเรียนอาชีวะศึกษาเอกชน (Private Vocational School) สามารถจัดการศึกษาได้ ดังนี้ :-

มิติระดับ เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ถ้าจัดสอนในระดับ ปวช.)เป็นการศึกษาระดับอุดมศึกษา (ถ้าจัดสอนในระดับ ปวส.)มิติประเภท ประเภทการศึกษาวิชาชีพ (Further Ecucation) มิติระบบ ใช้ระบบการศึกษาแบบมีหลักสูตร (Formal Education System) สามารถจัดการศึกษาแบบมีห้องเรียน,แบบทางไกล เป็นต้น.

จากตัวอย่างดังกล่าวข้างต้นเป็นการวิเคราะห์โดยใช้หลักของมิติต่าง ๆ ที่ได้กล่าวไว้แล้ว. ถ้านำหลักดังกล่าวไปใช้ในการคิดวิเคราะห์เพื่อกำหนดระดับ, ประเภท, ระบบ, และรูปแบบการจัดการศึกษาของโรงเรียนสอนทำผม,โรงเรียนสอนตัดเสื้อ, โรงเรียนสอนทำอาหาร ฯลฯ ก็จะทำได้ง่ายขึ้น. ปัจจุบันมีข่าวที่ทำให้สับสนมากในเรื่องของการจัดการศึกษาของกรมการศึกษานอกโรงเรียน(กศน.)และในเรื่องจุดมุ่งหมายของการตั้งวิทยาลัยชุมชนซึ่งจะส่งผลถึงการกำหนดระดับ, ประเภท, ระบบ, และรูปแบบการจัดการการศึกษาของวิทยาลัยชุมชนต่อไป. ดังนั้นจึงควรที่จะลองนำหลักของมิติต่าง ๆ ดังกล่าวนี้ไปใช้ในการคิดวิเคราะห์เพื่อให้การจัดการการศึกษาของไทยดำเนินไปอย่างมีร่องมีรอย กล่าวคือมีการกำหนดระดับ, ประเภท, ระบบ, และรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อ

การปรับปรุงและพัฒนาการศึกษาของไทยให้เจริญก้าวหน้าต่อไป.  พีระ พนาสุภน 25 กุมภาพันธ์ 2547__

 

คำสำคัญ (Tags): #การเรียนรู้
หมายเลขบันทึก: 269867เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2009 22:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีจ๊ะพี่เตาะ ไฟแรงน่าดูนะพี่เรา มีอะไรดีๆ มาแนะนำเพียบ เอ! แล้วจะมีคนส่งอะไรดีดีให้อ่านในอีเมล์ดีมั๊ยเนี้ย

แวะมาเยี่ยม ได้รับความรู้ดีๆ มากมายครับ

แวะมาหาความรู้ เยี่ยมชมผลงานค่ะ

แวะมาส่งยิ้มให้นะจ๊ะ พี่สาว

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท