การจัดทำเกณฑ์ดัชนีชี้วัดงานสายสนับสนุน


วันนี้ (4 พ.ค.49) เสียดายมากที่ไม่ได้เข้าร่วมการรวมพลังคนเขียนบล็อก เนื่องจากติดการประชุมคณะทำงานเพื่อจัดทำเกณฑ์ดัชนีชี้วัดงานสายสนับสนุนของคณะ  หลังจากการประชุมได้พบว่าสิ่งสำคัญอันดับแรกคือการให้สมาชิกในกลุ่มงานหรือในองค์กรมีส่วนร่วมในการกำหนดเกณฑ์ฯ โดยต้องหลอมรวมความคิดร่วมกันให้ได้ก่อนว่าภารกิจของงานสนับสนุนที่จะตอบสนองกับพันธกิจ ภารกิจ และยุทธศาสตร์ขององค์กร/หน่วยงานมีรายละเอียดอย่างไรแล้วจึงนำภารกิจนั้นมาเป็นกรอบที่ใช้ในการกำหนดตัวชี้วัดและเกณฑ์ดัชนีชี้วัดงาน  เพราะการดำเนินการดังกล่าวจะทำให้สมาชิกในองค์กรรับทราบและเข้าใจร่วมกันถึงภารกิจที่รับผิดชอบ/การจะทำให้ภารกิจนั้นบรรลุตามเป้าหมายขององค์กรควรจะทำอย่างไร และสมาชิกแต่ละคนจะมีส่วนร่วมในความสำเร็จนั้นอย่างไรบ้าง  กฏสำคัญคือกรอบงานในการกำหนดตัวชี้วัดและเกณฑ์ดัชนีชี้วัดงาน  อย่าตั้งต้นจากการนำภาระงานของคน(ที่ปฏิบัติงานอยู่จริง ณ ปัจจุบัน) ให้ตั้งต้นจากพันธกิจ ภารกิจและยุทธศาสตร์ขององค์กร/หน่วยงาน

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 26935เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2006 17:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผมสนับสนุนความเห็นนี้เต็มที่ครับ

วิจารณ์ พานิช

การกำหนดตัวชี้วัดและเกณฑ์ดัชนีชี้วัดงาน 

ในส่วนของมหาวิทยาลัยขอนแก่น คงต้องให้สัมพันธ์กับเกณฑ์สมรรถนะของแต่ละตำแหน่งที่กองการเจ้าหน้าที่ได้ทำไปแล้วด้วยนะคะ

ใช่เลยครับ....ผมขอต่อยอดจากความคิดนี้ไปสู่ระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน ที่เขียนที่  http://gotoknow.org/blog/technology-kku-km/32588   ฝากพี่หม่องให้เป็นการบ้านหาวิธีให้ผมด้วย อิอิอิ

สวัสดีปีใหม่ ขอให้มีความสุข สดขื่น สมหวัง ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท