พ่อผาย สร้อยสระกลาง


ชื่อกลุ่มอีโต้น้อย มีที่มาจากจุดเริ่มต้นของพ่อผาย ที่มีมีดอีโต้ติดตัวมาเล่มเดียว ไม่มีทุนหรือปัจจัยการผลิตอย่างอื่นเลย

พ่อผาย 

เป็นปราชญ์ชาวบ้านผู้ริเริ่มศูนย์การเรียนรู้ชุมชนกลุ่มอีโต้น้อย  ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านสระคูณ ต.โคกล่าม อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์   ทำกิจกรรมและเผยแพร่ความรู้ในด้านต่าง ๆ อาทิ  การทำเกษตรผสมผสานตามแนวทฤษฎีใหม่  การจัดบุญประทายข้าวเปลือก  การเทศน์มหาชาติของทุกหมู่บ้าน  โครงการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม  การรักษาโรคด้วยสมุนไพรพื้นบ้านด้วยหมอยาสมุนไพร หมอนวด และหมอขวัญ ฯลฯ

พ่อผายบอกว่าผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นปราชญ์ชาวบ้านทั้งหลาย ล้วนแต่เคยผ่านประสบการณ์ล้มเหลวจากการปลูกพืชเศรษฐกิจ ทั้งข้าวโพด มันสำปะหลัง หรือแม้กระทั่งพืชหลักอย่างการทำนาปลูกข้าวมาแล้วทั้งนั้น เพราะการที่ต้องพึ่งพากลไกตลาด และปัจจัยการผลิตที่ต้องลงทุนสูง แต่ขาดอำนาจต่อรอง ไม่สามารถกำหนดราคาเองได้ แทนที่จะมีฐานะดีขึ้น กลับเป็นหนี้ที่พอกพูนขึ้น ทั้งยังทำลายทุนทางสิ่งแวดล้อม ทำลายทุนทางสังคมและครอบครัว ลูกหลานต้องจากบ้านไปทำงานในเมือง ดังนั้นจึงต้องเปลี่ยนแนวคิดใหม่ จากการมุ่งหวังความร่ำรวย หันกลับมาสร้างดัชนีวัดชีวิตของตัวเองใหม่ว่าจะต้องมีหลักประกันในชีวิต มีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง มีสิ่งแวดล้อมดี มีอิสรภาพ มีความภาคภูมิใจ และเข้าถึงธรรมะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง

 

ชื่อกลุ่มอีโต้น้อย มีที่มาจากจุดเริ่มต้นของพ่อผาย ที่มีมีดอีโต้ติดตัวมาเล่มเดียว ไม่มีทุนหรือปัจจัยการผลิตอย่างอื่นเลย แต่ด้วยความที่เคยบวชเรียนมาก่อน พ่อผายจึงยึดถือหลักธรรมะของการพึ่งตนเอง คือ “อตฺตาหิ อตฺโน นาโถ” พร้อมกับมองในเชิงบวกว่าตนเองก็มีทุนติดตัวมา คือ ร่างกายที่พ่อแม่ให้มา มือขวาพ่อให้มา 5 แสน มือซ้ยพ่อให้มา 5 แสน แล้วเริ่มลงมือขุดสระ เลี้ยงปลา ปลูกต้นไม้ ทำเกษตรผสมผสานให้พึ่งตนเองได้ จนพัฒนามาเป็นศูนย์การเรียนรู้ทางการเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในปัจจุบัน

จุดเด่นของศูนย์เรียนรู้ของพ่อผาย สร้อยสระกลาง  ได้แก่  เป็นศูนย์เรียนรู้ที่เน้นการพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง  มีการจัดการด้านการขยายเครือข่ายอย่างชัดเจน ทั้งในระดับกลุ่ม หมู่บ้าน อำเภอ และจังหวัด สร้างเด็กรักถิ่นมาสืบทอดการเรียนรู้   มีการจัดการด้านกองทุนต่างๆ เช่น กองทุนออมน้ำ กองทุนวัวควาย กองทุนวัฒนธรรม เป็นต้น  นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ๆ อย่างเป็นระบบ วิทยากรจะไม่เอาข้าราชการหรือนักวิชาการ แต่ต้องเป็นคนในท้องถิ่นที่ผ่านการปฏิบัติจริงจนประสบความสำเร็จ โดยมีบ้านพ่อผายเป็นศูนย์การเรียนรู้ และบ้านของวิทยากรเป็นฐานการเรียนรู้ในแต่ละเรื่อง นอกจากนี้ยังมีกติกาว่าคนที่มาศึกษาดูงานที่ศูนย์นี้ให้ศึกษาอย่างเดียว ไม่ต้องแนะนำเพราะจะให้ให้คนอื่นหลงทางไปด้วย

เมื่อถามถึงมุมมองต่อการศึกษาในปัจจุบัน พ่อผายบอกว่ายังไม่น่าพอใจนัก เพราะมุ่งสอนให้คนรู้เฉพาะทาง เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน แต่ไม่ได้สอนให้พึ่งตนเองได้ การศึกษาควรฟื้นฟูความรู้ด้านประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ท้องถิ่น จะได้รู้จักทุนของชุมชน รู้ปัญหาและพัฒนาการของความขัดแย้งที่ทำให้ชาติอ่อนแอ ได้รู้จักฐานทรัพยากรของท้องถิ่น ครูอย่าให้แต่เด็กท่องจำ แต่ต้องให้ปฏิบัติและคิดวิเคราะห์ไปด้วย

 

หมายเลขบันทึก: 269246เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2009 14:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ผมประทับใจกับแนวปฏิบัติของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนของกลุ่มอีโต้น้อยมากที่สามารถนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับชีวิตจริงได้เป็นอย่างดี สามารถเป็นแบบอย่างให้กับผู้อื่นได้ และประทับใจกับมุมมองด้านการศึกษาของพ่อผาย ซึ่งในปัจจุบันการเรียนรู้ของนักเรียนนั้นมิได้ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นผู้รู้รอบเลย และมีพฤติกรรมถดถอยทางด้านคุณธรรมจริยธรรมมาก ยึดติดในวัตถุและห่างไกลธรรมชาติซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างมาก

หืมมมมมมมมมมมมมมมมมม

จิ๊ดใจมากครับ

ผมอยากมีชีวิตแบบนี้แหละครับ

ขอบคุณที่พยายามเขียนข้อมูลที่ดีอย่างนี้ ขอบคุณที่เปิดเผยให้เห็นคนต้นแบบของสังคม

เป็นแรงบันดาลใจ ให้สู้เพื่อหัวใจที่พอเพียงครับผม

กอล์ฟ

โชคธำรงค์

ขอบคุณครับอาจารย์ธีรพงศ์ จุลสายพันธ์ ที่แวะมาเยี่ยมเยือน

ยังมีผู้นำชุมชนอีกหลายท่านที่สนใจเรื่องการศึกษา

ซึ่งส่วนใหญ่เห็นว่าการพัฒนาการศึกษาไม่ใช่เพียงปรับปรุงเรื่องกระบวนการเรียนรู้และเพิ่มเครื่องไม้เครื่องมือเท่านั้น แต่ยังต้องปรับเรื่องฐานคิดและเป้าหมายของการจัดการศึกษาด้วยครับ

จะจี๊ดมากกว่านี้อีกครับคุณหนุ่มลุ่มน้ำปิง ถ้าถูกถามว่าแต่ละคนทำงานมาเป็นสิบปีมีบ้านเป็นของตัวเองหรือเปล่า

หนี้สินลดลงหรือเพิ่มขึ้น

มีเวลาพบปะพูดคุยกับเพื่อนฝูงญาติพี่น้องหรือเปล่า

มีเวลาเข้าวัดทำบุญบ้างมั๊ย

ได้กินอาหารดีๆที่ไม่มีพิษภัยและมีอากาศดีๆไว้หายใจบ้างมั๊ย

และอีกสารพัดคำถามที่เราโหยหาในยุคปัจจุบัน

แถมยังมีคำถามทิ้งท้ายว่าเส้นทางที่เราเดินมานั้นถูกต้องหรือยัง

 

ได้ดูทางทีวี ก็ชอบใจพ่อผายแก่มาก มาเพิ่มความรู้จัก เข้าใจในบทความของคุณเหลาด้วยแล้วยิ่งประทับใจมากข้น และขอนำบางส่วนไปเผยแพร่ต่อ ขอบคุณครับ

ผมไปอบรมมาแล้ว ดีมากๆๆ ใครที่ไม่เคยไปขอเชิญนะครับ แล้วจะทึ่งกับความคิด ภูมิปัญญาท้องถิ่น ขอคุณ พ่อผาย สร้อยสระกลาง วิทยากรทุกท่าน (ผมทึ่งกับวิทยากรมากครับ ไม่ต้องไปหาวิทยากรจากที่ใหนเลย เอาชาวบ้านที่มีประสบการตรงมาเป็นวิทยกร และเป็นวิทยากรกระบวนการทีเก่งมากๆๆ โอกาสหน้าจะไปอีกครับ

มักม๋อง พ่อใหญ่ ว่าเป็นนายกเอง นี่ละมักหลาย

อ้ายเหลา ลำลูกกา เว่าได่ถูกใจหลายเด้อ โดยเฉพาะ ความเห็นที่ 4 โดนๆๆ

ร่วมกันแสดงความชื่นชมพ่อผายได้ที่ facebook fan page "พ่อผาย สร้อยสระกลาง ปราชญ์เศรษฐกิจพอเพียง" http://u.nu/4utq9

ตอนนี้ดิฉันมีอาชีพรับราชการ แต่อยากมีชีวิตแบบที่คุณเหลา ลำลูกกา บอกมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

โดนจริงๆ ตอนนี้กำลังหาทางโอนย้ายกลับบ้านเกิด ถ้าได้ย้าย จะขอไปเยี่ยมชมสวนพ่อผายบ้างนะคะ

ยอดเยี่ยมครับ นำเสนออีกครับ 


ตอนนี้กำลังทำงานโรงงานอยู่ กำลังศึกษาเกี่ยวกับเศษฐกิจพอเพียงอยู่ น่าสนใจมากมาก

เวลาล้าๆกับการทำงานบนโต๊ะ และการประชุมเยอะแยะมากมายในห้องเล็กๆที่สำนักงาน คิดถึงช่วงเวลาที่ได้ลงไปพูดคุยกับปราชญ์ชาวบ้านอย่างพ่อผายมากๆเหมือนได้เติมพลัง คิดถึงระเบียงบ้านลมเย็นและเสียงไก่ขันยามเช้ามา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท