กฎหมายสุขภาพฉบับแรกของไทย


พรบ.สุขภาพแห่งชาติ

                          บันทึกการเรียนรู้
            “เรื่องกฎหมายสุขภาพฉบับแรกของไทย”
    เหลียวหลังย้อนไปในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาของการถือกำเนิดกฎหมายสุขภาพฉบับแรก ที่ผ่านขบวนการจัดทำอย่างมีส่วนร่วมหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และประชาชน และมีการประกาศ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ 
วันที่ 19 มี.ค 2550  ได้เปิดแนวคิดใหม่ในการดูแลสุขภาพคนไทยอย่างเป็นองค์รวม และครอบคลุมทุกมิติทั้งกาย ใจ  สังคม จิตวิญญานและปัญญา (การรอบรู้เชื่อมโยงสรรพสิ่งไม่ใช่รู้เป็นเสี้ยวๆ) และมีสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนกฎหมายใดๆในสังคมไทย คือการสร้างเครื่องมืออันสำคัญในการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยออกแบบให้ประชาชนสามารถรวมตัวกันจัดสมัชชาสุขภาพขึ้นมา เพื่อกำหนดนโยบายสาธารณะ  มีสิทธิขอให้มีการประเมินและสามารถร่วมประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ และมีสิทธิได้รับข้อมูล
คำชี้แจงจากหน่วยงานของรัฐก่อนที่จะลงมือประเมินโครงการใดๆที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพได้ รวมถึงมีสิทธิด้านสุขภาพสำหรับ เด็ก ผู้พิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสต่างๆ  โดยกระทรวงสาธารณสุขยังคงเป็นหน่วยงานหลักของรัฐบาลในการดำเนินงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข
ภายใต้การเสนอแนะนโยบายและยุทธศาสตร์จากคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ที่ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการและ ได้ผ่านร่าง “ธรรมนูญสุขภาพ” ฉบับแรกหลังผ่านการยกร่างจากหลายเวทีเพื่อเข้าสู่ ครม. ที่ถือเป็นพิมพ์เขียว หรือแผนที่ทางเดินของระบบสุขภาพที่คนไทยต้องการและกฎหมายกำหนดว่าเมื่อใช้
รัฐธรรมนูญไปแล้ว อย่างน้อยต้องมีการทบทวนใหม่ทุก
5 ปี ซึ่งการนำไปใช้จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบสุขภาพมากน้อยเพียงใดและย่อมขึ้นกับการมีส่วนร่วมในขบวนการร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมรับผล ในด้านประชาชนเองต้องเป็นตัวหลักในการกำหนดนโยบายสุขภาพชุมชน
บุคลากรสาธารณสุขต้องปรับมาเป็นผู้ให้การสนับสนุนและร่วมเรียนรู้กับประชาชนในกระบวนการทำงานต่าง ๆ รวมถึงการเข้าร่วมกับประชาชนในการทำสมัชชาสุขภาพในพื้นที่ เฉพาะประเด็น และแห่งชาติ เพื่อผลักดันให้เกิดนโยบายสาธารณะที่มีผลดีต่อสุขภาพ ผ่านคณะกรรมการสุขภาพ
แห่งชาติไปสู่คณะรัฐมนตรีให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือเครือข่ายภาคประชาชน
นำไปปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดผลสำเร็จต่อไป 
สุดท้ายมีข้อคิดในการพัฒนาตนเองมาฝาก ดังนี้

                 “เมื่อใจนำ ทุกข์ก็เปลี่ยนเป็นสุข”

 (ต้องกราบขอโทษด้วยที่จำไม่ได้ว่าใครแต่ง)

หมายเลขบันทึก: 268996เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2009 13:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 13:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอให้สุขนำไปสู่สุขภาวะ ทั้งมวลนะครับ

  • ตามเยี่ยมครับ
  • กลับมาจากการเดินทางล่องใต้ครับ
  • ขอบคุณครับสำหรับการทบทวนความรู้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท