ภาษาเขมร บทที่ ๒ สระในภาษาเขมร


สระในภาษาเขมร ๑ ตัวจะมี ๒ เสียง

บทเรียนที่ ๒ មេរៀនទី២
สระ

บทนี้มาเรียนสระกัน สระเมื่อนำไปประกอบกับพยัญชนะจะทำให้เกิดเสียงที่มีความหมายต่างๆ กันไปตามตัวพยัญชนะและสระที่ประกอบกัน สระในภาษาเขมรมีหน้าตาแบบนี้ค่ะ

 

เรามาทำความเข้่าใจเบื้องต้นกันก่อนนะคะ สระในภาษาเขมร ๑ ตัวจะมี ๒ เสียง นั่นก็หมายความว่า เมื่อสระตัวใดไปประกอบกับพยัญชนะอโฆษะก็จะออกเสียงแบบหนึ่ง และเมื่อสระตัวเดียวกันนี้ไปประกอบกับพยัญชนะโฆษะก็จะออกเสียงอีกแบบหนึ่ง เช่น สระ ประกอบกับ ក (កា) ออกเสียง กา เมื่อประกอบกับ គ​(គា) ออกเสียง เกีย เป็นต้น

หลักการทำความเข้าใจง่ายๆ ก็คือว่า เสียงแรกเป็นเสียงสำหรับอโฆษะ เสียงที่สองเป็นเสียงของโฆษะ

 

 

 

 

เป็นอย่างไรบ้างบทเรียนนี้ยากไปไหม ขยันท่องจำและเขียนให้คล่องมือ ประเดี๋ยวเดียวก็จำได้แล้ว อย่าลืมนะคะสิ่งสำคัญที่สุดคือสระแต่ละรูปจะมีสองเสียง


หมายเหตุ

๑. การ เขียนคำอ่านภาษาไทยเทียบเสียงกับภาษาเขมรอาจจะทำได้ไม่สมบูรณ์นักเพราะสระบางเสียง ไม่สามารถเขียนเทียบเสียงกับภาษาไทยได้ตรง แต่ก็อนุโลมว่าผู้เรียนจะได้เข้าใจได้ง่ายขึ้นเมื่อเทียบกับภาษาไทย

๒. ระบบ Phonetic ที่ใช้ในบทเรียนนี้อ้างอิงจากหนังสือ Cambodian System of Writing and Beginning Reader with Drills and Glossary by Franklin E. Huffman 

 

ជំរាបលា Good Bye

หมายเลขบันทึก: 268002เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2009 01:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ขอบพระคุณมากครับ สำหรับความรู้ด้านภาษาอีกภาษาหนึ่ง

เป็นอารยธรรมที่่น่าศึกษาอีกเรื่องหนึ่งทีเดียว

ยิ่งได้ความรู้จากการถ่ายทอดจากผู้รู้

ติดตรงที่เรียนตอนอายุมากนี้ไม่รู้จะจำอันไหนก่อน อันไหนหลัง

ภาษาเขมรเป็นภาษาที่เรียนไม่ยาก (ง่ายกว่าการเรียนภาษาไทย) หลักการง่ายๆ คือ จำและเขียนพยัญชนะและสระให้ได้แม่่นยำเท่านั้น ก็เรียนภาษาเขมรได้แล้วค่ะ ลองติดตามต่อไปนะคะแล้วจะรู้ว่าอายุไม่ใช่เรื่องสำคัญต่อการเรียนภาษาค่ะ

  • ทำงานชายแดนมา 30 ปีแล้ว
  • รู้ภาษาเขมรน้อยเดียว
  • ตอนนี้ไม่ได้เข้าไปในเขมรเท่าไหร่
  • แต่ก็อยากรู้เอาไว้

สนใจเรียน ภาษาเขมรค่ะ แต่ยังไม่เข้าใจเรื่องสระ เข้าค้นหาสระได้แล้วแต่ไม่รู้ความหมายของสระ

ท่านใดพอจะส่งให้วาดได้บ้างไหมคะ เอาแบบว่า สระเขมร มีคำแปลด้วยนะคะ

ขอบคุณมากค่ะ

ถ้าคุณวาดขยายความคำว่า "ความหมายของสะระ" ให้ชัดเจนกว่านี้น่าจะเข้าใจในความต้องการของคุณวาดได้มากกว่านี้นะคะ สระในภาษาเขมรก็เหมือนกับสระในภาษาไทยที่มันมีหน้าที่ประกอบกับตัวอักษร (พยัญชนะ) ทำให้เกิดคำใดๆ ก็ตามที่มีความหมายต่างกันออกไป แต่สระในภาษาเขมรมันมีความพิเศษอยู่อย่างหนึ่งคือ สระหนึ่งรูปจะมีสองเสียง คือ จะออกเสียงแบบหนึ่งเมื่อไปประกอบกับพยัญชนะอโฆษะ แต่ถ้าสระตัวเดียวกันนี้ไปประกอบกับพยัญชนะโฆษะก็จะออกเสียงอีกเสียงหนึ่ง เช่น สระ​​​​​ ិ ถ้าประกอบกับพยัญชนะอโฆษะ กอ (ក)​ / កិ ก็จะออกเสียงา้ว่า เก๊ะ แต่เมื่อสระตัวเดียวกันนี้ไปประกอบกับพยัญชนะโฆษะ โก (គ)​​ គិ ออกเสียงว่า กิ๊ ด้วยประการฉะนี้ค่ะ

เรียน อาจารย์อักษรา

ได้ผ่านเข้ามาในไซท์ของอาจารย์ พบบทเรียนภาษาเขมรบทที่ ๒ เรื่องเกี่ยวกับสระในภาษาเขมร ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง ขณะนี้หนูกำลังเรียนภาษาเขมร เพราะชอบภาษานี้ แต่ไม่ทราบว่าสติปัญญาจะพอเรียนได้หรือเปล่า เพราะไวยากรณ์ภาษานี้ยากจังเลยค่ะ อ่านเรื่องสระและสรุปสั้น ๆ ของอาจารย์แล้วก็พอเข้าใจค่ะ

แต่ที่เขียนถึงอาจารย์วันนี้เพราะอยากให้อาจารย์อธิบายเรื่อง สระที่ซ้อนกันอยู่หลายตัว สระเหล่านี้ผู้สอนยังไม่บอกว่ามีไว้เพื่ออะไร และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการออกเสียงไปอย่างไร เช่น สระที่เหมือนสระเอในภาษาไทย แต่ยังมีเลข ๖ อยู่บนสระเออีก หรือการนำตัวพยัญนะวางไว้ใต้พยัญชนะ สิ่งเหล่านี้มีกฏเกณฑ์การใช้อย่างไรบ้างอยากให้อาจารย์ช่วยอธิบายค่ะ

ขอขอบพระคุณอาจารย์ล่วงหน้าค่ะ

เยาวดี

พยัญชนะที่ซ้อนพยัญชนะนั้นเราเรียกว่าเชิงพยัญชนะ พูดง่ายๆ คือเป็นคำจำพวกคำควบกล้ำและคำที่มีสองพยางค์+ ค่ะ

เรียน อาจารย์อักษรา

ขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะสำหรับคำตอบที่กระจ่างขึ้น แต่ก็ยังอยากรบกวนให้อาจารย์อธิบายกฏไวยากรณ์และการนำเชิงพยัญชนะไปเขียนข้างล่าง เพราะนอกจากมีเชิงพยัญชนะข้างล่างตามที่อาจารย์ตอบแล้ว ยังมีสระหน้าพยัญชนะต้น และสระตัวที่ ๒ อยู่ข้างบน และสระตัวอื่นอยู่หลังพยัญชนะอีก

อีกประการหนึ่ง อยากเรียนขอคำแนะนำจากอาจารย์เรื่องหนังสืออ่านประกอบ ไม่ทราบว่าตำราเล่มไหนที่พอซื้อมาอ่านในยามที่ไม่เข้าใจจริง ๆ

หวังว่าคงไม่รบกวนอาจารย์มากเกินไปนะคะ

ด้วยความขอบพระคุณและความเคารพอย่างยิ่ง

เยาวดี

เยี่ยมที่สุดเลยครับ

สนใจมาก ทราบจากอาจารย์ว่าสระมี๒เสียงครับ

ค้นคว้าหลายที่ พบที่นี่แห่งเดียวที่ให้ความรู้ได้ครบสูตร สมบูรณ์ที่สุด แต่ยังงงในบทที่ ๒๓ เรื่องตัวเจิงใต้พยัญชนะวรรค (ในวรรคที่ ๑ แตกต่างจากวรรคอื่น ๆ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท